'สูงวัย' คือสินทรัพย์ AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

'สูงวัย' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มตัว และประเด็นสำคัญที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางคือ โอกาสและการมีงานทำของผู้สูงอายุ

KEY

POINTS

  • การมองผู้สูงอายุเป็น “ทุน” และ “พลังขับเคลื่อน”ที่มีศักยภาพในการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ต้องมาจากระดับนโยบายระดับชาติ และต้องประกาศเป็นแผนดำเนินการอย่างจริงจังอย่างเป็นระบบ
  • การสอนผู้สูงอายุให้นำ AI มาใช้เป็น “สื่อที่ง่ายที่สุด” และ “เหมาะกับผู้สูงอายุที่สุด” เพราะผู้สูงอายุซึ่งเป็น “ผู้รู้จริง” ในเรื่องต่างๆ
  • สามารถสื่อสารภูมิปัญญาของตนเองออกมาได้อย่างชัดเจน เพิ่มโอกาสให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ “ภูมิรู้” (Wisdom)ของพวกเขาสร้างรายได้

สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มตัว และประเด็นสำคัญที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางคือ โอกาสและการมีงานทำของผู้สูงอายุ หลายฝ่ายมองว่า ผู้สูงอายุไม่ใช่ภาระ แต่คือ “ทุน” และ “พลังขับเคลื่อน” ที่มีศักยภาพในการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างมหาศาล หากได้รับการสนับสนุนและเครื่องมือที่เหมาะสม

ลด“อคติอายุ”ขจัดภาวะ“สงสัยในตัวเอง”

ปัจจุบันผู้สูงอายุจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มช่วงอายุ 40 ปลายๆ ถึง 60 ปีขึ้นไป มักประสบปัญหาขาดโอกาสในการทำงาน แรงงานในโรงงานบางแห่งอาจถูกบังคับให้เกษียณตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น 45 ปี หรือ 55 ปี เนื่องจากข้อจำกัดทางร่างกาย

นอกจากนี้ ทัศนคติเรื่อง “อคติทางอายุ” (Ageism) ที่มองว่าผู้สูงอายุควรพักผ่อนหลังอายุ 60 ปี ยังเป็นอุปสรรค ผู้สูงอายุเองจำนวนไม่น้อยก็เผชิญกับภาวะ “สงสัยในตัวเอง” (Self-doubt) หรือ Imposter Syndrome โดยรู้สึกว่าตนเองแก่เกินไปที่จะเรียนรู้หรือทำสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ 'วัยเก๋า' สร้างอาชีพ

'ชมรมผู้สูงอายุ' พื้นที่คลายเหงาสูงวัย หมดยุคพึ่งพิงลูกหลาน

ผู้สูงอายุคือสินทรัพย์ ภูมิรู้และซอฟต์พาวเวอร์

“รศ. ดร.กมลรัฐ อินทรทัศน์” อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการจัดการความรู้การสื่อสารและการพัฒนา (CCDKM) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) ให้สัมภาษณ์ “กรุงเทพธุรกิจ”ว่าผู้สูงอายุคือกลุ่มคนที่มี “ทุนเดิม” หรือ “สินทรัพย์” (Asset) ที่สำคัญ พวกเขาสะสม “ภูมิรู้” (Wisdom) และ “ประสบการณ์ชีวิต” (Life Experience) มาตลอดหลายสิบปี ความรู้และประสบการณ์นี้เป็นพื้นฐานของ “ซอฟต์พาวเวอร์” (Soft Power) ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ศิลปหัตถกรรม การทอผ้า การทำอาหาร หรือภูมิปัญญาต่างๆ 

นอกจากนี้ผู้สูงอายุจำนวนมากมี “วุฒิภาวะ” (Mutuality) และมีความต้องการที่จะ “มีที่ยืน” (Included) ในสังคม อยากมีส่วนร่วมและ “มีส่วนเกื้อกูล” (Contribute) ในสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้มาตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นนักเขียน นักบัญชี หรือนักแต่งเพลง หากได้รับการ Upskill & New skill ที่ถูกต้อง พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประสบการณ์และมุมมองที่สั่งสมมาช่วยให้วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

