เช็กให้ชัวร์ก่อนทำ!! รู้จัก เผายา' แพทย์แผนไทย สูตรโบราณ ปรับสมดุลธาตุลม

เช็กให้ชัวร์ก่อนทำ!! รู้จัก เผายา' แพทย์แผนไทย สูตรโบราณ ปรับสมดุลธาตุลม

จากกรณีคลินิกชื่อดัง และแพทย์ ไม่รับผิดชอบ นักแสดงหนุ่ม และเน็ตไอดอลแฟนสาวที่ไปเข้าใช้บริการคลินิก รักษาโรคด้วยการ' ‘เผายาหน้าท้อง’ แพทย์ใช้เแอลกอฮอล์ 95% จุด เกิดผิดพลาดไฟลุกท่วมไปทั้งตัว

Keypoint:

  • 'การเผายา หรือการเผายาหน้าท้อง' เป็นหัตถการศาสตร์การแพทย์แผนไทยที่นิยมในการรักษาโรคทางเดินอาหาร อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย โดยการกดจุด ร่วมกับการเผายาหน้าท้อง
  • การให้ความร้อนโดยตรงจะมีผลกระทบต่อการทำงานของธาตุในร่างกายอย่างมาก ดังนั้น ก่อนการรักษาโรค ต้องมีการตรวจประเมินร่างกายของผู้ป่วยทุกครั้ง และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
  • ผู้ที่เหมาะกับการรักษาด้วยการเผายา  ต้องเป็นผู้ที่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ภูมิแพ้อากาศ หรือปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากการอั้นของลม ผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต เป็นต้น

หัตถการ"เผายา" เป็นการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ที่ใช้หลักการเพิ่มธาตุไฟเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยให้ความร้อนผ่านเครื่องยาสมุนไพรในบริเวณที่ต้องการรักษาโรค เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะธาตุไฟหย่อน ช่วยกระจายลม ลดภาวะบวมน้ำ และช่วยปรับให้ธาตุในร่ายกายกลับมาอยู่ในภาวะสมดุล

หลาย ๆ คนอาจไม่ทราบว่าแพทย์แผนไทยในปัจจุบันนั้นสามารถทำการรักษาโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งในบางโรคนั้นหมอแพทย์แผนไทยสามารถทำการรักษาได้ดีไม่แตกต่างกับแพทย์แผนปัจจุบันเลยทีเดียว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

'วัยเก๋า' ดูแลเข่าด้วยศาสตร์ 'แพทย์แผนไทย'

'ออฟฟิศซินโดรม' โรคประจำคนวัยทำงาน แก้ได้ด้วยศาสตร์สมุนไพร

 

การเผายา ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น

การเผายา เป็นการเพิ่มไฟธาตุ กระจายลม ลดภาวะบวมน้ำ ด้วยการใช้ความร้อนจากไฟและสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ขมิ้น, ผิวมะกรูด, ตะไคร้, หัวไพล, เหง้าข่า, เหง้ากระทือ และ เกลือ ซึ่งเป็นการเพิ่มความร้อนจากภายนอก นิยมใช้ในกลุ่มโรคที่มีอาการของลมเยอะเป็นหลัก เนื่องจากความร้อนจะทำให้ลมเกิดการเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น ลักษณะความร้อนที่ได้จากการเผายาจะเป็นลักษณะความร้อนที่แผ่กระจายออกไม่รุนแรงแต่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น 

อย่างไรก็ตาม การให้ความร้อนโดยตรงจะมีผลกระทบต่อการทำงานของธาตุในร่างกายอย่างมาก ดังนั้นก่อนการรักษาโรคทางเดินอาหาร จะต้องมีการตรวจประเมินร่างกายของผู้ป่วยทุกครั้ง หากผู้ป่วยมีแผลผ่าตัดหรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มะเร็งในลำไส้ มีกำเดากำเริบ จะไม่เผายาให้เด็ดขาด และต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น รักษาโรคทางเดินอาหาร

หากใครที่มีอาการดังกล่าวและต้องการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยแทนการแพทย์แผนปัจจุบัน ส่วนใหญ่แพทย์จะทำการรักษาด้วยวิธีการหัตถการ รวมถึงใช้ศาสตร์แห่งสมุนไพรเพื่อทำการรักษา

โดยแพทย์เจ้าของไข้จำเป็นต้องมีการประเมิน วินิจฉัยโรค เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากอาการดังกล่าว โดยเราจะพาทุกคนไปดูวิธีการรักษาโรคทางเดินอาหาร ด้วยแพทย์แผนไทย เพื่อให้ทุกคนเข้าใจศาสตร์แห่งแพทย์แผนไทยอย่างลึกซึ้ง

 

เผายา เหมาะกับใคร  

การเผายา เป็นเวชปฏิบัติแผนไทย ที่ใช้หลักการเพิ่มธาตุไฟเฉพาะส่วน โดยใช้ความร้อนของไฟผ่านเครื่องยาสมุนไพรสดที่มีรสร้อนเข้าไป ใช้รักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะธาตุไฟหย่อน

