‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

เปิดเส้นทางชีวิต "ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ" ศัลยแพทย์รักษาโรคหลอดเลือดแดง โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กับโมเมนต์ความสุขที่ได้ช่วยชีวิตคน

ซูเปอร์ฮีโร่ในชีวิตจริง อาจไม่ได้เหมือนในภาพยนตร์ พวกเขาไม่มีผ้าคลุม บินไม่ได้ ไม่มีพลังวิเศษ หรือพาหนะแปลกตา แต่กลับเป็นเพียงคนธรรมดาที่เดินปะปนกับคนทั่วไป แต่สิ่งที่มีเหมือนกันคือ การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นในแนวทางที่ถนัด

ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เป็นอีกคนที่รู้ว่าต้องการเป็นแพทย์ตั้งแต่วัยเด็ก ความฝันพาเขามาไกล ด้วยการเป็นศัลยแพทย์ที่รักษาชีวิตผู้คนมากกว่า 20 ปี และยังมีอีกบทบาทในฐานะผู้บริหารโรงพยาบาล ที่มีส่วนยกระดับองค์กรและสร้างแรงกระเพื่อมต่อการดูแลผู้ป่วยในวงกว้าง 

การเป็นศัลยแพทย์ที่ต้องอาศัยทักษะต่างๆ ทั้งการใช้มือเพื่อหัตถการ การแก้ปัญหา การทำงานแข่งกับเวลา และสองขาที่ยืนหยัดในขณะผ่าตัดหลายชั่วโมง ตามไปรู้จักกับเส้นทางที่เขาเลือก เพื่อเป็นฮีโร่ของผู้ป่วยและคนในครอบครัว ทำให้หลายคนได้รอดชีวิตกลับคืนสู่ครอบครัวหรือคนที่รักอีกครั้ง

‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

เด็กชาย เครื่องดนตรี และเสื้อกาวน์

จากเด็กชายที่ติดสอยห้อยตามแม่ผู้เป็นพยาบาลเดินเข้า-ออกวอร์ดต่างๆ มาตั้งแต่ยังเล็ก ทำให้เขาได้ซึมซับโลกแห่งวงการเสื้อกาวน์ไปโดยไม่รู้ตัว ประกอบกับแรงสนับสนุนจากครอบครัว ทำให้เริ่มสนใจวิชาชีพแพทย์ตั้งแต่เด็ก 

ไม่เพียงงานวิชาการ แต่ครอบครัวยังสนับสนุนให้เริ่มรู้จักโลกแห่งเสียงเพลงตั้งแต่ชั้นประถมศึกษากับเครื่องดนตรีชิ้นแรกคือ "เปียโน" ที่ช่วยฝึกทักษะในด้านการใช้มือ แยกประสาท และรู้จักโน้ตดนตรี จนกระทั่งย่างเข้าสู่วัยรุ่นก็เริ่มเล่นอิเล็กโทน ชักชวนเพื่อนๆ ตั้งวงดนตรี

การเล่นดนตรีไม่ได้ทำให้ความสนใจในการศึกษาแพทย์ลดลงแต่อย่างใด มิหนำซ้ำทักษะการเล่นดนตรี ยังเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่ทำให้เด็กหนุ่มสอบติดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และเมื่อได้เรียนด้านการฟังเสียงหัวใจก็ทำได้โดดเด่น เพราะทักษะการแกะเพลง การจับจังหวะ หรือการผ่าตัดที่อาศัยทักษะการใช้มือ ล้วนเป็นทักษะที่ได้มาจากการเล่นเปียโนนั่นเอง

ความสามารถทั้งด้านการฟัง การใช้มือในการทำหัตถการที่ได้จากการเล่นดนตรี ทำให้เขาเริ่มมองเห็นถึงการต่อยอดสู่การเป็นศัลยแพทย์ โดยนับจากวันที่ได้รับชุดอุปกรณ์การเย็บแผลผ่าตัดเป็นครั้งแรก เข็มที่ร้อยผ่านลงไปที่ผิวหนัง แม้เจ้าตัวจะออกตัวว่ามือสั่นในครั้งแรก แต่เขากลับทำได้ดีเกินคาด จนได้รับคำชมจากอาจารย์ เป็นพลังเล็กๆ ที่ก่อตัวให้เขาเห็นเส้นทางในวงการแพทย์อย่างชัดเจน นั่นก็คือการเป็นศัลยแพทย์หัวใจ

‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

แผนกศัลยกรรมและผ่าตัด เปลี่ยนชีวิต

ผศ.นพ.อรรถภูมิ เล่าย้อนให้ฟังว่า ตอนที่เรียนแพทย์ชั้นปีที่ 6 ได้ไปผ่านหน่วยศัลยกรรมหัวใจและรู้สึกว่า การเป็น หมอผ่าตัดหัวใจ ต้องมีความสามารถสูงและช่วยชีวิตคนได้ เพราะเรารู้สึกว่าอยากรักษาแล้วเห็นผลเร็วๆ ซึ่ง การผ่าตัดหัวใจ จะทำให้คนไข้ดีขึ้นอย่างชัดเจน จากคนที่เดินไม่ได้ กลับมาเดินได้ 

แม้จะมีเสียงทัดทานจากคนรอบข้างว่าการเป็นศัลยแพทย์หัวใจเป็นงานที่หนัก ยืนผ่าตัดกินระยะเวลาขั้นต่ำ 3 - 4 ชั่วโมงต่อ 1 เคส คนไข้มักมาด้วยอาการรุนแรง ต้องทำงานแข่งกับเวลา ทำให้เป็นงานที่ยากลำบาก แต่ด้วยความประทับใจกับสิ่งที่ได้เห็นว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นชัดเจน จึงยืนยันที่จะศึกษาด้านศัลยกรรมหัวใจ ที่โรงพยาบาลราชวิถี

‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

"ตอนที่เราเป็นแพทย์ประจำบ้าน แต่ละวันต้องยืนผ่าตัดขั้นต่ำ เช้าและบ่ายอยู่ที่ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน เสร็จแล้วก็เข้าเวรรอบดึกต่อ ชีวิตอยู่แต่ในตึกผ่าตัดตลอด เรียกว่าแทบจะไม่ได้เห็นเดือนเห็นตะวันกันเลย" 

หลังจากทำงานที่โรงพยาบาลราชวิถีเป็นเวลา 3 ปี เขาตัดสินใจไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และได้ไปศึกษาและทำงานต่อในตำแหน่ง Clinical Fellowship ที่ Northwestern University สหรัฐอเมริกาอีกหนึ่งครั้งในช่วงปี พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นการเปิดประสบการณ์ด้านการผ่าตัดหลายประเภทที่ยังไม่มีในเมืองไทย

"การไปที่อเมริกา ทำให้ได้ศึกษาด้านการผ่าตัดหลอดเลือดแดง การซ่อมลิ้นหัวใจ การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจและหัวใจเทียม นับเป็นโอกาสดีที่ได้เรียนรู้และเข้าเคสผ่าตัดในลักษณะดังกล่าวที่ไม่ค่อยมีในเมืองไทย"

จนกระทั่งกลับมาทำงานที่ประเทศไทย เขาก็ได้นำความรู้ด้านการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจมาสานต่อที่โรงพยาบาลราชวิถี รวมระยะเวลาทำงานที่ดังกล่าวกว่า 20 ปี

‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน
 
เชี่ยวชาญการรักษาโรคหลอดเลือดแดง

หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาหลายปี เขาได้ร่วมงานกับ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ในการเป็นแพทย์ประจำแผนกศัลยกรรมหัวใจ และในปี พ.ศ. 2561 ได้เข้ามาทำงานในบทบาทการบริหารเพิ่มขึ้น ในฐานะผู้ช่วยผู้อำนวยการ ซึ่งได้นำประสบการณ์การทำงานทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ทำให้ได้เข้าใจกระบวนการบริหารจัดการศูนย์หัวใจในรูปแบบต่างๆ

ความเชี่ยวชาญคือ การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta) โป่งพองปริแตกและเซาะฉีก โดย Aorta เป็นหลอดเลือดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีเลือดไหลผ่าน 5 ลิตรต่อนาที ออกมาจากขั้วหัวใจทอดยาวจากช่องอกสู่ช่องท้องและให้แขนงเป็นหลอดเลือดที่นำเลือดแดงไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ซึ่งบางครั้งโรคหรือภาวะบางอย่างอาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta มีความอ่อนแอจนเกิดการปริแตกได้ ซึ่งนับเป็นความเจ็บป่วยร้ายแรงที่ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้ในที่เกิดเหตุ 70 - 90% แต่เมื่อผู้ป่วยถูกตรวจพบว่า หลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta เริ่มมีการปริบวม ก็รักษาได้ด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดมีขดลวดถ่างขยายผ่านสายสวน เป็นการผ่าตัดโดยใช้เทคนิคสายสวนเพื่อสอดหลอดเลือดเทียมผ่านทางหลอดเลือดแดงจากทางขาหนีบเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดช่องท้อง และการผ่าตัดโดยใช้เทคนิคสายสวนเพื่อซ่อมแซมหลอดเลือดหัวใจโป่งพองตีบตันบริเวณทรวงอก

‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

นับเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงในผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัวต่างๆ อาทิ เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง เนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กกว่าและอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลต่ำกว่า 

"โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ มีทีมแพทย์เฉพาะทาง ไม่ใช่เพียงแค่แพทย์หัวใจทั่วไป มีทีมพยาบาลที่ดูแลเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจมาโดยตลอด และทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เฉพาะด้านในการดูแล ผู้ป่วยโรคหัวใจ แบบองค์รวม ที่ทำงานสอดประสานกันเพื่อดูแลคนไข้โรคหัวใจอย่างครบถ้วน"

‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพกับรางวัลระดับโลก 

อีกปัจจัยสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้คือ กระบวนการก่อนการรักษา ทางโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมีศูนย์ประสานงานเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือ Medevac ทั้งทางเฮลิคอปเตอร์ เครื่องบิน และรถฉุกเฉิน กับการใส่เครื่องปอดหัวใจเทียมแบบเคลื่อนที่ (Extracorporeal Membrane Oxygenation : ECMO) ในที่เกิดเหตุ กรณีที่ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นหรือปอดไม่ทำงาน เพื่อนำส่งผู้ป่วยกลับมารักษาต่อที่โรงพยาบาลได้ 

"คนไข้บางเคส เราเห็นแล้วว่าถ้าเราไม่ทำอะไร คนไข้จะเสียชีวิตภายใน 1-2 ชั่วโมง แต่เราใช้เครื่องมือต่างๆ จนสามารถเปลี่ยนให้รอดชีวิตและออกจากโรงพยาบาลกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ จากอัตราการเสียชีวิต 100% เป็นอัตราการรอดชีวิตที่ดีเทียบเท่ากับสถาบันโรคหัวใจระดับโลก"

นอกจากนี้ ด้วยการฝึกซ้อมการปฏิบัติงาน และการให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ โดยศูนย์ Simulator ทำให้ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ได้รับรองความเป็นเลิศจาก ELSO Award of Excellence in Extracorporeal Life Support ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกๆ ในไทย และมีโรงพยาบาลเพียงไม่กี่แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับรางวัลดังกล่าวนี้

‘ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ‘ ศัลยแพทย์หลอดเลือดแดง กับความสุขที่ได้ช่วยคน

โมเมนต์แห่งความสุขเกิดขึ้นได้ทุกวัน

การเป็นศัลยแพทย์ที่แม้จะทุ่มเทกับการเรียนตลอดระยะเวลาการเป็นนักศึกษาแพทย์หลายปี และยังต้องใช้เวลา Learning Curve อีกกว่า 10 ปี พร้อมๆ กับการทำงานหนักเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้อื่น เป็นบททดสอบหัวใจของผู้ที่เลือกเส้นทางนี้

เช่นเดียวกับ "ผศ.นพ.อรรถภูมิ" ที่รักษาผู้ป่วยด้วยความเชี่ยวชาญตลอดระยะเวลามากกว่า 20 ปี ด้วยความมุ่งหวังตั้งแต่การเลือกเรียนแพทย์ในวันแรก และยังคงทำหน้าที่ในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพ ความเชื่อมั่น และร่วมขับเคลื่อนพัฒนาวงการ ศัลยแพทย์หัวใจ ให้ดียิ่งขึ้นไป

"หลักคิดการทำงานของผมก็คือ การเน้นไปที่ตัวคนไข้เป็นเรื่องสำคัญ อะไรก็ตามที่ส่งผลดีกับคนไข้ที่เราให้การดูแล จะต้องทำสิ่งนั้นให้เกิดขึ้นให้ได้ สำหรับทุกคนที่เดินเข้ามาจะต้องได้รับการรักษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โมเมนต์ความสุขมันเกิดขึ้นทุกครั้ง เมื่อคนไข้มีอาการดีขึ้น"

ข้อมูลอ้างอิง