“Potioneer” แพลตฟอร์มที่พาเชฟมาทำอาหารให้ โดยไม่ต้องปีนบันไดกิน

“Potioneer” แพลตฟอร์มที่พาเชฟมาทำอาหารให้ โดยไม่ต้องปีนบันไดกิน

เมื่อ “Fine Dining” เกินเอื้อมไปสำหรับบางคน และ “Chef’s Table” ก็จับต้องยากไม่แพ้กัน คนหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งจึงพัฒนาแพลตฟอร์ม “Potioneer” เพื่อเป็นสะพานระหว่างคนกินและเชฟฝีมือดี ให้มาเจอกัน และเสพประสบการณ์อาหารแบบส่วนตัวที่ทุกคนกินได้

ไม่ว่าจะ Fine Dining หรือ Chef’s Table ล้วนจัดอยู่ใน “ศัพท์สูง” ของคนกินอาหารทั่วๆ ไป หรือผู้มีรายได้น้อยจนถึงปานกลาง ซึ่งการจะได้สัมผัสประสบการณ์บนโต๊ะอาหารแบบนั้นอาจไม่มีอยู่จริงเลยทั้งชีวิต ทว่าแพลตฟอร์ม Potioneer (โพชั่นเนียร์) ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่ง กำลังสร้างโอกาสให้ทุกคนมีโอกาสได้ลิ้มรสมือของเชฟเก่งๆ กับบรรยากาศสบายๆ แต่เป็นส่วนตัว โดยไม่รู้สึกว่ากินอาหารขึ้นหิ้งหรือต้องปีนบันไดขึ้นไปกิน

Potioneer เกิดจากการจับมือกันของ พิตนิตสันติ์ สันติวราคม (พล), ถาวร กมลสิทธุ์ (อาร์ม), พาพฤทธิ์ กาญจน์เกียรติกุล (แน็ก) และ ปีติภัทร คูตระกูล (แบม) ที่ต้องการขับเคลื่อนวงการอาหารในไทยสู่ระดับภูมิภาคและสากล โดยให้ความสำคัญกับฟันเฟืองชิ้นหลักคือ เชฟ

“Potioneer” แพลตฟอร์มที่พาเชฟมาทำอาหารให้ โดยไม่ต้องปีนบันไดกิน

"Potioneer" สังคมของเชฟที่ใกล้ชิดคนกิน

เนื่องจาก “เชฟ” ในประเทศไทยไม่ได้มีแค่เชฟชื่อดัง แต่ยังมีเชฟฝีมือดีอีกจำนวนมากที่อาจไม่ได้ครองพื้นที่สื่อ พวกเขาอาจอยู่ตามร้านอาหาร หรือรังสรรค์เมนูสุดพิเศษอยู่ในมุมหนึ่งของตัวเอง มีคนรู้จักจำนวนหนึ่ง ซึ่งในความไม่แมสของเชฟเหล่านี้ไม่ได้แปลว่าอาหารฝีมือพวกเขาจะด้อยกว่าเชฟดังๆ มิหนำซ้ำอาจจะอร่อย สร้างสรรค์ และน่าประทับใจไม่แพ้กันเลยทีเดียว

เพราะฉะนั้น “Potioneer” จึงเป็นการสร้างสังคมของเชฟ (Chef Community) เพื่อเป็นเวทีให้แสดงฝีมือการทำอาหาร โดยไม่จำเป็นว่าจะเป็นเชฟในร้านอาหารหรือเชฟอิสระ เชฟทุกคนมีโอกาสโชว์เสน่ห์ปลายจวักเท่าๆ กัน

“Potioneer” แพลตฟอร์มที่พาเชฟมาทำอาหารให้ โดยไม่ต้องปีนบันไดกิน

พิตนิตสันติ์ สันติวราคม เล่าว่า “เชฟ” ก็ไม่แตกต่างจากศิลปิน เพราะการทำอาหารก็เป็นหนึ่งในศิลปะ ที่ “Potioneer” เชฟจะได้มีโอกาสแสดงศิลปะการทําอาหาร ความเชี่ยวชาญ และความเป็น เอกลักษณ์ของแต่ละคน พร้อมทั้งสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างเชฟมืออาชีพและเชฟหน้าใหม่ เปิดโอกาสในการสร้างความร่วมมือใหม่ๆ เช่น Chef Collaboration ที่เหล่าเชฟจะมาผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ ฝีมือ และเอกลักษณ์ของตนเอง เพื่อบุกเบิกศิลปะการทําอาหารรูปแบบใหม่ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