AI เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ผู้สูงอายุชุมชนมอญ

รศ.ดร.กมลรัฐ กล่าวว่า ศูนย์วิจัยการจัดการความรู้การสื่อสารกับการพัฒนา (CCDKM) และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มสธ. ทำงานวิจัยและพัฒนาเพื่อกลุ่มเฉพาะ (Specific groups) หรือกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษ เน้นการใช้สื่อใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ในการอำนวยความสะดวกให้เกิดการพัฒนา

บทบาทสำคัญคือการเชื่อมโยง (Link) และทำหน้าที่เป็น “ผู้เฝ้าประตู” (Gatekeeper) และผู้เปิดประตู หรือผู้เปิดพื้นที่ให้ทุกคน ทุกกลุ่มในสังคม รวมทั้งผู้สูงอายุเข้ามามีส่วนร่วมในทุกมิติและทุกระดับของการพัฒนา นอกจากการเปิดพื้นที่การเข้าถึงและการพัฒนาแล้ว ยังทำหน้าที่ในการเชื่อมองค์ความรู้ต่างๆระดับสากลอย่าง UN ให้สามารถเชื่อมโยงและเป็นประโยชน์กับกลุ่มเฉพาะต่างๆในสังคมไทย

เช่น การร่วมมือกับบริษัท Microsoft ในการใช้สื่อใหม่ ใช้ AI เพื่อการพัฒนา เพื่อการเชื่อมโยงการพัฒนาต่างๆให้กับผู้สูงอายุใน ชุมชนไทยเชื้อสายมอญ วัดบางหลวง อ.เมือง จังหวัดปทุมธานี ให้ได้รับการส่งเสริมทักษะดิจิทัลและ AI เพื่อยกระดับศักยภาพและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ โครงการนี้มุ่งเน้นการดึง “Soft Power” หรือภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ผู้สูงอายุมีอยู่มาผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยี AI ที่ทันสมัย 

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

โดย Microsoft ได้ให้ผู้สูงอายุใช้โปรแกรมของ Microsoft ฟรี ซึ่งรวมถึงการเข้าถึง AI พื้นฐาน (Basic AI) และมีการสนับสนุน Copilot ซึ่งเป็นการมอบ “นิว สกิล” (New Skills) โดยเฉพาะ “AI literacy” ผสมผสานกับทักษะดิจิทัลพื้นฐานเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ AI เป็น “Magic Touring” หรือเครื่องมือวิเศษในการเรียนรู้ใหม่ เพื่อการเข้าถึงโอกาสและการพัฒนาต่างๆ ให้กับตนเอง ครอบครัว และชุมชน 

 AI “สื่อที่ง่ายที่สุด”เหมาะกับผู้สูงอายุ

“เพราะผู้สูงอายุในชุมชนคือ “ผู้รู้จริง” หรือ “ปราชญ์” ในเรื่องภูมิปัญญาและประวัติศาสตร์ของตน เช่น เรื่องการทำสไบมอญ ประวัติศาสตร์มอญ หรืออาหารมอญ AI  คือ “สื่อที่ง่ายที่สุด” และ “เหมาะกับผู้สูงอายุที่สุด” เพราะช่วยให้ผู้สูงอายุซึ่งเป็น “ผู้รู้จริง” ในเรื่องต่างๆ สามารถสื่อสารภูมิปัญญาของตนเองออกมาได้อย่างชัดเจน จึงนับว่าเป็น สื่อสามารถเข้าถึงได้ดีที่สุด และเหมาะสมกับผู้สูงอายุ เพราะพวกเขามีความรู้เดิมที่มีอยู่จริงที่สามารถที่จะป้อนข้อมูลให้กับ AI ได้” 