ผู้ที่มีอาการเหมาะกับการเผายา 

  • ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย (จากไฟย่อยหย่อน)
  • ภูมิแพ้อากาศ (น้ำมากจนไฟหย่อน)
  • อาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากการอั้นของลม (เช่น สะบัก หลัง เข่า)
  • ผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต (มีภาวะไฟหย่อน เนื้อตัวเย็น กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก ไม่มีเรี่ยวแรง)
  • อาการหนาวใน อาการอ่อนเพลียจากปิตตะหย่อน

ประโยชน์ของการรักษาด้วยการเผายา

รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ท้องอืด ท้องเฟ้อด้วยการรักษาแบบเผายา เป็นแบบฉบับแพทย์แผนไทยดั้งเดิม ที่ใช้ความร้อนผ่านเครื่องยาสมุนไพร ที่มีน้ำมันหอมระหย ช่วยบรรเทาอาการปวด และช่วยกระจายลมที่คั่งค้างตามร่างกายได้อยากดี อีกทั้งช่วยเรื่องเลือดลมในร่างกายให้ไหลเวียนสะดวกอีกด้วย

การเผายา ช่วยกระจายลม ลดภาวะบวมน้ำ ด้วยความร้อนจากไฟ และสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน ซึ่งเป็นการเพิ่มความร้อนจากภายนอก จะทำให้ลมเกิดการเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น วิธีนี้เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ช่วยอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ได้อย่างดีเช่นเดียวกัน

ประโยชน์ของการรักษามีดังนี้

  • บรรเทาอาการเบื่ออาหาร
  • บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • บรรเทาอาการผิดปกติกับการถ่ายอุจจาระ
  • ลดภาวะบวมน้ำ
  • ช่วยเรื่องเลือดลม และการกระจายตัวของเลือด
  • บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ
  • ช่วยให้สบายท้องหลังเข้ารับการรักษา

กลุ่มโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

สำหรับกลุ่มโรคทางเดินอาหาร เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารประกอบไปด้วย ผู้ป่วยที่อาการที่หลากหลายด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน รวมถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายอุจจาระ นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการปวดท้อง และมีลมในท้องก็จัดอยู่ในโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเช่นกัน อีกทั้งยังมีโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ท้องผูก ริดสีดวงทวาร โรคทางเดินอาหาร เป็นต้น รักษาโรคทางเดินอาหาร

หากผู้ป่วยท่านใดที่พบว่ามีลักษณะอาการที่คล้ายคลึงกับที่กล่าวไปในข้างต้น สามารถเข้ามาเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป โดยในเริ่มต้นแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และวินิจฉัยเพื่อเลือกวิธ สุนท้ายคือประเมินผลการรักษาว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหลังจากทำการรักษาเรียบร้อยแล้วหรือไม่ หากผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับแพทย์ก็ยุติการรักษาโรคทางเดินอาหารทันที 

วิธีการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

หลังจากที่แพทย์ซักประวัติ ตรวจร่างกาย แพทย์ก็จะทำการวินิจฉัยอาการของโรคเพื่อเลือกวิธี โดยแพทย์แผนไทยจะใช้วิธีการ ดังต่อไปนี้ รักษาโรคทางเดินอาหาร

1.การใช้สมุนไพร

โดยแพทย์สามารถใช้ยาสมุนไพรทั้งสมุนไพรเดี่ยว หรือใช้สมุนไพรตามตำรับยาบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ยาสมุนไพรในงานสาธารณะสุขมูลฐาน รวมทั้งตำรับยาสมุนไพรในโรงพยาบาลเพื่อผู้ป่วย รวมทั้งแพทย์แผนไทยสามารถใช้ยาอื่น ๆ เพื่อฟื้นฟูโรคตามที่เห็นสมควร

2.หัตถเวชกรรมแผนไทย

คือ การที่แพทย์แผนไทยใช้การนวดเส้นพื้นฐาน หรือการกดจุดนวดเพื่อฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

3. การประคบสมุนไพร

คือ การที่แพทย์นำลูกประคบสมุนไพรมาประคบ กด คลึงบนร่างกายเพื่อช่วยบรรเทาและฟื้นฟูอาการ

4. การให้คำแนะนำ

เป็นการให้คำแนะนำด้านการปฏิบัติตนที่รักษาอาการตามแนวทางของแพทย์แผนไทย โดยจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดที่ถูกต้อง บรรเทาโรค ฟื้นฟูร่างกายให้หายขาดจากโรคที่เป็นอยู่ โรคทางเดินอาหาร

สมุนไพรที่ช่วย รักษาโรคทางเดินอาหาร

มาถึงการรักษาโรคทางเดินอาหารด้วยสมุนไพรไทย โดยเราจะแบ่งตามกลุ่มอาการเพื่อให้ทุกคนเข้าใจการด้วยรักษาโรคทางเดินอาหารด้วยสมุนไพรไทยมากขึ้น