รูปแบบของแพลตฟอร์มนี้ คือ ระบบการจองมื้ออาหารส่วนตัว (Private Dining Booking Platform) ที่ “เชฟ” แต่ละคนจะสร้างสรรค์คอร์สเมนูของตัวเอง เพื่อสะท้อนเอกลักษณ์และความถนัด ทำให้คอร์สต่างๆ จะแตกต่างกันและมีความโดดเด่นไม่ซ้ำกัน

รูปแบบการจองของ “Potioneer” เหมาะกับลูกค้าที่ต้องการความเป็นส่วนตัว หรือต้องการฉลองในโอกาสพิเศษ โดยได้รับประสบการณ์แปลกใหม่ คือ ไม่จำเป็นต้องหรูหราแบบ “Fine Dining” แต่ยังได้รับการดูแลอย่างดี รวมถึงคุณภาพอาหารและความคิดสร้างสรรค์ผ่านแต่ละเมนูนั้นเทียบชั้นได้สบายๆ หรือความเอาใจใส่ในวัตถุดิบและการรังสรรค์ของเชฟ ก็ไม่แพ้ “Chef’s Table” ดีๆ แต่ประการใด เพราะทุกคนจะได้ฟังที่มาที่ไปของเมนูที่อยู่ตรงหน้า รวมถึงลูกเล่นที่เชฟใส่ลงไปแบบต้องร้องว้าว

และที่จะสะดวกสบายเอามากๆ คือ เลือกสถานที่สำหรับอาหารมื้อพิเศษนี้ได้ไม่ว่าจะที่ Potioneer House Curator สุขุมวิท 24, ร้านอาหารของเชฟ, บ้านของลูกค้า หรือสถานที่ใดก็ตามที่ลูกค้าต้องการ (และเชฟสะดวก)

“Potioneer” แพลตฟอร์มที่พาเชฟมาทำอาหารให้ โดยไม่ต้องปีนบันไดกิน

พื้นที่สรรสร้างของนักสร้างสรรค์อาหาร

สำรับ นางลอยข้ามสมุทร เป็นหนึ่งในตัวอย่างของเมนูคอร์สจากเชฟชั้นเยี่ยมใน “Potioneer” ซึ่งอาหารไทยสำรับนี้รังสรรค์ขึ้นจากฝีมือ เชฟฮูโต๋ (Chef Huto) หรือ เชฏฐ์ภูชิชย์ เถกิงศักดิ์ เชฟรุ่นใหม่จากรายการ Top Chef Thailandโดดเด่นเรื่องการนำวัตถุดิบท้องถิ่นมารังสรรค์เป็นเมนูที่ได้ทั้งเรื่องรสชาติและความครีเอทีฟ

"เชฟฮูโต๋" เป็นชาวเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี โดยกำเนิด ซึ่งเกาะเกร็ดขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นถิ่นของตำรับโบราณ สูตรอาหารไทยมากมายเกิดขึ้นและสืบทอดกันในพื้นที่นี้ เขาจึงซึมซับเกี่ยวกับอาหารไทยมาตั้งแต่เด็ก ทั้งความสนใจใคร่รู้บวกกับความมุ่งมั่นตั้งใจทำให้เขาเคยมีโอกาสดูแลพระกระยาหารของราชวงศ์จิ๊กมี่แห่งภูฏานเมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศไทย

สำหรับ “นางลอยข้ามสมุทร” เป็นสำรับที่เขาภูมิใจนำเสนออย่างมาก ตั้งแต่เรื่องคอนเซปต์, วัตถุดิบ, เทคนิคการทำ ไปจนถึงเทคนิคพิเศษเพื่อนำเสนออาหารสำรับนี้ ใช้คำว่า “เปิดประสบการณ์” ได้อย่างเต็มปากเต็มคำ

“Potioneer” แพลตฟอร์มที่พาเชฟมาทำอาหารให้ โดยไม่ต้องปีนบันไดกิน

ก่อนจะถึงคิวอาหารจริงๆ เราจะได้สัมผัส “นางลอยข้ามสมุทร” แบบ Interactive เพราะเกือบทุกอย่างบนโต๊ะอาหาร เชฟฮูโต๋ ใส่กิมมิคให้เล่นสนุกๆ กัน โดยใช้แอปพลิเคชัน Artivive ส่องลงบนสิ่งต่างๆ เช่น Menu Card, ที่รองจาน หรือ ที่รองแก้ว จะมีภาพ AR เคลื่อนไหว เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับคอนเซปต์ของเมนูนี้ได้อย่างน่าสนใจ และยังเอาคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่แอปบันทึกอัตโนมัติไปโพสต์ลงโซเชียลมีเดียเก๋ๆ ได้ด้วย

