เผยมุมมอง คนขับ ‘แกร็บ’ กับโอกาสที่เป็น ‘ผู้ให้’ และ ‘ผู้รับ’

เผยมุมมอง คนขับ ‘แกร็บ’ กับโอกาสที่เป็น ‘ผู้ให้’ และ ‘ผู้รับ’

สองคนขับ ‘แกร็บ’ จะมาเปิดเผยมุมมองการทำงาน และความรู้สึกของการเป็น ‘ผู้ให้’ และ ‘ผู้รับ’ ที่ทำให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตในทุกวันนี้อย่างคุ้มค่า

วันคนพิการสากล ตรงกับวันที่ 3 ธันวาคมของทุกปี ได้ผ่านไปแล้ว แต่โอกาสสามารถมีขึ้นได้ตลอดเวลา ดังเรื่องราวของคนขับ 'แกร็บ' สองมุม ในฐานะ 'ผู้ให้' และ 'ผู้รับ'  

กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ รวมถึง แกร็บ ประเทศไทย จัดเทศกาล BANGKOK For ALL #กรุงเทพฯเพื่อทุกคน เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้ การอยู่ร่วมกับคนพิการในสังคม

 

คนในสังคมส่วนใหญ่ มักมองข้าม หรือด้อยค่า คนพิการ อีกทั้งตัดสินความสามารถของพวกเขาโดยดูจากสภาพภายนอก ไม่ได้คิดว่า เขามีศักยภาพมากมายซ่อนอยู่

ดังนั้น การให้ ‘โอกาส’ จึงเป็นสิ่งสำคัญ

เผยมุมมอง คนขับ ‘แกร็บ’ กับโอกาสที่เป็น ‘ผู้ให้’ และ ‘ผู้รับ’

คนพิการ มีร่างกายที่ไม่สะดวกต่อการใช้ชีวิต แต่พวกเขาก็พยายามเรียนรู้ปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตให้อยู่รอดได้อย่างคนปกติ

คนพิการส่วนใหญ่ พร้อมเรียนรู้และทำทุกอย่างอย่างเต็มความสามารถ ขอเพียงความเข้าใจและให้โอกาสเท่านั้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมนี้ได้อย่างเท่าเทียม

เผยมุมมอง คนขับ ‘แกร็บ’ กับโอกาสที่เป็น ‘ผู้ให้’ และ ‘ผู้รับ’

  • ทุกชีวิตต้องการ ‘โอกาส’ แสดงศักยภาพของตัวเอง

ฐา-ฐาปนา เย็นรักษา ชายหนุ่มวัย 30 ปี ที่แขนขวาพิการตั้งแต่กำเนิด มีเป้าหมายเหมือนคนทั่วไป อยากมีครอบครัวที่สมบูรณ์ เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี

สามารถส่งเสียลูกสาววัย 12 ขวบ ให้มีอนาคตที่สดใส หลังเรียนจบปริญญาตรีด้านการตลาด ฐาได้เข้าทำงานเหมือนคนทั่วไป

ในช่วงแรกเขาใช้เวลาหางานที่ให้โอกาสคนพิการอยู่นาน แต่เขาได้พิสูจน์ว่าเขามีศักยภาพในการทำงานไม่ต่างจากคนปกติ จึงได้ทำงาน จนกระทั่งมีโควิดเข้ามา

"จริง ๆ ผมสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป แต่คนส่วนใหญ่จะตัดสินไปแล้วว่า เราทำอะไรไม่ได้จากสิ่งที่เขาเห็น ทำให้คนพิการไม่ได้มีโอกาสที่จะได้โชว์ความสามารถของพวกเขา

เผยมุมมอง คนขับ ‘แกร็บ’ กับโอกาสที่เป็น ‘ผู้ให้’ และ ‘ผู้รับ’

โอกาสในการหางานของคนพิการน้อยกว่าคนปกติ คิดเป็นอัตราส่วนมาตรฐานของบริษัทที่เปิดรับคนพิการเข้าทำงาน จะอยู่ที่คนพิการ 1 คนต่อคนปกติ 100 คน

ตอนช่วงโควิดระบาดรอบแรก บริษัทที่ผมเคยทำอยู่ ลดเวลาทำงาน จนเราอยู่ไม่ได้ ผมเลยตัดสินใจออกจากงาน ซึ่งการไปหางาน สมัครงานที่ใหม่ ยากมากสำหรับผม เพราะหลายบริษัทเลือกพิจารณาคนที่ครบ 32 ก่อน

ผมเลยลองมาสมัครขับแกร็บ เพื่อส่งอาหาร เพราะแกร็บเปิดโอกาสให้คนทุกเพศ ทุกวัย ผมมีใบขับขี่ และมีรถมอเตอร์ไซค์ที่ดัดแปลงระบบให้ใช้มือซ้ายขับได้อยู่แล้ว ทุกอย่างเลยไม่มีปัญหา ทำให้การขับแกร็บกลายเป็นรายได้หลักของผมในช่วงนั้น

