ความหมายตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘กษัตริย์ชาลส์ ที่ 3’

ความหมายตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘กษัตริย์ชาลส์ ที่ 3’

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘กษัตริย์ชาลส์ที่ 3’ ครั้งประวัติศาสตร์ เป็นการยกย่องความรักของ ‘สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3’ ทรงมีต่อโลกและธรรมชาติ ผ่านดอกไม้ประจำ 4 ดินแดนสหราชอาณาจักร สร้างสรรค์เป็นรูปทรงมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด ออกแบบโดยอดีตดีไซเนอร์ Apple

พระราชวังบักกิงแฮม เผยโฉม The Coronation Emblem หรือตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘กษัตริย์ชาลส์ที่ 3’ และ สมเด็จพระราชินีคามิลลา โดยตราสัญลักษณ์นี้เป็นทั้งสัญลักษณ์และเฉลิมฉลองการเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของรัชกาลใหม่แห่งราชวงศ์อังกฤษ

ความหมายตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘กษัตริย์ชาลส์ ที่ 3’ ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘กษัตริย์ชาลส์ที่ 3’ 

เกี่ยวกับตราสัญลักษณ์

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้รับการออกแบบมาเพื่อสดุดีความรักของ ‘สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3’ ที่ทรงมีต่อโลก ธรรมชาติ และความห่วงใยอย่างลึกซึ้งที่พระองค์ทรงใส่พระทัยต่อโลกของธรรมชาติ ผ่านการรวมเข้าด้วยกันของดอกไม้ 4 ชนิดประจำ 4 ดินแดนที่รวมกันเป็น สหราชอาณาจักร ได้แก่

  • กุหลาบแห่งอังกฤษ  (rose of England)
  • ธิสเซิล (thistle) แห่งสกอตแลนด์
  • แดฟโฟดิล (daffodil) แห่งเวลส์ 
  • แชมร็อก (shamrock) แห่งไอร์แลนด์เหนือ 

ดอกไม้ทั้ง 4 ชนิด ได้รับการจัดองค์ประกอบร่วมกันตามรูปทรงของมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด ซึ่ง ‘กษัตริย์ชาลส์ที่ 3’ จะทรงสวมมงกุฎนี้ในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ในวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2566

ความหมายตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘กษัตริย์ชาลส์ ที่ 3’ ธงสหภาพโบกสะบัดเหนือถนนบอนด์ใจกลางกรุงลอนดอนวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2566 ก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา ในฐานะกษัตริย์-ราชินีแห่งสหราชอาณาจักรและกลุ่มประเทศเครือจักรภพ ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (Susannah Ireland / AFP)
 

ทั้งนี้ ‘ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก’ ได้รับการออกแบบโดยใช้สีแดง ขาว และน้ำเงิน ของ ธงสหภาพ (Union Flag)

ตราสัญลักษณ์นี้จะแสดงตลอดงานเฉลิมฉลองครั้งประวัติศาสตร์ในเดือนพฤษภาคม 2566 รวมถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ และคอนเสิร์ตโคโรเนชั่นที่ปราสาทวินด์เซอร์ ตลอดจนงานระดับชาติ ปาร์ตี้ริมถนน และการชุมนุมในชุมชน 

ความหมายตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘กษัตริย์ชาลส์ ที่ 3’ ธงที่ระลึกงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กษัตริย์ชาลส์ที่ 3

ความหมายตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘กษัตริย์ชาลส์ ที่ 3’ คนเดินเท้าเดินผ่าน ตราสัญลักษณ์ฯ ที่หน้าร้านค้าใจกลางกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2566 ก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และคามิลลา พระมเหสี ในฐานะกษัตริย์และราชินีแห่งสหราชอาณาจักรและประเทศในเครือจักรภพในวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 (Daniel LEAL / AFP)
 

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้ ยังได้รับพระราชานุญาตให้ใช้กับสินค้าอย่างเป็นทางการทั้งหมดเพื่อรำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ ‘กษัตริย์ชาลส์ที่ 3’ และ สมเด็จพระราชินีคามิลลา ทั้งในสื่อดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์

ความหมายตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘กษัตริย์ชาลส์ ที่ 3’ Sir Jonathan Ive คุกเข่ารับตำแหน่งอัศวินจากเจ้าหญิงแอนน์ ที่พระราชวังบักกิงแฮม (credit photo: Dominic Lipinski/PA)

 

