น้ำปรุง "เครื่องหอมไทย" เฟื่องฟูสมัยร.5 ทำยากสุดๆ อบกลิ่นดอกไม้หลายตลบ

น้ำปรุง "เครื่องหอมไทย" เฟื่องฟูสมัยร.5 ทำยากสุดๆ อบกลิ่นดอกไม้หลายตลบ

ในยุคนี้คนส่วนใหญ่แทบจะไม่รู้จักน้ำปรุง "เครื่องหอมไทย" สำหรับสาวในรั้วในวัง(สมัยรัตนโกสินทร์) ซึ่งการทำให้หอมกลิ่นดอกไม้พอดีๆ ต้องใช้กระบวนหมักหลายขั้นตอน

แม้คนส่วนใหญ่จะเคยได้ยินชื่อเครื่องหอมไทยที่เรียกว่า น้ำปรุง แต่รู้ไหมทำยากขนาดไหน...

ต้องมีดอกไม้ไทยหอมๆ หลายชนิดมาหมักรวมกัน ผ่านกระบวนการหมัก 6-12 เดือน นอกจากนี้ยังมีกระบวนอื่นๆ อีก ต้องลอยดอกไม้สดในน้ำ อบควันเทียนซ้ำแล้วซ้ำอีก

่ถ้ารู้ว่าต้องหมักนานเป็นปีๆ ขนาดนี้ จะมีสักกี่คนอยากทำน้ำปรุง... 

ครูเอ๋ ทิวาพร เสกตระกูล ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น เจ้าของแบรนด์เทวาภิรมย์ ผู้หญิงที่หลงรักความหอมแบบไทยๆ 

 

เธอเรียนรู้เรื่องน้ำปรุงและเครื่องหอมแบบไทยๆ มาจากโรงเรียนช่างฝีมือในวัง (หญิง) ฝ่ายพระราชฐานชั้นใน ณ พระตำหนักพระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา และเรียนรู้เพิ่มเติมจากครูบาอาจารย์รุ่นเก่าๆ ซึ่งบางท่านเสียชีวิตไปแล้ว  ปัจจุบันครูเอ๋เป็นครูสอนทำน้ำปรุงจากดอกไม้ที่ยังเหลืออยู่ไม่กี่คนในยุค 2565 

ยุคทองเครื่องหอมไทยสมัยรัชกาลที่ 5

ในห้องเรียนกะทัดรัดที่อยากให้เรารู้จักวิธีทำน้ำปรุงแบบรวบรัด ซึ่งงานนี้ KTC Press club ตั้งธีมว่า เริงพระนครตะลอนสยามอารยะ พาไปเรียนรู้เรื่องโบร่ำโบราณทั้งสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5-6 และเครื่องหอม

น้ำปรุง \"เครื่องหอมไทย\" เฟื่องฟูสมัยร.5 ทำยากสุดๆ อบกลิ่นดอกไม้หลายตลบ ครูเอ๋ ทิวาพร เสกตระกูล ครูภูมิปัญญา เจ้าของแบรนด์เทวาภิรมย์ ผู้หญิงที่หลงรักความหอมแบบไทยๆ 

นั่นทำให้รู้ว่า เครื่องหอมที่เรียกว่า"น้ำปรุง" ไม่ใส่สารสังเคราะห์ ไม่แต่งกลิ่นแต่งสี ต้องใช้ทั้งความอดทนและความใส่ใจในการทำอย่างมาก

 "น้ำปรุงมีต้นกำเนิดจากในวังตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ เจ้านายนิยมใช้น้ำอบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 พอมาสมัยรัชกาลที่ 5 น้ำอบ น้ำปรุง แป้งร่ำ เทียนอบ บุหงารำไป จัดเป็นเครื่องหอมไทยชั้นสูงที่เจ้านายในวังนิยมใช้ เพราะน้ำหอมฝรั่ง ที่เข้ามาในยุคนั้นกลิ่นแรงมาก " ครูเอ๋ เล่า

น้ำปรุง \"เครื่องหอมไทย\" เฟื่องฟูสมัยร.5 ทำยากสุดๆ อบกลิ่นดอกไม้หลายตลบ ส่วนประกอบน้ำปรุง นอกจากดอกไม้ไทยนานาชนิด ยังมีใบเนียม พิมเสน  ไขชะมดเช็ด

