มฟล. สาธิต 3 มรดกภูมิปัญญาทาง "วัฒนธรรม" เมืองน่าน ปกป้อง “ธรรมชาติ”

มฟล. สาธิต 3 มรดกภูมิปัญญาทาง "วัฒนธรรม" เมืองน่าน ปกป้อง “ธรรมชาติ”

มฟล. ขับเคลื่อนแนวคิด Culture Alert Nature Alive ผ่านนิทรรศการ เชื่อม รัด มัด ร้อย เรียนรู้การใช้ “วัฒนธรรม” มาปกป้อง “ธรรมชาติ” ตามวิถีชาวน่าน

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ขับเคลื่อนแนวคิด Culture Alert Nature Alive หรือ วัฒนธรรมนฤมิต คืนชีวิตให้ธรรมชาติ ผ่านนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้  'เชื่อม รัด มัด ร้อย' เรียนรู้การใช้วัฒนธรรมมาปกป้องธรรมชาติ ตามแบบฉบับของชาวเมืองน่าน  ณ บริเวณลานหน้าศาลากลางจังหวัดน่าน (หลังเก่า)  ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ระหว่างวันที่ 30 กันยายน - 2 ตุลาคม 2564 

โดยมีนาย นิวัฒน์ งามธุระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายเมืองน่านทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรภาคประชาสังคม และชาวน่าน มาร่วมงานอย่างอบอุ่น

มฟล. สาธิต 3 มรดกภูมิปัญญาทาง \"วัฒนธรรม\" เมืองน่าน ปกป้อง “ธรรมชาติ”

พิธีเปิดนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้  'เชื่อม รัด มัด ร้อย'

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง หัวหน้าโครงพัฒนาระบบนิเวศเพื่อการปกป้องแหล่งท่องเที่ยว และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อความยั่งยืน ในพื้นที่เมืองเก่าน่าน (EPISG) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการครั้งนี้ว่า 

เป็นนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ วิธีการปกป้องแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติด้วยวัฒนธรรม  แสดงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญาที่ชาวน่านนำมาใช้ในการปกป้องธรรมชาติอย่างได้ผลดีมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งการรักษาสิ่งแวดล้อมของ ลุ่มน้ำน่าน อันเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ใช่เป็นการทำเพื่อคนน่านเท่านั้น แต่เป็นการทำเพื่อทุกคนในโลกนี้ 

มฟล. สาธิต 3 มรดกภูมิปัญญาทาง \"วัฒนธรรม\" เมืองน่าน ปกป้อง “ธรรมชาติ”

นายนิวัฒน์ งามธุระ และ ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง

โดย พี่แมงหมาเต้า สัญลักษณ์ของการจัดงาน ทำหน้าที่เล่าเรื่องเมืองน่าน ภายใต้แนวคิดที่ว่า

  • มรดกภูมิปัญญาของเขตวัฒนธรรมเมืองเก่าน่านมีจำนวนมากมาย ทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าไว้ด้วยกันและยังเชื่อมโยงคนกับธรรมชาติ
  • เขตวัฒนธรรมเมืองเก่าน่านกว้างไกลไปกว่าเขตที่เราเข้าใจในปัจจุบัน เพราะว่าเขตวัฒนธรรมนั้นเชื่อมโยงพื้นที่สามพื้นที่ คือ พื้นที่ทางจิตใจ พื้นที่ทางสังคม พื้นที่ทางกายภาพ

กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย ส่วนนิทรรศการจัดแสดง องค์ความรู้และข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จำนวน 28 รายการ อาทิ  ภูมิปัญญาการสร้างเรือแข่งในเมืองน่าน  ภูมิปัญญาเรื่องเกลือเมืองน่าน  ภูมิปัญญาด้านดนตรีและการแสดง  ภูมิปัญญาในจิตรกรรมเมืองน่านวัดภูมินทร์  และ ตำนานแมงหมาเต้า เป็นต้น

มฟล. สาธิต 3 มรดกภูมิปัญญาทาง \"วัฒนธรรม\" เมืองน่าน ปกป้อง “ธรรมชาติ”

“ตัด แต่ง แป๋ง ลาย” ตัดกระดาษรูปต่างๆ โดย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

        ร่วมด้วยกิจกรรมการเรียนรู้และสาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของเมืองน่าน ได้แก่ 

  1. “ตัด แต่ง แป๋ง ลาย” ตัดกระดาษรูปต่างๆ โดย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  2. “ปั้น แต่ง แต้ม วาด” แมงหมาเต้าโดย โดย หออัตลักษณ์นครน่าน วิทยาลัยชุมชนน่าน
  3. “จัด แจ๋ง แป๋ง โคม” การทำโคมแบบเมืองน่าน โดย บ้านโคมคำ ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