เมื่อผู้สูงอายุ ใช้ AI เป็น AI จึงกลายเป็นเครื่องมือที่ “เข้ามือ” “เข้าถึง” และ “เข้าใจ” ได้ไม่ยากสำหรับผู้สูงอายุในการ สื่อสารเรื่องราว ภูมิรู้ ภูมิธรรม ประวัติศาสตร์ชุมชน ฯลฯ เพื่อเชิญชวนผู้คนมาท่องเที่ยวและทำความรู้จักประวัติศาสตร์อันสวยงามของชุมชนเช่น การใช้ AI ในการสร้างสรรค์เพลงประวัติศาสตร์ของชุมชน การใช้ AI ในการ สร้างสรรค์ลายผ้าสไบมอญแบบใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับยุคสมัยและกลุ่มเป้าหมายปัจจุบัน. เพื่อเพิ่มมูลค่าและความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนและเป็นการสืบสานส่งเสริมมรดกเดิมต่างๆได้อย่างลงตัวมากที่สุด (Intangible Heritage)

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้และจัดการการเงิน ช่วยสร้างความมั่นใจ ให้กับผู้สูงอายุ โดยแสดงให้เห็นว่าภูมิปัญญาดั้งเดิม (Human Intelligence - HI) ของพวกเขายังคงมีคุณค่า และพวกเขาสามารถใช้ AI เป็นเครื่องมือเสริมได้ เป็นการลดทัศนคติเชิงลบหรือ “Self doubt” เกี่ยวกับเทคโนโลยีลงไปได้อีกด้วย Microsoft ให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงโปรแกรม AI เช่น Copilot ได้ฟรี เพิ่มโอกาสให้ผู้สูงอายุสามารถใช้“ภูมิรู้” (Wisdom)ของพวกเขาสร้างรายได้” 

 AI เพิ่มที่ยืนในสังคม” สามารถ “ทำงานได้”

รศ.ดร.กมลรัฐ กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญของการทำให้ผู้สูงอายุมีงานทำ คือต้องได้รับการ Up skill ด้วยทักษะที่ถูกต้องเหล่านี้ ทำให้พวกเขามี “ที่ยืนในสังคม” และสามารถ “ทำงานได้” โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีและ AI เป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนภูมิปัญญาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งนำไปสู่การสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตได้ในที่สุด 

สิ่งที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ในปัจจุบันที่เป็นความร่วมมือระหว่างชุมชนคนกลุ่มเฉพาะกับ AI เช่น การสร้างแพลตฟอร์มเสมือนจริง (Virtual Platform) หรือเพจออนไลน์เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้สูงอายุและชุมชนได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ เล่าเรื่องราว และขายสินค้า เช่น เพจสำหรับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร หรือแพลตฟอร์มสำหรับสินค้าจากชุมชนและผู้ผลิตที่เป็นผู้สูงอายุ การใช้สื่อช่วยให้ผลงานของผู้สูงอายุ “มองเห็นได้มากขึ้น” (More visible) และเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้น

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

ก้าวข้ามการ“สงเคราะห์ สู่“สร้างงาน”ผู้สูงอายุ    

ผู้อำนวยการศูนย์CCDKM   เน้นย้ำว่า การสร้างงานและอาชีพสำหรับผู้สูงอายุต้องเป็น“งานหลัก”และต้องทำอย่างเป็นระบบในทุกภาคส่วนและทุกระดับ ตั้งแต่ภาครัฐ เอกชน ไปจนถึงชุมชน ควรมี“นโยบายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม”เปลี่ยนแนวคิดจาก“การสงเคราะห์”เป็น“การให้อำนาจ” (Empowerment)และ“การพัฒนาทักษะ” (Skill Development) โดยต้องมองว่าเศรษฐกิจต้อง“นำคู่ไปกับเทคโนโลยี” เพื่อการเท่าทัน ความปลอดภัย การเป็นอีกหนึ่งสมาชิกของสังคมนั้นๆของตนเอง (Included) พร้อมๆไปการการพัฒนาในทุกมิติอย่างเป็นองค์รวมของการพัฒนาผู้สูงอายุ คือ สังคม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ สู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีร่วมกัน

สิ่งสำคัญคือการ“เปิดพื้นที่” (Open Space)ให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงทั้งพื้นที่ดิจิทัล (Digital Space)และพื้นที่ AI (AI Space)รวมถึงพื้นที่ปลอดภัย (Safety Space)และพื้นที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ (Stock Big Space)และต้องให้ความรู้ (Literate) พวกเขา