จากนั้นชีวิตก็ค่อย ๆ ดีขึ้น ผมมีรายได้มากพอสำหรับค่าใช้จ่ายในครอบครัว ผมขับแกร็บส่งอาหารและพัสดุอยู่ประมาณ 5 เดือนก็ได้งานประจำใหม่ แต่ผมก็ยังขับเป็นพาร์ทไทม์ต่อ เพราะอยากเก็บเงินเป็นทุนการศึกษาให้ลูกด้วย

เผยมุมมอง คนขับ ‘แกร็บ’ กับโอกาสที่เป็น ‘ผู้ให้’ และ ‘ผู้รับ’

พอผมมาขับแกร็บ ก็มีลูกค้าและเพื่อน ๆ ไรเดอร์คนอื่น ๆ มาคุยกับผมเยอะมาก ว่า ผมมาขับได้ยังไง แกร็บเขารับคนแบบผมด้วยเหรอ

ผมเลยใช้โอกาสนี้เล่าเรื่องราวของผมให้พวกเขาฟัง และส่งกำลังใจให้คนที่กำลังท้อแท้หรือเจอกับปัญหาอยู่

คนที่ได้ฟังเรื่องราวของผมเขาจะได้คิดทบทวนว่า ขนาดผมที่ร่างกายไม่สมบูรณ์ยังมีแรงสู้ต่อได้เลย แล้วทำไมเขาถึงจะไม่สู้

ผมเชื่อเสมอว่า เราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เราสามารถเลือกที่จะใช้ชีวิตให้มีคุณค่าได้ และแกร็บเองก็มองเห็นคุณค่าในตัวของคนพิการ โดยไม่ได้มองที่ความแตกต่าง

เพราะสิ่งที่พวกเราต้องการมากที่สุด คือ ‘โอกาส’ ในการได้พิสูจน์ตัวเอง ว่า เราก็มีศักยภาพ ที่สามารถทำงานได้เหมือนคนปกติ แค่เพียงเปิดโอกาสให้เราได้ลองทำดู”

เผยมุมมอง คนขับ ‘แกร็บ’ กับโอกาสที่เป็น ‘ผู้ให้’ และ ‘ผู้รับ’

  • คุณค่าของชีวิตคือการให้ ‘โอกาส’ กับผู้ที่ต้องการ

ต่าย-วิลาสินี โรจน์ธรรมรัตน์ พาร์ทเนอร์คนขับแกร็บวัย 52 ปี ที่เลือกเกษียณอายุงานก่อนกำหนด และเข้าสู่เส้นทางอาชีพคนขับรถรับ-ส่ง

หนึ่งในกลุ่มพาร์ทเนอร์คนขับ ที่เข้ารับการอบรมเพื่อให้บริการ GrabAssist บริการพิเศษที่แกร็บริเริ่มขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารในกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ

"ตอนแรกที่เริ่มมาขับแกร็บ ตรงกับช่วงที่มีการเปิดอบรมให้บริการ GrabAssist โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก สสส. มาสอนเรื่องการให้บริการ ตลอดจนการดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ พอดี

เรามองว่าเป็นโครงการที่ดีมาก และมีคนที่มีความรู้เรื่องนี้จริง ๆ น้อย ก็เลยตอบรับเข้าอบรม พอได้เข้ามาให้บริการ GrabAssist เลยรู้ว่ามีคนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษในการเดินทางอยู่เยอะมาก

แต่คนขับส่วนใหญ่มองว่ามันเสียเวลา เลยมีคนขับให้บริการไม่มากนัก เคยมีผู้โดยสารเรียกรถแล้ว กว่าเราจะไปถึงต้องใช้เวลาครึ่งชั่วโมง เราถามผู้โดยสารว่าจะรอไหม เขาบอกว่ารอ

เผยมุมมอง คนขับ ‘แกร็บ’ กับโอกาสที่เป็น ‘ผู้ให้’ และ ‘ผู้รับ’

เราก็ยอมขับไปรับเขานะ เพราะความลำบากเพียงเล็กน้อยของเรา คือการให้ความช่วยเหลือและมอบโอกาสที่ยิ่งใหญ่ให้กับคนอื่น

เรามองว่าบริการ GrabAssist เป็นมากกว่าการขับรถรับส่งผู้โดยสารทั่วไป เป็นงานที่ต้องใช้ทั้งความอดทน ความมีวินัย และใจสู้ด้วย

เพราะการดูแลคนพิการหรือคนป่วย ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มีหลายครั้งที่ลูกค้าของเรามักจะขอบคุณที่ช่วยให้เขาเดินทางได้สะดวกขึ้น และเราให้บริการช่วยเหลือเขาอย่างเต็มที่

พอได้ยินเสียงตอบรับแบบนี้มันทำให้เราใจฟูนะ เพราะงานที่เราทำอยู่ตอนนี้มันมีคุณค่า ทำให้เราได้มีโอกาสช่วยเหลือคนที่เขาต้องการ

ในฐานะคนที่ทำงานตรงนี้ มองว่าการได้ออกมาขับรถทุกวันนี้ ไม่ใช่แค่การหารายได้เท่านั้น แต่คือการได้ส่งต่อโอกาส และช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมดีขึ้นด้วย"