"เชื่อม รัด มัด ร้อย" เรียนรู้วัฒนธรรมปกป้องธรรมชาติเขตเมืองเก่าเชียงแสน

"เชื่อม รัด มัด ร้อย" เรียนรู้วัฒนธรรมปกป้องธรรมชาติเขตเมืองเก่าเชียงแสน

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ชวนรับลมหนาว ชมนิทรรศการ “เชื่อม รัด มัด ร้อย เรียนรู้วัฒนธรรม ปกป้องธรรมชาติ พื้นที่เขตเมืองเก่าเชียงแสน" ณ วัดเจดีย์หลวง ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย 17–19 พ.ย. 2564

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ขอเชิญชมนิทรรศการ เชื่อม รัด มัด ร้อย เรียนรู้วัฒนธรรม ปกป้องธรรมชาติ พื้นที่เขตเมืองเก่าเชียงแสน นำเสนอความเชื่อมโยงอันแนบแน่นระหว่าง วัฒนธรรม กับธรรมชาติของชุมชนชาว เชียงแสน สะท้อนผ่านพื้นที่ทางจิตใจ  (ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ศรัทธา) สังคม (ระบบนิเวศ ประเพณี) และกายภาพ (ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม) พร้อมจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมให้ผู้เข้าชมได้เข้าใจความหมายในมรดกภูมิปัญญาของชาวเชียงแสน 

เชื่อม รัด มัด ร้อย เรียนรู้วัฒนธรรม ปกป้องธรรมชาติ พื้นที่เขตเมืองเก่าเชียงแสน เป็นนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้วิธีการปกป้องแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติด้วย วัฒนธรรม แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญาของชาวเชียงแสน กับวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ

\"เชื่อม รัด มัด ร้อย\" เรียนรู้วัฒนธรรมปกป้องธรรมชาติเขตเมืองเก่าเชียงแสน

วัดป่าสักเชียงแสน เมื่อเริ่มสร้างเคยมี ต้นสัก(1) ปลูกล้อมวัดถึง 300 ต้น เป็นวัดสำคัญที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1930 ในสมัยของพระเจ้าแสนภู เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

\"เชื่อม รัด มัด ร้อย\" เรียนรู้วัฒนธรรมปกป้องธรรมชาติเขตเมืองเก่าเชียงแสน

ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ธัญพืชท้องถิ่นในที่ราบเมืองเชียงแสนอันอุดมสมบูรณ์

นิทรรศการ "เชื่อม รัด มัด ร้อย เรียนรู้วัฒนธรรม ปกป้องธรรมชาติ พื้นที่เขตเมืองเก่าเชียงแสน" ผ่านการเล่าเรื่องโดย น้องใบสัก สัญลักษณ์ของการจัดงาน ภายใต้แนวคิดที่ว่า

  • มรดกภูมิปัญญาของเขตวัฒนธรรมเมืองเก่าเชียงแสน มีจำนวนมากมาย ทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าไว้ด้วยกันและยังเชื่อมโยงคนกับธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกัน
  • เขตวัฒนธรรมเมืองเก่าเชียงแสน กว้างไกลไปกว่าเขตที่เราเข้าใจในปัจจุบัน เพราะว่าเขตวัฒนธรรมนั้นเชื่อมโยง พื้นที่ 3 พื้นที่ คือ พื้นที่ทางจิตใจ พื้นที่ทางสังคม และพื้นที่ทางกายภาพ ซึ่งเชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เข้าไว้ด้วยกัน

\"เชื่อม รัด มัด ร้อย\" เรียนรู้วัฒนธรรมปกป้องธรรมชาติเขตเมืองเก่าเชียงแสน

\"เชื่อม รัด มัด ร้อย\" เรียนรู้วัฒนธรรมปกป้องธรรมชาติเขตเมืองเก่าเชียงแสน

เครื่องสักการะล้านนา ตัวอย่างของความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับธรรมชาติที่เชื่อมโยงพื้นที่ชีวิตทั้งสามพื้นที่

  • พื้นที่ทางจิตใจ หมายถึง พื้นที่ของมรดกภูมิปัญญาที่จับต้องไม่ได้ เป็นความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความศรัทธา และคุณค่า ที่ เชื่อม รัด มัด ร้อย ผู้คนเข้าไว้ด้วยกัน สร้างอัตลักษณ์และความเป็นเมืองเก่ามานาน
  • พื้นที่ทางสังคม หมายถึง พื้นที่ของระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับเวลา เช่น ระบบนิเวศของเมือง ประเพณี และกิจกรรมทางสังคม 
  • พื้นที่ทางกายภาพ หมายถึง สิ่งที่มองเห็นจับต้องได้ มรดกทางธรรมชาติ วัตถุทางวัฒนธรรม ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ ภาษา วรรณกรรม และศิลปกรรม

