วันอัฏฐมีบูชา วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ประวัติ ความสำคัญ

วันอัฏฐมีบูชา วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ประวัติ ความสำคัญ

"วันอัฏฐมีบูชา" คือ วันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพาน 8 วัน ปีนี้ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2566

วันอัฏฐมีบูชา คือ วันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพาน 8 วัน (นับจากวันวิสาขบูชาไป 8 วัน) ตรงกับแรม 8 ค่ำ เดือน 6 หากปีใดมีอธิกมาส(366วัน) วันอัฏฐมีบูชา จะเลื่อนไปตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 7 แทน ซึ่งถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง 

โดยในปี 2566 "วันอัฏฐมีบูชา" จะตรงกับวันที่ 11 มิถุนายน 2566 แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ซึ่งนอกจากวันนี้เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ (หลังประสูติ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้วย

สำหรับการถวายพระเพลิงได้จัดขึ้นที่ "มกุฏพันธนเจดีย์" แห่งเมืองกุสินารา ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเป็นอีกสถานที่ที่พุทธศาสนิกชน เมื่อไปสังเวชนียสถานหลักทั้ง 4 แห่งแล้ว ต้องไปสักการะด้วย   

วันอัฏฐมีบูชา วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ประวัติ ความสำคัญ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

  • ประวัติความของ "วันอัฏฐมีบูชา"

เมื่อวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ในพรรษาที่ 45 พระพุทธเจ้าได้ทรงประชวรหนัก ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่พระองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้ทรงปลงมายุสังขาร โดยพระพุทธเจ้าตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคต จักมีในไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ฯ"

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว 8 วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจ และวิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งนิยมเรียกกันว่า วันอัฏฐมี นั้นเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วน

โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้น ๆ ได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะภายในวัด เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่  

 

 

  • ความสำคัญของ "วันอัฏฐมีบูชา"

วันอัฏฐมี คือวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่มี เหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยค และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล

  • พิธีอัฏฐมีบูชา

การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำ และปฏิบัติอย่างเดียวกันกับประกอบ พิธีวิสาขบูชา ต่างแต่คำบูชาเท่านั้น 

  • คำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา

ยะมัมหะ โข มะยัง, ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ, อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา, โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ, นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวา สวากขาโต โข ปะนะ, เตนะ ภะคะวา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ. สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ, ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ, อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย อัญชลีกะระณีโย. อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ. อะยัง โข ปะนะ ถูโป(ปฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กโต (อุททิสสิ กตา) ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ, ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา, ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ, อิมัง วิสาขะปุณณะมิโตปะรัง อัฏฐะมีกาลัง, ตัสสะ ภะคะวะโต สรีรัชฌาปะนะกาละสัมมะตัง ปัตวา, อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปะ-, ปุปผาทิสักกาเร คะเหตวา, อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา, ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา, อิมัง ถูปัง(ปะฏิมาฆะรัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ, ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา. 

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา, สุจิระปะรินิพพุโตปิ, ญาตัพเพหิ คุเณหิ, อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน, อิเม อัมเหหิ คะหิเต, สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ฑีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

 

วันอัฏฐมีบูชา วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ประวัติ ความสำคัญ

ที่มา : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 

อ้างอิง : ทีฆนิกาย มหาวรรค. ๑๐/๑๐๐/๑๐๘