“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์

“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์

ทำความรู้จักและอุดหนุนผลิตภัณฑ์ “คชานุรักษ์” หยิบยื่นความช่วยเหลือให้ “คน” ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก และ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุล คนทำร้ายช้างป่าลดลง ช้างป่ารุกรานคนลดลง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ประกอบด้วย จังหวัดระยอง ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว เกิดจากช้างป่าบางโขลงออกหากินนอกพื้นที่ป่า ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายและประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน 

เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและบรรเทาความเดือดร้อนราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงรับเป็นองค์ประธาน โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์
 

หนึ่งในการดำเนินงานสำคัญของ "โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์” คือ การจัดตั้ง หมู่บ้านคชานุรักษ์ และดูแล หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในพฤติกรรมของช้างป่าให้แก่ราษฎร รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้การประกอบอาชีพ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในฐานะองค์ประธานกรรมการโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ ทรงมีพระประสงค์ที่จะทรงช่วยเหลือทั้งคนและช้างตาม "โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์" โดยการสร้างองค์ความรู้ การนำผลิตผลทางการเกษตรที่มีในชุมชนมาพัฒนาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์  เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ทั้งจากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถสร้างอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืน 
 

ขณะนี้ชาวบ้านใน หมู่บ้านคชานุรักษ์ และ หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ได้รับการเสริมสร้างองค์ความรู้และเสริมทักษะจาก "กรมพัฒนาชุมชน" ผลิตสินค้าชุมชนในนาม ผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์ ได้หลายประเภท ดังนี้

“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์ น้ำปลาแท้ ตราเนินฟิช 

น้ำปลาแท้ ตราเนินฟิช : น้ำปลาแท้จากปลาน้ำจืด หมักด้วยวิธีธรรมชาติ 1 ปี ไม่เจือสี แต่งกลิ่น สินค้าจากบ้านเนินสมบูรณ์ 47 หมู่ 7 ต.ชำฆ้อ อ.เขาชะเมา จ.ระยอง

น้ำพริกกะปิ : น้ำพริกกะปิพร้อมรับประทาน บรรจุซองทันสมัย พกพาสะดวก ไม่ใส่สารกันเสีย ผลิตภัณฑ์จากบ้านเขาจันทร์ 102 ม. 7 ต.ห้วยทับมอญ อ.เขาชะเมา จ.ระยอง

น้ำผึ้งดอกไม้ป่า : น้ำผึ้งจากดอกไม้ป่าธรรมชาติจากแหล่งเขาชะเมา จากบ้านน้ำใส 1 ม.2 ต.น้ำเป็น อ.เขาชะเมา จ.ระยอง

“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์ น้ำพริกกะปิ 

“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์ น้ำผึ้งดอกไม้ป่า 

“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์ ไม้กวาดบ้านคลองตาอิน

ไม้กวาดบ้านคลองตาอิน : “บ้านคลองตาอิน” มีดอกหญ้าอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก แต่เนื่องด้วยประชาชนส่วนใหญ่ประกอบชีพเกษตรกร จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับดอกหญ้ามากนัก จนกระทั่งในช่วงหมดฤดูการเก็บเกี่ยว ทำให้ประชาชนมีเวลาว่างจากการทำเกษตรกรรมมากยิ่งขึ้น และเห็นว่าในหมู่บ้านมีวัตถุดิบที่สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน จึงมีการรวมตัวกันเป็น “กลุ่มผู้ผลิตไม้กวาดบ้านคลองตาอิน” ผลิตภัณฑ์จากประชาชนหมู่ที่ 9 ต.คลองพลู อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี

พริกแกงเผ็ด ลุงปอด : พริกแกง "ตำมือ" ที่มีสูตรเฉพาะ สมุนไพรไทยที่ปลูกในท้องถิ่น ไม่มีสารเจือปน สินค้าจากบ้านคลองโค ม.6 ต.เกษตรสุวรรณ อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี

“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์

พริกแกงเผ็ด ลุงปอด 

“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์ 7 เนินขนุนทอดกรอบ 

7 เนินขนุนทอดกรอบ : ขนุนทอดกรอบ มี 4 รสชาติ ได้แก่ รสออริจินัล รสเค็ม รสบาร์บีคิว และรสชีส ผลิตภัณฑ์จากบ้านเจ็ดเนิน หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

น้ำพริกแกงป่าเนินตูดตุง : ผลผลิตจากหมู่บ้าน “คชานุรักษ์” ผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพ ครบเครื่องด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน สะอาด ใหม่ สดจากธรรมชาติ รสชาติเผ็ดอร่อย มากด้วยคุณประโยชน์จากสมุนไพรนานาชนิดที่ปลูกเองในชุมชน สินค้าจากบ้านเนินจำปา หมู่ที่ 3 ต.พวา อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี

“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์

น้ำพริกแกงป่าเนินตูดตุง

“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์ สบู่สมุนไพรปารมี

สบู่สมุนไพรปารมี : สบู่สมุนไพรสูตรมะขามและใยบวบ ผสมสครับป์ คอลลาเจน วิตามินเอ บี และซี สินค้าจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ปลูกสมุนไพรแปรรูปบ้านคลองชล ม.11 ต.วังทอง อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว

โรตีกรอบ : โรตีกรอบ หอม หวาน อร่อย มี 3 รสชาติ ได้แก่ รสดั้งเดิม รสกระวาน และรสใบหอม ของดีจากบ้านนากระชาย หมู่ที่ 12 ต.ทรายขาว อ.สอยดาว หนึ่งในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ของจังหวัดจันทบุรี