มาถึงเมนูอาหารในสำรับ “นางลอยข้ามสมุทร” แม้จะชื่อไทยแท้ แต่ทุกเมนูถูกคิดใหม่อย่างสร้างสรรค์ ด้วยการนำวัตุดิบจากจังปวัดประจวบคีรีขันธ์และสมุทรสงครามมาพบกันบนแนวคิด “รักจืด รักเค็ม” เพราะทั้งสองจังหวัดเป็นพื้นที่ 3 น้ำ (น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม)

“Potioneer” แพลตฟอร์มที่พาเชฟมาทำอาหารให้ โดยไม่ต้องปีนบันไดกิน

เมนูแรกคือ จับไม้ปู ซึ่งแตกต่างจากจับไม้ (ทอดมันเสียบไม้ย่าง) ทั่วไปอย่างสิ้นเชิง เพราะเชฟฮูโต๋ใช้เนื้อปูนิ่มคลุกเคล้าเครื่องแกงเผ็ดร้อน กินกับซอสกระเทียมรสละมุนแต่ยังได้กลิ่นเอกลักษณ์ของกระเทียม ส่วนตัวจับไม้แทนที่จะใช้ไม้ไผ่ธรรมดา เชฟเลือกใช้หน่อกะลาเกาะเกร็ด ที่กินแกล้มกันได้ร่วมกับใบติ้ว

“Potioneer” แพลตฟอร์มที่พาเชฟมาทำอาหารให้ โดยไม่ต้องปีนบันไดกิน

เมนูที่สองคือ แกงคั่วลิ้นจี่เนื้อย่างกับปลาหวาน เป็นจานที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ เนื้อน่องลายตุ๋น เสิร์ฟแบบเย็นโดยทำให้เกิดเจลาตินจากธรรมชาติ กินแกล้มกับลิ้นจี่สมุทรสาครซึ่งออกมากในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

“Potioneer” แพลตฟอร์มที่พาเชฟมาทำอาหารให้ โดยไม่ต้องปีนบันไดกิน

หลังจากชิมเลเยอร์แรกของน่องลายไปแล้ว เชฟจะเอาซอสแกงคั่วมาราดเพิ่ม จนเกิดเป็นอีกหนึ่งเมนูที่แตกต่าง ด้วยความนุ่มและหวานของเนื้อตุ๋นเจอกับรสเผ็ดของซอสแกงคั่ว เป็นความลงตัวอย่างที่สุด แต่สำหรับคนที่ไม่กินเนื้อวัว แจ้งเชฟล่วงหน้าทางแอปพลิเคชัน Potioneer ตอนทำ Booking เชฟจะเปลี่ยนเป็นวัตถุดิบอื่นให้

“Potioneer” แพลตฟอร์มที่พาเชฟมาทำอาหารให้ โดยไม่ต้องปีนบันไดกิน

เมนูที่สามคือ ต้มสับปะรดหมึกแห้งมะพร้าวอ่อน หนึ่งในเมนูสร้างความประหลาดใจมาก ด้วยหน้าตาธรรมดาๆ แต่รสชาติแปลกใหม่และลิ้มรสได้สนุกเลยทีเดียว เมนูนี้เชฟใช้หัวและก้นสับปะรด มาเคี่ยวกับหมึกไข่แดดเดียวจนนุ่ม จนได้น้ำซุปที่มาจากการเคี่ยวสับปะรดพันธุ์ Siam Gold (หรือ พันธุ์หอมสุวรรณ) ที่ปลูกมากในอำเภอหัวหิน ทั้งหวานเค็มและมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์จากหมึกแดดเดียว ที่จะซดน้ำซุปอย่างเดียวก็สดชื่น หรือถ้าเคี้ยวหมึกไปพร้อมกับเนื้อสับปะรดด้วยก็เป็นอีกรสชาติที่ไม่เคยเจอมาก่อน