การทำงานต้องเน้นการ“ร่วมมือ” (Collaboration) “ลงขัน” (Contribution) และการเป็นหุ้นส่วน (Partnership) ในการสร้างสรรค์งานหรือกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เริ่มตั้งแต่ระดับนโยบายสู่การปฏิบัติการจริงในคนทุกกลุ่มในสังคมไทย คือภาครัฐ เอกชน วิชาการ และชุมชน สื่อมวลชนก็มีบทบาทสำคัญในการนำเสนอเรื่องราวและ“แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ” (Best Practices) ต่างๆ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้หน่วยงานต่างๆ ขยับตัว  สถาบันการศึกษาสามารถออกแบบหลักสูตรที่เน้น “การเรียนรู้จากการลงมือทำในชุมชน” (Community-based, Project-based) ที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้หรือผลงาน ซึ่งอาจแปลงเป็นหน่วยกิตได้ในระบบคลังหน่วยกิต

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี..แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ

 ขณะนี้มีภาคเอกชนบางแห่งก็เริ่มมีวิสัยทัศน์ในการดูแลและใช้ศักยภาพของแรงงานผู้สูงอายุ เช่น นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี ที่มีการสำรวจและจัดหางานที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในนิคม ไม่ว่าจะเป็นช่างซ่อม พนักงานขับรถ หรือคนดูแลสวน นี่เป็นตัวอย่างของ “แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ” (Best Practice) ในภาคเอกชนและ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บางแห่งก็ริเริ่มโครงการของตนเอง เช่น เทศบาลบึงยี่โถ ที่ทดลองจัดทำที่พัก (Housing) สำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ที่รับผิดชอบ 

การมองผู้สูงอายุเป็น “ทุน” และ “พลังขับเคลื่อน”ที่มีศักยภาพในการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ต้องมาจากระดับนโยบายระดับชาติ และต้องประกาศเป็นแผนดำเนินการอย่างจริงจังอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพของประชากรสูงวัยเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ปล่อยให้พวกเขากลายเป็นเพียง “ผู้รอรับการสงเคราะห์”เท่านั้น

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

หลักสูตร Smart Silver Economy

หลักสูตรการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุในยุคใหม่ เริ่มที่การสนับสนุนจากสำนัก 9 สสส. MOU กับมสธ. CCDKM และอีกหลายภาคส่วนในการใช้สื่อใหม่ในการสร้างความรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพที่เข้า Trend ทัน Trend ให้กับผู้สูงอายุ ผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ (Pre-Aging) ที่ร่วมกับสถานีทีวีสาธารณะ Thai PBS ในการพัฒนาหลักสูตร Smart Pre-Ageing ให้กับสังคมไทย เช่น หลักสูตร Digital Literacy, Financial Literacy และอื่นๆ

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

หลักสูตร Caregiver 

ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการสร้างงานและทักษะใหม่ให้กับผู้สูงอายุคือหลักสูตร Caregiver 420 ชั่วโมงที่ มสธ.พัฒนาร่วมกับคณะพยาบาลและวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย หลักสูตรนี้ใช้ระบบการเรียนรู้ทางไกลและออนไลน์ที่เป็นจุดแข็งของ มสธ. แบ่งเป็นทฤษฎีออนไลน์ 200 ชั่วโมง และปฏิบัติ 220 ชั่วโมง (ใน รพ.สต. และชุมชน)

หลักสูตรนี้สร้าง“กำลังคน” (Human Resources)ด้าน Caregiver ซึ่งเป็นที่ต้องการในสังคมสูงวัย และช่วยสร้างโอกาสการทำงานให้กับผู้สูงอายุที่ไม่มีงานทำ โดยผู้เรียนมีอายุเฉลี่ยประมาณ 50 ปีขึ้นไป หลักสูตรนี้ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล และเคยนำร่องสำเร็จกับกระทรวง พม. และมหาวิทยาลัยราชภัฏในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย เป็นต้น

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้

\'สูงวัย\' คือสินทรัพย์  AI สร้างโอกาส-สร้างงาน-สร้างรายได้