น้ำปรุงที่ครูเอ๋สาธิตให้เห็น สกัดความหอมจากดอกไม้หลายชนิด อาทิ ดอกมะลิ ดอกจำปี จำปา กระดังงา กุหลาบ ชมนาด สายหยุด ฯลฯ  นอกจากนี้ยังมีใบเนียม พืชล้มลุก กลิ่นคล้ายใบเตยแต่หอมกว่า และใบเตย เป็นส่วนประกอบทำน้ำปรุง แล้วยังมีพิมเสนอย่างดี ไม่ควรใช้พิมเสนสังเคราะห์ ไขชะมดเช็ด มะกรูด เอทิลแอลกอฮอล์

“ถ้าเลือกดอกกระดังงา ต้องใช้ดอกกระดังงาไทยจะหอมแรงกว่า ถ้าเป็นกระดังงาสงขลากลิ่นเบาๆ และเราใช้วิธีลอยดอกไม้สดในน้ำสะอาดหลายวัน ต้องเปลี่ยนดอกไม้ทุกวัน เพื่อไม่ให้กลิ่นหอมจางหายไป ก่อนจะนำน้ำมาลอยดอกไม้ต้องอบควันเทียน ต้องทำหลายครั้งเพื่อทำน้ำปรุง”

การทำน้ำปรุงจากดอกไม้ธรรมชาติ ไม่แต่งกลิ่นแต่งสี เป็นเรื่องยากในยุคดิจิทัล คนส่วนใหญ่เลือกที่จะซื้อน้ำมันหอมจากดอกไม้หลายชนิด จะไม่ทำเอง  ถ้าคิดจะทำเอง ต้องอดทนรอการหมักเป็นปีๆ  

น้ำปรุง \"เครื่องหอมไทย\" เฟื่องฟูสมัยร.5 ทำยากสุดๆ อบกลิ่นดอกไม้หลายตลบ

เครื่องหอมไทย"น้ำปรุง"หมักนานเป็นปีๆ

การทำน้ำปรุงจากดอกไม้ธรรมชาติ มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน แต่ขั้นตอนการหมักน้ำปรุง ต้องรู้ว่าดอกไม้ชนิดไหนหอมทนหอมนาน ส่วนประกอบการทำน้ำปรุง ก็ควรมาจากธรรมชาติล้วนๆ ใช้ขี้ผึ้งแท้ๆ ชะมดเช็ดและพินเสนคุณภาพดี การอบเทียนต้องอบต้องหัวค่ำ เพราะเป็นช่วงดอกไม้ส่งกลิิ่นหอมที่สุด

บางคนอาจไม่รู้ว่าไขชะมดเช็ดที่เป็นส่วนผสมน้ำปรุง ช่วยบำรุงหัวใจ ยาหอมที่มีราคาสูงบางชนิดจะมีส่วนผสมของไขชะมดเช็ด เวลาทำน้ำปรุง ครูเอ๋ บอกว่าไขชะมดเช็ดกลิ่นแรง แต่ทำให้น้ำปรุงหอมได้ เพราะเราใช้ใบพลูดับกลิ่น ใช้เทียนลนชะมดเช็ดให้ละลายแตกตัวเหนือน้ำ ตรึงกลิ่นหอมน้ำปรุง

"น้ำปรุงยิ่งหมักบ่มนาน ยิ่งหอม ถ้าทำจากส่วนผสมจากธรรมชาติ ไม่มีสารสังเคราะห์ น้ำปรุงธรรมชาติจะสีเขียวหรือเหลืองอำพัน ถ้าสีออกเขียวมากๆ แสดงว่าผสมสี" 

 ครูเอ๋ ได้รวบรวมข้อมูลไว้ว่า สมัยรัชกาลที่ 5 ตำหนักของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ พระขนิษฐาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตำหนักที่ขึ้นชื่อว่า ทำเครื่องหอมโดยตรง ​ส่วนมากจะเน้นกลิ่นจันทน์เทศ ไม้จันทน์ มะลิ กระดังงา และพิกุล และเป็นตำหนักที่มีหน้าที่ปรุงเครื่องหอม น้ำอบ เครื่องหอม น้ำสรงถวายรัชกาลที่ 5 โดยส่วนใหญ่น้ำปรุงแต่ละตำหนักกลิ่นจะหอมคล้ายๆ กัน 

และทั้งหมดคือ ที่มาที่ไป ทำให้ครูเอ๋ยังคงรักษาสูตรโบร่ำโบราณที่ไม่ค่อยมีคนทำเครื่องหอมที่เรียกว่า น้ำปรุง 

.....................

ภาพ : จากกิจกรรม KTC Press club ตอนเริงพระนครตะลอนสยามอารยะ

ดูรายละเอียดที่เฟซบุ๊ค : เทวาภิรมย์ Tevapirom "Nam Prung" Thai Classical Perfume