เรื่องของ ครุย เข้าใจที่มาชุดแห่งความสำเร็จในวันรับปริญญา

เรื่องของ ครุย เข้าใจที่มาชุดแห่งความสำเร็จในวันรับปริญญา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554  ให้ความหมายเสื้อครุย หมายถึง เสื้อชนิดหนึ่ง มีหลายแบบ ในสวมหรือคลุม เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศหรือแสดงหน้าที่ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ

หนึ่งในงานสำคัญของชีวิต คือ งานสำเร็จการศึกษา โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีการได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากเชื้อพระวงศ์ และ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ ชุดครุย ที่บัณฑิตมหาวิทยาลัยต่าง ๆ สวมใส่กันในวันสำคัญครั้งนี้ สำหรับใครที่สงสัยว่าชุดครุยนั้นมีที่มาอย่างไร เกิดขึ้นในสมัยไหน และ ทำไมถึงมีหลากหลายแบบ บทความนี้จะพาไปเจาะลึกถึงชุดครุยให้ได้เข้าใจกัน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554  ให้ความหมายเสื้อครุย หมายถึง เสื้อชนิดหนึ่ง มีหลายแบบ ในสวมหรือคลุม เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศหรือแสดงหน้าที่ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ

  • ครุยในยุโรป

ไม่ใช่แค่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นที่ใส่ชุดครุยในวันสำเร็จการศึกษา แต่เกือบทุกประเทศทั่วโลกก็มีการใส่ชุดครุยนี้เช่นกัน หากแต่ประวัติศาสตร์ชุดครุยในยุโรปนั้นมีหลักฐานเกี่ยวข้องกันในช่วงศตวรรษที่ 12 ที่การศึกษาส่วนใหญ่นั้นจะเริ่มต้นที่สถาบันศาสนาอย่าง คริตสจักร การเรียนการสอนจึงอยู่ในโบสก์ และ เมื่อถึงฤดูหนาวสภาพอากาศจะเย็นจัด จนถึงขั้นหิมะตก นักเรียนที่เรียนจึงต้องใส่เสื้อคลุมใหญ่ ๆ และ หมวกคุลมศรีษะ เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย นี่คือจุดเริ่มต้น

157423459652

ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 14 ได้มีการตรากฎข้อบังคับว่าด้วยการแต่งกายเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาโดยระบุในทำนองว่าให้แต่งกายด้วยชุดคลุมยาวเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นการกำหนดเป็นระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ใช่การสวมใส่เพื่อป้องกันความเหน็บหนาวแบบในอดีต

เมื่อถึงในรัชสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 แห่งอังกฤษ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford) และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (Cambridge) ก็ได้เริ่มมีข้อกำหนดว่าด้วยการให้สวมเสื้อคลุมยาว หรือเสื้อครุยเพื่อเข้าเรียนในสถาบันเช่นกัน สหรัฐอเมริกาในช่วงที่อังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคมก็ได้กำหนดให้นักศึกษาสวมเสื้อครุยเพื่อเข้าเรียนในสถานศึกษาในอเมริกา เช่น Princeton University in New Jersy, Brown University in Rhode Island, Columbia University in New York

จุดสำคัญที่สร้างความเปลี่ยนแปลงเรื่องชุดครุยอยู่ในช่วงที่สหรัฐอเมริกาปลดแอก และได้อิสรภาพจากอังกฤษ ทำให้เกิดความเกลียดชังชาติทั้งสองฝ่าย ดังนั้นทางอเมริกาจึงยกเลิกการใช่ชุดครุยในวันเรียนแล้วให้ใส่เฉพาะวันที่สำเร็จการศึกษาแทน

  • ครุยในสยาม

ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็มีการสามใส่ชุดคล้ายชุดครุยเช่นเดียวกัน มีหลักฐานในสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดเกล้าฯ ให้พระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) เป็นราชทูตออกไปเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส ปรากฎความในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 57 ที่กล่าวถึงการสวมเสื้อครุยว่า

“…ท่านราชทูตจึงได้แต่งตัวสำหรับราชทูตอย่างเต็มยศตามธรรมเนียมของบ้านเมืองไทยคือสวมเสื้อเยียระบับ มีกลีบทองและดอกไม้ทอง และสวมเสื้อครุย…”

สมัยรัชกาลที่ 1 น่าจะมีแบบเสื้อครุยอันเป็นมาตรฐานมาแต่เดิมแล้ว ปรากฎในพระราชบัญญัติ จุลศักราช 1162  ความตอนหนึ่งว่า

“…อย่างธรรมเนียมแต่ก่อนสืบมา จะนุ่งผ้าสมปักท้องนากแลใส่เสื้อครุยกรองคอ กรองต้นแขน กรองปลายแขน จะคาดรัดประคดหนามขนุนได้แต่มหาดไทย กลาโหม จตุสดมภ์ ทุกวันนี้ข้าราชการผู้น้อยนุ่งห่มมิได้ทำตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน..แต่นี้สืบไปเมื่อหน้าห้ามอย่าให้ข้าร้าชการผู้น้อยใส่เสื้อครุยกรองคอ กรองสังเวียน กรองสมรด ใส่เสื้อครุยได้แต่กรองปลายมือ…”