“Potioneer” แพลตฟอร์มที่พาเชฟมาทำอาหารให้ โดยไม่ต้องปีนบันไดกิน

เมนูที่สี่คือ ยำไตกุ้งกับปลาวง เชฟอธิบายว่า “ไตกุ้ง” จริงๆ แล้วก็คือน้ำเคย โดยชาวบ้านจะเอากุ้งมาตากแดด จนกว่าจะแห้งกลายเป็นกะปิอย่างที่เราคุ้นกัน น้ำที่ออกมาระหว่างขั้นตอนดังกล่าวนี้ชาวบ้านจะเก็บไว้ใช้ในครัวเรือนแทนน้ำปลา รสชาติจะหวานและเค็มอ่อนๆ กำลังดี เชฟเอามาเคี่ยว แล้วหมักกับส่า คือเนื้อข้าวหมาก ซึ่งใช้ในการทำกุ้งสะดุ้งของภาคกลาง กินแกล้มกับผักเคียงของอีสาน อย่างยอดกระโดน และตาลปัตรฤาษี ตักกินไปเป็นชั้นๆ มีรสหวานซ่อนเปรี้ยว ตบท้ายด้วยเค็มนิดๆ

“Potioneer” แพลตฟอร์มที่พาเชฟมาทำอาหารให้ โดยไม่ต้องปีนบันไดกิน

เมนูที่ห้าคือ ข้าวมันกะทิกับน้ำดอกดาหลา เป็นเมนูข้าวจานน้ำ ภูมิปัญญาของคนไทยนิยมกินกันมาตั้งแต่โบราณ ในช่วงรอยต่อฤดูร้อน-ฝน ซึ่งคนมักจะปรับตัวกับสภาพอากาศไม่ทันจนป่วยบ่อย เพราะเกิดอาการ Heat Stroke เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว เมนูนี้คล้ายข้าวแช่ชาววัง โดยกินกับปลาสลิด ปลาแห้ง น้ำพริก หรือเครื่องยำที่เหลือในสำรับ ใส่น้ำเย็นลงไป กินแล้วย่อยง่าย มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายเย็นลง ข้าวสวยใช้หางกะทิในการหุง จึงมีความหอม หวาน มัน กินคู่กับปลาวง ปลาหวาน กระเทียมโทนดอง ใช้ตัดแกล้มตัดเลี่ยนได้ ส่วนน้ำที่ใช้เทลงไปในข้าวจานน้ำ เชฟใช้น้ำดอกดาหลาที่สกัดเอง กลิ่นรสเป็นน้ำดอกไม้หอมชื่นใจและมีรสหวานปลายๆ

“Potioneer” แพลตฟอร์มที่พาเชฟมาทำอาหารให้ โดยไม่ต้องปีนบันไดกิน

ตบท้ายด้วยเมนูของหวานคือ ส้มฉุนน้ำข้าวหมาก เชฟอธิบายว่าเดิมที ส้มฉุนเป็นเมนูของเปรี้ยวที่คนไทยนิยมนำมาแช่อิ่มเก็บไว้ ช่วงเวลาที่ร้อนๆ กระหายน้ำ หรือเหงาปาก ก็มักจะเอามากินแทนเมี่ยง โดยเอาการบูรโรยกินกับขนมแช่อิ่ม ให้ความสดชื่นในฤดูร้อน หรือวันที่อบอ้าว ทว่าปัจจุบันการบูรกินไม่ได้แล้ว เพราะเป็นการบูรสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เชฟจึงใช้ความสดชื่นจากการแช่เย็นก่อนเสิร์ฟแทนการบูร และใช้ผลไม้แช่อิ่มตามฤดูกาล ทั้งมะม่วงสุก มะยงชิด หรือลูกพีช กินคู่กับเจลลี่ข้าวหมาก แกล้มกับเม็ดทับทิม ขิงอ่อนซอย และผิวส้มฉุน

“Potioneer” แพลตฟอร์มที่พาเชฟมาทำอาหารให้ โดยไม่ต้องปีนบันไดกิน

การเกิดขึ้นของ “Potioneer” เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างเชฟกับคนกิน ที่บางทีในบริบททางสังคมอาจไม่มีวันที่พวกเขาจะมาเจอกันหรือได้ลิ้มรสฝีมือของเชฟในดวงใจของพวกเขาเลยก็ได้ แต่วันนี้เพียงปลายนิ้ว แพลตฟอร์มบนโลกดิจิทัลกลับทำให้เกิดขึ้นจริงได้

ไม่เพียงเท่านั้น ยังสร้างสังคมของเชฟที่จะรวบรวมให้พวกเขามีที่ทางสำหรับปล่อยของ แน่นอนว่าเมื่อ Community นี้แข็งแรง การไปถึงระดับสากลได้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท โพชั่นเนียร์ (ประเทศไทย) จํากัด
อีเมล [email protected] หรือ Instagram.com/potioneerth หรือ Facebook.com/potioneer