ครบรอบ 1 ปี โรงงานหมิงตี้เคมิคอลระเบิด 5 ภาคีร่วมทวงถามสัญญาสุขภาพ

ครบรอบ 1 ปี โรงงานหมิงตี้เคมิคอลระเบิด 5 ภาคีร่วมทวงถามสัญญาสุขภาพ

ครบรอบ 1 ปี โรงงานหมิงตี้เคมิคอลระเบิด เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง หวั่นเกิดเหตุซ้ำ จึงเป็นที่มาให้ 5 ภาคีร่วมทวงถามสัญญาเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม และสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

หากยังจำกันได้กับเหตุการณ์ระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อหนึ่งปีที่ผ่านมา ที่ส่งผลกระทบและความเสียหายต่อสุขภาพของประชาชนที่อยู่อาศัยในรัศมี 1-9 กิโลเมตร แต่หลังเพลิงสงบ ยังก่อวิกฤติผลกระทบต่อสุขภาพอีกมากมายจากกลิ่นเหม็นของสารเคมีและเขม่าควันในช่วงเวลาหลังเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งทำให้มีผู้เข้ารักษาพยาบาลถึง 388 คน

ครบรอบ 1 ปี โรงงานหมิงตี้เคมิคอล ระเบิด หลายฝ่ายหวั่นเจอเหตุซ้ำรอยอีกครั้ง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) มูลนิธิบูรณะนิเวศ และสมาคมนักผังเมืองไทย เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ประชาสังคม นักวิชาการ เป็นแนวทางการป้องกันมลพิษอุตสาหกรรม ป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ผ่านเสวนา "ครบรอบ 1 ปี หมิงตี้เคมิคอล : หลังเพลิงสงบ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน"

ครบรอบ 1 ปี โรงงานหมิงตี้เคมิคอลระเบิด 5 ภาคีร่วมทวงถามสัญญาสุขภาพ

ศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึง ความคืบหน้าว่า ครบรอบ 1 ปี ปัจจุบันยังคงมีสารเคมีที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่ใต้ซากอาคาร ที่ยังไม่รื้อถอนหรือดำเนินการเคลื่อนย้าย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 จังหวัดสมุทรปราการได้จัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบสารเคมีตกค้างในพื้นที่ เพื่อเร่งติดตามแผนการรื้อถอน และเคลื่อนย้ายสารเคมี ลดการเกิดเหตุสุดวิสัยที่ถือเป็นปัญหามลพิษระดับชาติ

"สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีและสิทธิในสุขภาพคือ สิทธิพื้นฐานของมนุษยชน การจัดเสวนาครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นจากกรณีครบรอบ 1 ปี หมิงตี้ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงมาตรการในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1.สิทธิของประชาชนในกระบวนการอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้อง 2.สิทธิของประชาชนในการได้รับความช่วยเหลือและเยียวยาจากสถานการณ์ฉุกเฉินหรืออุบัติภัยร้ายแรง"

ครบรอบ 1 ปี โรงงานหมิงตี้เคมิคอลระเบิด 5 ภาคีร่วมทวงถามสัญญาสุขภาพ

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า มลพิษอุตสาหกรรมจะสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหารเป็นระยะเวลานาน ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ สารเคมีอันตรายที่ปล่อยมาจากโรงงาน อาทิ สารสไตรีนโมโนเมอร์ ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ที่สัมผัสหรือสูดดม ทำให้มีอาการเจ็บป่วย ปวดหัว แสบคอ เวียนหัว แสบจมูก คัดจมูก จนถึงขั้นเสียชีวิต ที่สำคัญเหตุการณ์เพลิงไหม้ บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด นอกจากจะปล่อยมลพิษทางอากาศ ยังเกิดปัญหามลพิษทางน้ำ กระทบการเกษตร และกิจกรรมในชีวิตประจำวัน สสส. คำนึงถึงสุขภาพของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ จึงมุ่งสนับสนุนพัฒนากลไกทางสังคม ผลักดันให้เกิดสิทธิของชุมชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (Community Right-to-Know) นำไปสู่กฎหมายควบคุมการปล่อยสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดผู้เสียชีวิตด้วยโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับมลพิษที่ยั่งยืน