รัชกาลที่ 5 มีเรื่องเกี่ยวกับเสื้อครุยใน ประกาศ เรื่อง ตราตระกูลจุลจอมเกล้า พ.ศ. 2416 ความว่า 

“…ผู้ที่ได้รับพระราชทานตราปฐมจุลจอมเกล้า ให้มีสายสร้อยจุลจอมเกล้าสำหรับติดเสื้อครุยเมื่อแต่งเต็มยศอย่างใหญ่…” 

แต่ไม่ได้ระบุว่าเสื้อครุยนั้นมีลักษณะอย่างไร ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2436 ได้มีพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า (ฝ่ายหน้า) ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงระเบียบการใช้เสื้อครุยเช่นกัน


รัชกาลที่ 6 ได้มีประกาศพระราชกำหนดเสื้อครุย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 กำหนดลักษณะเสื้อครุยและระเบียบการสวมเสื้อครุย มีความในพระราชปรารภว่า 

“…เสื้อครุยเป็นเครื่องแต่งตัวในงานเต็มยศใหญ่แต่โบราณมา บัดนี้ได้โปรดให้มีเครื่องแต่งตัวตามลำดับยศข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งฝ่ายทหารพลเรือน การที่ใช้เสื้อครุยนั้น สมควรจะมีพระราชกำหนดไว้ให้เป็นระเบียบเสียด้วย…” 

พระราชกำหนดฉบับนี้ได้กำหนดเสื้อครุยข้าราชการไว้ 3 ชั้น เรียกว่า เสื้อครุยเสนามาตย์ และกำหนดเกณฑ์บุคคลที่จะสวมเสื้อครุยได้

157423498287

เสื้อครุย จึงเป็นเครื่องใช้ในราชสำนัก ซึ่งพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ตลอดจนขุนนางข้าราชการใช้สวมเข้าร่วมในการพระราชพิธีสำคัญ เพื่อเป็นการแสดงบรรดาศักดิ์และตำแหน่งของผู้สวมใส่ มีการวางรูปแบบและระเบียบการใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์จะทรงมีพระราชวินิจฉัยพระราชทานฉลองพระองค์ครุยหรือเสื้อครุยเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศหรือเครื่องยศในหมวดภูษณาภรณ์ สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง หรือข้าราชการ ที่ทำความดีความชอบในราชการแผ่นดินมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้พระราชทานต่อเนื่องมาจนถึงสมัยปัจจุบัน แต่อาจมีกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนในการพระราชทานที่แตกต่างกันตามยุคสมัย

ครุยวิทยาฐานะ (ครุยปริญญาหรือครุยบัณฑิต) ใช้สวมเป็นที่เชิดชูเกียรติผู้ที่สำเร็จวิชาการจากมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยชั้นสูง เสื้อครุยวิทยาฐานะเริ่มมีครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2440 สมัยที่พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ (ภายหลังทรงกรมเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์) พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 5 ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม โดยให้ผู้ที่สอบไล่วิชากฎหมายได้เป็นเนติบัณฑิตมีสิทธิสวมเสื้อครุย เรียกว่า เสื้อเนติบัณฑิต ผู้พิพากษาที่เป็นเนติบัณฑิตเมื่อขึ้นบัลลังก์พิจารณาคดีก็ให้สวมเสื้อครุยทับเสื้อนอกปกติ เลียนแบบเสื้อเนติบัณฑิตของประเทศอังกฤษ

เสื้อครุยที่ใช้กันมาแต่เดิม มี 5 ประเภท ได้แก่

  • ฉลองพระองค์ครุยพระมหากษัตริย์
  • ฉลองพระองค์ครุยพระราชวงศ์
  • ครุยพราหมณ์
  • ครุยขุนนาง หรือ ครุยเสนามาตย์
  • ครุยเจ้านาค


157423501153

พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ครั้น พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชกำหนดเสื้อครุยบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น เป็นผ้าโปร่งสีขาว แบบเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ พระราชทานเนติบัณฑิต มี 3 ชั้น คือชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และชั้นพิเศษ

พ.ศ. 2476 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งก็ได้มีการกำหนดรูปแบบชุดครุยอย่างเฉพาะของมหาวิทยาลัย โดยใช้สีดำ แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี นอกจากนี้ยังมีครุยวิทยาฐานะสำหรับกรรมการสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี คณบดี และผู้สอน

พ.ศ. 2486 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยอีก 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตามชั้นวิทยฐานะคือ ชั้นบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ใช้ครุยสีดำมีเครื่องหมายบอกชั้นวิทยฐานะตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้