ไม้ไผ่สานหุ้มปากกา : การสานไม้ไผ่เป็นลวดลายต่างๆ สำหรับหุ้มของใช้ เช่น ปากกา แจกัน กระเป๋าถือ สามารถสานให้เกิดลวดลายเป็นชื่อหน่วยงานและชื่อบุคคลได้ด้วย สินค้าจากบ้านชัยพัฒนา ต.ทุ่งมหาเจริญ อ.วังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว

กล้วยหอมทอดผู้ใหญลี : กล้วยหอมทอด ทอดทั้งเปลือก (วิตามินสูงจากเปลือก) ได้อร่อย ได้คุณค่า ขนาด 80 กรัม สินค้าจากบ้านคลองใหญ่ ม.8 ต.บ่อทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี

น้ำพริกไข่เค็ม : จากน้ำพริกเผาแบบบ้านๆ รูปแบบดั้งเดิม มาประยุกต์เพิ่มเติมด้วยการผัดใส่ไข่เค็มอร่อยเหาะ เพราะไข่แดงจากไข่เค็มช่วยเพิ่มความหอมมันของน้ำพริกเผา รับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ ไข่ต้ม ผักสด ผักลวก เข้ากันดีมาก ของอร่อยจากกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์หมู่บ้านขยายผลคชานุรักษ์บ้านหินเพลิง ต.พวา อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี

“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์ สมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน

“โครงการหมู่บ้านคชานุรักษ์ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3  ภายใต้ โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ ได้กำหนดแผนปฏิบัติการ 3 ด้าน โดยเฉพาะด้านการจัดการพื้นที่ชุมชน (บ้านคน) เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับช้างป่า ให้กับองค์กรชุมชน เครือข่าย ประชาชน และส่งเสริมอาชีพเสริมทางเลือกที่ไม่ใช่พืชอาหารช้าง” นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าว

สอดคล้องกับภารกิจของ "กรมการพัฒนาชุมชน" ในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเป้าหมาย คือ คนทำร้ายช้างลดลง และช้างรุกรานคนลดลง พร้อมแนวคิดในการดำเนินงาน คือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มีกลยุทธ์ในการดำเนินงาน 4 กลยุทธ์ ได้แก่ คนรู้จักช้าง คนเข้าใจช้าง คนรักช้าง และ คนอยู่ร่วมกับช้าง

“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์ โรตีกรอบ ตำบลทรายขาว

ที่ผ่านมา "กรมการพัฒนาชุมชน" ได้จัดทำโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง "กิจกรรม: การพัฒนาหมู่บ้านคนรักษ์ช้าง สนับสนุนการดำเนินงานภายใต้โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์" โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการขับเคลื่อนการพัฒนาระยะแรก ดังนี้

  • ปี 2562 จำนวน 183 หมู่บ้าน (18 อำเภอ 5 จังหวัด) 
  • ปี 2563 จำนวน 235 หมู่บ้าน (18 อำเภอ 45 ตำบล) เป็นหมู่บ้านคชานุรักษ์ จำนวน 5 หมู่บ้าน และหมู่บ้านขยายผล จำนวน 18 หมู่บ้าน 
  • ปี 2564 จำนวน 299 หมู่บ้าน (22 อำเภอ 56 ตำบล) เป็นหมู่บ้านคชานุรักษ์ จำนวน 8 หมู่บ้าน และหมู่บ้านขยายผล จำนวน 36 หมู่บ้าน 
  • ปี 2565 กรมการพัฒนาชุมชนมีเป้าหมายที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนกับช้างป่า  พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ มาตรฐานและมีช่องทางตลาดที่หลากหลาย ต่อยอดผลิตภัณฑ์ของชุมชนและวิถีชุมชนเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน   ตลอดจนการติดตามเฝ้าระวังป้องกันภัยจากช้างป่า  และการเยียวยาผู้ประสบภัย ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้  “คนทำร้ายช้างลดลง และช้างรุกรานคนลดลง และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี”

“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์

ไม้ไผ่สานหุ้มปากกา

นอกจากนี้ "กรมการพัฒนาชุมชน" ยังได้จัดทำโครงการส่งเสริมช่องทางการตลาดออนไลน์และสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์หมู่บ้านคชานุรักษ์และหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ในพื้นที่ 5 จังหวัด ผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-19 (COVID-19) ที่ยังคงมีความรุนแรง และการตลาดของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันการตลาดออนไลน์จึงมีความจำเป็นและสำคัญมาก 

ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตดิจิทัลและวิถีความปกติใหม่(New normal) "กรมการพัฒนาชุนชน" ได้ใช้ช่องทาง  เว็บไซต์ thehubthailand.bizz ที่รวบรวมผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยโดยเสิร์ชในช่อง “คชานุรักษ์” จะมีผลิตภัณฑ์มากมายให้ท่านได้เลือกซื้อ และยังมีอีกหนึ่งช่องทางที่ทางกรมการพัฒนาชุมชนได้จัดทำขึ้นคือ เว็บไซต์โอทอป นอกจากนี้ยังสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทาง market place ได้แก่ Shopee, Lazada

“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์ น้ำพริกไข่เค็ม กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์หมู่บ้านขยายผลคชานุรักษ์บ้านหินเพลิง

“คน” กับ “ช้างป่า” อยู่กันอย่างสมดุลผ่านผลิตภัณฑ์คชานุรักษ์

กล้วยหอมทอดผู้ใหญลี บ้านคลองใหญ่