\"เชื่อม รัด มัด ร้อย\" เรียนรู้วัฒนธรรมปกป้องธรรมชาติเขตเมืองเก่าเชียงแสน น้องใบสัก สัญลักษณ์การจัดงานนิทรรศการฯ

ขอเชิญร่วมค้นหาตัวตน น้องใบสัก และเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการเชื่อมโยงวัฒนธรรมกับธรรมชาติ เรียนรู้
ภูมิปัญญามรดกวัฒนธรรมของชาวเชียงแสน ระหว่างวันที่ 17 - 19 พฤศจิกายน 2564 ณ วัดเจดีย์หลวง ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

นิทรรศการ เชื่อม รัด มัด ร้อย เรียนรู้วัฒนธรรม ปกป้องธรรมชาติ พื้นที่เขตเมืองเก่าเชียงแสน จัดโดย จังหวัดเชียงราย  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย  องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. พื้นที่พิเศษเชียงราย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน เทศบาลตำบลเวียง และชุมชนในเขตวัฒนธรรมเมืองเก่าเชียงแสน

นิทรรศการจัดแสดง ณ วัดเจดีย์หลวง ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ระหว่างวันที่ 17–19 พฤศจิกายน 2564  เวลา 09.00 - 17.00 น . 

\"เชื่อม รัด มัด ร้อย\" เรียนรู้วัฒนธรรมปกป้องธรรมชาติเขตเมืองเก่าเชียงแสน

งานปักผ้ากลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน(2) ลวดลายมาจากนิทานที่มีความผูกพันกับธรรมชาติ

\"เชื่อม รัด มัด ร้อย\" เรียนรู้วัฒนธรรมปกป้องธรรมชาติเขตเมืองเก่าเชียงแสน

เรียนรู้ไปกับภูมิปัญญาและระบบนิเวศวัฒนธรรมผ้าทอ "บ้านสันธาตุ" ต.โยนก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย หมู่บ้านทอผ้าไหมที่มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมครบวงจร
 

“เชื่อม รัด มัด ร้อย เรียนรู้วัฒนธรรม ปกป้องธรรมชาติ พื้นที่เขตเมืองเก่าเชียงแสน"  เป็นส่วนหนึ่งของการหาคำตอบเรื่อง “การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และเป็นมิตรกับทุกคน” โดย โครงการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อการปกป้องแหล่งท่องเที่ยวและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน (EPISG)  ม.แม่ฟ้าหลวง ดำเนินงานตามเกณฑ์ Global Sustainable Tourism Council (GSTC) 

เพื่อที่จะสร้างระบบสารสนเทศระบบนิเวศมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ให้นำไปสู่การรับรองมาตรฐานกรีนเดสทิเนชั่นที่เป็นชุดมาตรฐานที่ GSTC ยอมรับ (GSTC –Recognized Standards) พัฒนาขึ้นมาโดยองค์กร Green Destinations 

โดยนำตัวชี้วัดจาก Green Destination (GD) มาเป็นโจทย์ในการหาประสิทธิภาพของการปกป้องแหล่งท่องเที่ยวและระบบนิเวศมรดกทางภูมิปัญญา ด้านที่ 4 : วัฒนธรรมและประเพณี (Culture & Tradition) แหล่งท่องเที่ยว มีการหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณค่าและสถานะของท้องถิ่น และระบบนิเวศมรดกทางวัฒนธรรมทั้งในแหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่โดยรอบ  ดำเนินงานในพื้นที่เมืองเก่าเชียงแสน จ.เชียงราย และเมืองเก่าน่าน  จ.น่าน

หมายเหตุ :  

  • ต้นสัก(1) ต้นสักถือเป็นไม้มงคลประจำเมือง เป็นวัสดุที่สำคัญในการก่อสร้างศาสนสถาน และศาสนาวัตถุต่างๆภายในเมืองเชียงแสนตั้งแต่สมัยอดีต ปัจจุบันชาวเชียงแสนก็ยังคงอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากต้นสัก เช่น การนำใบสักมาทำงานศิลปะ การนำใบสักมาทำธูปและการพิมพ์ลายบนผืนผ้าด้วยใบสัก
  • งานปักผ้ากลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน(2) กลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยนหรือเย้า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ร่วมสร้างวัฒนธรรมอันหลากหลายให้กับเมืองเชียงแสน มีพรสวรรค์ด้านงานหัตถกรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำเครื่องเงิน และงานปักผ้า ลวดลายมาจากนิทานที่มีความผูกพันกับธรรมชาติ เช่น ลายซม (คน) ลายก้อนยอ (แมงมุม) และลายสุนัขมังกร (เทพเจ้าผันหู)