28 เมษายน ‘วันหยุดขยะอาหาร’  ‘Stop Food Waste Day’

28 เมษายน ‘วันหยุดขยะอาหาร’  ‘Stop Food Waste Day’

“FAO” ระบุว่า แต่ละปีคนทั่วโลกคนทิ้งอาหารราว 1.3 ล้านตัน หรือ 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตทั้งปี ทำให้เกิด “Food Waste” หรือ “การสูญเสียอาหารในตอนปลายของห่วงโซ่อาหาร” ดังนั้นจึงเกิด “วันหยุดขยะอาหาร Stop Food Waste Day” ตรงกับวันที่ 28 เมษายน

ขยะอาหาร อาจเรียกรวมว่า ขยะอินทรีย์ ที่เกิดจากการทิ้งเศษอาหาร จากการผลิต การปรุง การบริโภค รวมถึงขยะที่ได้จากการทำการเกษตร ซึ่งหนึ่งในนั้นมาจาก การสูญเสียอาหารในตอนปลายของห่วงโซ่อาหาร ซึ่งตรงกับคำว่า Food Waste, Food Loss

161944731457

FAO หรือ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ บอกว่า ขยะจากเศษอาหาร (ไม่ว่าจะเกิดจากเหลือเกินเหลือใช้ หรือจากการเกษตร) ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 8% สู่บรรยากาศโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อีกทั้งเมื่อนำไปทิ้งในกองขยะรอฝังกลบ ก่อนจะย่อยสลายหมดก็ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเน่า เกิดขยะติดเชื้อเป็นสาเหตุของโรคระบาดอื่น ๆ แม้ว่าเราไม่สามารถกำจัดขยะอินทรีย์จากการเกษตรได้ แต่ในครัวเรือนทุกคนสามารถช่วยกันลดปัญหา ขยะอาหาร จากพฤติกรรม กินทิ้งกินขว้าง ของเราได้ วันที่ 28 เมษายน จึงเป็นวัน Stop Food Waste Day

เมื่อขยะอาหาร 1 ใน 3 ของโลก ต้องทิ้งขว้างไปอย่างไม่ไยดี ในขณะที่มีคนอดอยาก และขาดสารอาหารอีกมากมาย กลุ่มกรีนพีซ ให้ข้อมูลเพิ่มว่า สถานการณ์ โควิด-19 จะยิ่งส่งผลให้สถานการณ์ Food  Waste แย่ลงไปอีก อีกทั้ง FAO ก็ระบุว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ชาวโลกที่ขาดแคลนอาหารมีจำนวนถึง 60 ล้านคน

161944737786

ขยะอาหาร ที่เกิดจากพฤติกรรมนิสัยเสียกินเหลือทิ้ง ควรเรียกว่า การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร หรือ FLW : Food Loss and Waste วันหยุดขยะอาหาร จึงเตือนให้ตระหนักรู้ว่า เราควรลด ละ เลิก นิสัยเสียในการกินเสียที

Stop Food Waste Day มีความเป็นมาหลายร้อยปี สืบค้นพบว่า ชาวพื้นเมืองในทวีปอเมริกา (ที่เราเรียกว่า อินเดียนแดง) น่าจะเป็นคนริเริ่มแนวคิดไม่ทิ้งขว้างอาหาร โดยใช้ทุกชิ้นส่วนของสัตว์ป่าที่ล่าได้เพื่อทำอาหาร ตั้งแต่ผิวนอกคือหนังสัตว์ทำเครื่องนุ่งห่ม อวัยวะทุกส่วนก็กิน กระทั่งกระดูกก็เอาไปทำเครื่องมือเครื่องใช้ เมื่อคนผิวขาวมาตั้งถิ่นฐาน มองเห็นตัวอย่างไม่กินทิ้งกินขว้าง พวกเขาก็เริ่มคิดได้ ราวต้นศตวรรษที่ 18 คนผิวขาวเลียนแบบพฤติกรรมใช้ทุกส่วนของสัตว์ที่ล่าได้ กระทั่งไขมันสัตว์ก็เอาไปทำสบู่ แต่เรื่องราวเช่นนี้ไม่ได้ออกสื่อ จนเมื่อเวลาผ่านไปถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุโรปและอเมริกาขาดแคลนวัตถุดิบทุกอย่างจึงเริ่มหาวัตถุดิบอื่นทดแทนเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม สงครามเป็นตัวขับเคลื่อนให้มนุษย์เริ่มคิดถึงธรรมชาติและสิ่งที่มีอยู่เพื่อใช้อย่างคุ้มค่า ยุคนี้เริ่มเกิดพฤติกรรม รีไซเคิล รียูส และพยายามไม่สร้าง ขยะอาหาร

161944740175

พฤติกรรมมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศ สังคมและเศรษฐกิจ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกสู่ยุคฟูเฟื่องอีกครั้ง เกิดยุครุ่งเรืองของการผลิตทุกแขนง จนเมื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายมากขึ้น ทำให้ชาวโลกหันกลับมาสำรวจตัวเองอีกครั้ง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีผู้สำรวจตัวเลขอาหารเหลือทิ้งในอเมริกา พบว่าตีราคาได้ราว 80 พันล้านปอนด์ ที่ไม่ได้กินถูกเทลงถังขยะ ท่ามกลางความแร้นแค้นขาดแคลนอาหาร เว็บไซต์ National Today บอกว่า คนไม่มีจะกินเกิดขึ้นทุกวัน ในขณะที่ Food Waste ที่คนมีกินทิ้งขว้างไปเทียบเป็นวันละ 219 ปอนด์ เมื่อปี 2020 สำรวจพบว่า ในอเมริกา อาหารเหลือทิ้งมีมูลค่าถึง 80 พันล้านปอนด์ และ ราว 40% เป็นอาหารที่ผลิตมาแล้วไม่ได้กินไม่ได้ใช้