มฟล. สาธิต 3 มรดกภูมิปัญญาทาง \"วัฒนธรรม\" เมืองน่าน ปกป้อง “ธรรมชาติ”

“จัด แจ๋ง แป๋ง โคม” การทำโคมแบบเมืองน่าน โดย บ้านโคมคำ ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน

นิทรรศการ “เชื่อม รัด มัด ร้อย เรียนรู้ วัฒนธรรม ปกป้อง ธรรมชาติ พื้นที่เขตเมืองเก่าน่าน” จัดแสดงระหว่างวันที่ 30 กันยายน -2 ตุลาคม  2564 ณ ลานหน้าศาลากลางจังหวัดน่าน (หลังเก่า)อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

หลังจากนั้นพบกับเรื่องราวของการปกป้องธรรมชาติด้วยวัฒนธรรมกันต่อได้ทางเพจเฟซบุ๊ค  เชื่อม รัด มัด ร้อย 

มฟล. สาธิต 3 มรดกภูมิปัญญาทาง \"วัฒนธรรม\" เมืองน่าน ปกป้อง “ธรรมชาติ”

บรรยากาศภายในนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้  'เชื่อม รัด มัด ร้อย'

เกี่ยวกับ  : โครงการพัฒนาระบบนิเวศมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (EPISG) โดย ม.แม่ฟ้าหลวง

EPISG  ชื่อนี้มีที่มา

  • E = Ecology ระบบนิเวศ
  • P = Protection Cultural Assets การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม
  • I = Intangible Heritage วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
  • S = Sustainable Tourism การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
  • G = GSTC การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก

โครงการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อการปกป้องแหล่งท่องเที่ยว และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อความยั่งยืน ในพื้นที่เมืองเก่าน่าน (EPISG) มีเป้าหมายในการสืบค้นรวบรวมมรดกทางวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นไปที่เมืองเก่า 2 เมืองได้แก่ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย และ เมืองเก่าน่าน จังหวัดน่าน และนำมาพัฒนาให้กลายเป็นสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง เพื่อนำไปยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาให้กับชุมชน โดยมีพื้นฐานจากการทำงานของนักวิจัยของ ม.แม่ฟ้าหลวง ที่ทำงานเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง 

มฟล. สาธิต 3 มรดกภูมิปัญญาทาง \"วัฒนธรรม\" เมืองน่าน ปกป้อง “ธรรมชาติ”

คาแรคเตอร์พี่แมงหมาเต้า

เกี่ยวกับ ‘พี่แมงหมาเต้า’ คาแรคเตอร์เล่าเมืองน่าน
ในตำนานสร้างเมืองน่านเล่าถึง ‘แมงหมาเต้า’ ว่าเป็นสัตว์รูปร่างประหลาด มีหัวคล้ายสุนัข ลำตัวคล้ายแมลง มีปีก 1 คู่ มี 6 ขา บ้างก็ว่าคล้ายกบยักษ์ มีหน้าที่หยุดยั้งเคราะห์ร้าย

นักออกแบบในโครงการ EPISG โดย ม.แม่ฟ้าหลวง จึงเพิ่มเติมความน่ารักลงไปแล้วสร้างคาแรคเตอร์พี่แมงหมาเต้าขึ้นมาใหม่ ในภารกิจเล่าเรื่องเมืองน่าน

‘แมงหมาเต้า’ เป็นรูปปั้นขนาดเล็กที่มีอายุมาก สร้างขึ้นตามลักษณะที่ปรากฏตามเรื่องราวพระเจ้าเลียบโลกในบันทึกตำนานอักษรล้านนา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับรูปหล่อพระเจ้าทันใจ ไม่ปรากฏรายนามผู้สร้างและบันทึกการสร้าง

มีความเชื่อว่าหากผู้ใดเสี่ยงเซียมซีที่ศาลาพระเจ้าทันใจแล้วได้ผลไม่เป็นดั่งที่คาดหวังหรือถูกทำนายว่าจะพบเคราะห์ร้าย สามารถนำใบเซียมซีใส่ไว้ในโพรงของแมงหมาเต้าที่อยู่ใกล้ๆ เพื่อฝากให้แมงหมาเต้าช่วยยับยั้งเคราะห์ร้ายเหล่านั้นไว้ได้

‘แมงหมาเต้า’ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ‘แมงหมาตืด’ หมายถึงปิดกั้นสิ่งที่ไม่ดี