เกี่ยวกับดีไซเนอร์

ตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ ‘กษัตริย์ชาลส์ที่ 3’ และ สมเด็จพระราชินีคามิลลา สร้างสรรค์โดยนักออกแบบซึ่งได้รับการยกย่องในระดับสากล เซอร์ โจนาธาน พอล ไอฟ์ (Sir Jonathan Paul Ive) และ LoveFrom กลุ่มนักสร้างสรรค์ของเขา

เซอร์ โจนาธาน พอล ไอฟ์ หรือที่คนทั่วโลกรู้จักกันในนาม โจนี ไอฟ์ (Jony Ive) คืออดีตดีไซเนอร์คู่บุญของ Apple ผู้ออกแบบ Mac, iPod และ iPhone เขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช ระดับ Knight Commander of the British Empire (KBE) ซึ่งจะได้รับคำนำหน้าชื่อว่า Sir สำหรับผู้ชาย เมื่อปี 2012

เว็บไซต์ราชวงศ์อังกฤษ บันทึกบทสัมภาษณ์ของ เซอร์ โจนี ไอฟ์ ซึ่งกล่าวถึงการออกแบบ ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘กษัตริย์ชาลส์ที่ 3’ ไว้ว่า

“รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในโอกาสระดับชาติอันน่าทึ่งนี้ และทีมงานของเราก็ภูมิใจกับงานนี้มาก การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากความรักของกษัตริย์ชาลส์ที่มีต่อโลก ธรรมชาติ และความห่วงใยอย่างลึกซึ้งที่พระองค์ทรงมีต่อโลกของธรรมชาติ

ตราสัญลักษณ์นี้สื่อถึงการมองโลกในแง่ดีอย่างมีความสุขของฤดูใบไม้ผลิ และเป็นการฉลองการเริ่มต้นยุคใหม่ของ Carolean (Carolean Era) สำหรับสหราชอาณาจักร 

ความอ่อนน้อมถ่อมตนของรูปแบบธรรมชาติเหล่านี้รวมกันเพื่อกำหนดตราสัญลักษณ์ที่ยอมรับทั้งความยินดีและความสำคัญอย่างลึกซึ้งของโอกาสนี้”

ความหมายตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘กษัตริย์ชาลส์ ที่ 3’

เซอร์ โจนี ไอฟ์ KBE

เซอร์ โจนี ไอฟ์ KBE เป็นนักออกแบบชาวอังกฤษ อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายออกแบบของ Apple เขาถือสิทธิบัตรมากกว่า 14,000 ฉบับทั่วโลก ซึ่งครอบคลุมการออกแบบอินเทอร์เฟซผู้ใช้และฮาร์ดแวร์ที่ไม่เหมือนใคร 

เซอร์ โจนี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Royal Designer for Industry ในปี 2003 และเป็นเพื่อนกิตติมศักดิ์ของ Royal Academy of Engineering ในปี 2006

เขาได้รับรางวัลเหรียญเบนจามินแฟรงคลินจาก RSA ในปี 2004 และทุนศาสตราจารย์ Stephen Hawking Fellowship จาก Cambridge Union Society ในปี 2018

ความหมายตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘กษัตริย์ชาลส์ ที่ 3’

เซอร์ โจนาธาน พอล ไอฟ์ (Wikipedia)

เซอร์ โจนี ดำรงตำแหน่ง ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและเคมบริดจ์ และราชวิทยาลัยศิลปะ (Royal College of Art) ซึ่งปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งอธิการบดี

LoveFrom เป็นกลุ่มสร้างสรรค์ของนักออกแบบ สถาปนิก นักดนตรี ผู้สร้างภาพยนตร์ นักเขียน วิศวกร และศิลปิน กลุ่มก่อตั้งโดย ‘เซอร์ โจนี’ ในปี 2019 มีสตูดิโอในลอนดอนและซานฟรานซิสโก

เซอร์ โจนี และทีม LoveFrom ได้ออกแบบ Seal of the Terra Carta ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มที่ก่อตั้งโดย 'เจ้าชายแห่งเวลส์' ในขณะนั้น ซึ่งยกย่องบริษัทเอกชนที่เป็นผู้นำในการสร้างตลาดที่ยั่งยืน

ความหมายตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ‘กษัตริย์ชาลส์ ที่ 3’ สินค้าที่ระลึกประดับตราสัญลักษณ์ฯ (credit: chickencraft)

ขณะนี้ ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก อย่างเป็นทางการพร้อมใช้งานสำหรับกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รวมถึงกิจกรรมของชุมชนและระดับชาติ สิ่งพิมพ์ การค้าปลีก และการขายสินค้า