161944742823

        ภาพ : Markus Spiske on Unsplash

แล้วเราจะหยุด Food Waste ได้อย่างไร มีหลายวิธี National Today แนะนำไว้เช่น

จัดระเบียบในตู้เย็น : อย่างแรกทำความสะอาด และ ซื้อเท่าที่จำเป็น หรือ ไม่จำเป็นต้องซื้อเยอะ จึงต้องวางแผนการกินให้ดี ถ้าจำไม่ได้ก็ขึ้นกระดานไว้หรือจดไว้ในปฏิทิน การวางแผนกิน ไม่ยากก็แค่คิดว่าสัปดาห์นี้จะทำอาหารกินที่บ้าน หรือไปกินนอกบ้านมื้อไหน ทำให้ไม่ต้องซื้อเยอะเก็บเยอะ

หาข้อมูลวัตถุดิบ : มีตัวเลข (ในตู้เย็น) ชี้ว่า ของสดที่เราเก็บ ๆ โยน ๆ ไว้ในตู้เย็น มากกว่า 60% นั้นจะกลายเป็นขยะในภายหลัง นั่นหมายถึงนอกจากเสียอาหารแล้วยังเสียเงินด้วย ดังนั้นหาข้อมูลเรื่องวัตถุดิบที่เก็บได้นาน และวางแผนจะกินตอนไหน เช่น มันฝรั่ง มะเขือเทศ หอมใหญ่ ผักสด และเนื้อสัตว์ เก็บได้กี่วัน ควรกินตอนไหน ทางช่วยจำคือติดสติ๊กเกอร์แปะวันที่จะกินจะใช้เอาไว้

161944745253

    ภาพ : Markus Spiske on Unsplash

เปลี่ยนพฤติกรรม : แม้เราไม่ใช่ตัวการก่อ Food Waste แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะทิ้งเปลือกผลไม้และผัก ที่กินไม่ได้โยนลงถังขยะ หรือเนื้อสัตว์บางส่วน เช่น ไขมัน กระดูก วิธีช่วยคือเมื่อรู้ว่าจะประกอบอาหารด้วยพืชผักและเนื้อสัตว์ส่วนไหนก็ซื้อเฉพาะส่วนนั้น แล้วถ้าที่บ้านมีถังขยะย่อยขยะอินทรีย์ก็โยนลงหมักทำปุ๋ยเสีย ช่วยโลกลดขยะได้เยอะ

ยุคนี้ เชฟรุ่นใหม่ ๆ พยายามหาวิธีลด Food Waste และ Food Loss พยายามใช้ทุกส่วนของพืชผัก ถ้ากินไม่ได้เอาไปต้มทำซุปมั้ย... และเก็บทิ้งขยะเศษอาหารแยกลงถังเพื่อรอทำปุ๋ยหมัก บางคนแยกเปลือกไข่ แยกเปลือกผลไม้และผัก แยกเศษอาหารจากเนื้อสัตว์ ซึ่งทุกอย่างย่อยสลายได้ในถังหมักชีวภาพ เช่น เปลือกไข่และกากกาแฟทำปุ๋ยปลูกต้นไม้ เชฟหลายคนเข้าไปในสวนในไร่คุยกับเกษตรกรที่ต้องทิ้งรากของผัก ใบหรือเปลือกรอบนอกทิ้ง เจ้าของพวกนี้ยังกินได้มั้ย รากและใบแครอท เปลือกนอกของเคลและกะหล่ำปลี ฯลฯ ทิ้งไปก็เป็น Food Waste ในขณะที่เกษตรกรบอกว่า ขยะอินทรีย์ จากไร่สวนเอาไปทำอาหารสัตว์แต่บางคนก็กองทิ้งกลายเป็นขยะเศษอาหาร

161944754274

    ภาพ : Oliver Zenglein un Unsplash

ในประเทศจีน นำขยะจากเศษอาหารมาเข้าเครื่องบด ย่อย จนกลายเป็นของเหลวข้น ๆ แล้วนำไปเลี้ยงแมลงสาบ (ในโกดังใหญ่ที่เต็มไปด้วยแมลงสาบ) เมื่อเลี้ยงพวกมันจนอ้วนแล้วก็เอาทอดกิน บางส่วนเอาไปเลี้ยงไก่ แล้วก็กินไก่อย่างเอร็ดอร่อย ทำให้ไม่เกิด Food Waste เลย เกิดสังคม เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อย่างครบวงจร

161944762193

เมื่อกระดาษ, พลาสติก รีไซเคิลได้ ขยะอาหารก็รีฟอร์มเพื่อรียูสได้อีกครั้ง วันหยุดขยะอาหาร (Stop Food Waste Day) จึงเกิดขึ้นเพื่อเตือนให้ทุกคน กินดีไม่มีทิ้ง และไม่ กินทิ้งกินขว้าง อย่างที่แล้ว ๆ มา...