1.อาการเบื่ออาหาร โรคทางเดินอาหาร

คืออาการของผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกอยากกินอาหาร รู้สึกไม่เจริญอาหาร รวมถึงไปถึงการปฏิเสธอาหารที่เคยชอบ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมไปถึงการใช้ยาก็ทำให้เบื่ออาหารได้ง่ายเช่นกัน โดยมีสมุนไพรหลายชนิดที่ช่วยลดอาการเบื่ออาหาร พร้อมทำให้ทุกคนเจริญอาหารมากขึ้น ประกอบด้วย

  • พริกหวาน: ช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยแก้อาหารเบื่ออาหารได้
  • มะระ: มีฤทธิเย็น ช่วยขับพิษร้อน อีกทั้งยังเป็นยาช่วยในการเจริญอาหาร พร้อมกระตุ้นอาการอยากอาหาร และทำให้น้ำย่อยทำงานได้ดีมากขึ้น
  • สะเดา: เป็นสมุนไพรไทยที่ช่วยขับน้ำย่อย สามารถย่อยอาหารประเภทไขมันได้ดี แก้อาการเบื่ออาหารได้อย่างเห็นผล
  • กะเพรา: สรรพคุณของกะเพราช่วยแก้ปวดท้อง จุกเสียด ขับลม และทำให้อยากรับประทานอาหารมากขึ้น

2.ถ่ายอุจจาระ

โดยผู้ป่วยที่มีอาการท้องเดิน ท้องเสีย บิด ถ่ายเป็นเลือด หรือถ่ายดำ รวมถึงมีอาการการของอุจจาระธาติพิการ สามารถใช้การรักษาด้วยยาสมุนไพร รวมถึงเข้ากับการแนะนำโดยแพทย์แผนไทยถึงการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสมุนไพรที่ใช้เกี่ยวกับการรักษาอาการถ่ายอุจจาระ ประกอบด้วย บื่ออาหาร พร้อมทำให้ทุกคนเจริญอาหารมากขึ้น ประกอบด้วย

  • ฝ้าทะลายโจร: สามารถเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายช่วยแก้อาการท้องเสีย และโรคอุจจาระร่วงได้
  • กล้วยน้ำว้า: โดยกล้วยน้ำว้าที่สุก สามารถใช้เป็นยาระบายแก้อาการท้องผูกได้ เพราะมีสารเพคตินจึงช่วยเพิ่มกากใยในลำไส้จึงทำให้ถ่ายอุจจาระได้คล่องขึ้น
  • ทับทิม: เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรตำรับยาที่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคอุจจาระร่วง มีฤทธิ์ลดความถี่ของการถ่ายอุจจาระ ยับยั้งการหลั่งสารของลำไส้ที่ทำให้อุจจาระมากขึ้น
  • กานพลู: ช่วยแก้อาการท้องผูก ท้องอืดโดยใช้ดอกกานพลูสด 2 ดอก และขิงสด 5 กรัมทุบรวมกันแล้วนำมาต้มแล้วดื่มจะช่วยรักษาอาการดังกล่าวได้

3.ปวดท้อง และมีลมในท้อง

โดยอาการของโรคจะประกอบไปด้วย ปวดท้องน้อย จุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด รวมถึงมีลมในกระเพาะเป็นจำนวนมาก โดยแพทย์สามารถรักษาด้วยสมุนไพรไทย ซึ่งประกอบไปด้วย

  • ขมิ้นชัน: เมื่อมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง สามารถนำแง่งสมุนไพรมาล้าง จากนั้นหั่นบาง ๆ และนำไปตากแดดจากนั้นบดละเอียดเพื่อใส่ไว้ในแคปซูลพร้อมช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขับลม
  • ขิง: สำหรับขิงนั้นมีสรรพคุณช่วยในการขับลม ท้องอืด จุกเสียดแน่น พร้อมช่วยให้สบายท้อง รักษาโรคทางเดินอาหาร
  • สะระแหน่: สำหรับสะระแหน่ ต้นสด ๆ นั้นสามารถกินเพื่อใช้เป็นยาขับลมได้ สามารถแก้อาการปวดท้อง จุกเสียดได้อย่างเห็นผล

4.กระเพาะอาหารอักเสบ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินอาหารนี้ จะมีอาการปวดท้อง รู้สึกไม่สบายช่องท้องส่วนบน ท้องเฟ้อ เรอบ่อย โดยสมุนไพรไทยที่สามารถรักษาอาการนี้ได้ประกอบด้วย

  • ผงขมิ้น: สำหรับสมุนไพรชนิดนี้สามารถต้านเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงช่วยขับลม และลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ว่านหางจระเข้: สำหรับว่านหางจระเข้จะสามารถสมานแผลได้แล้วยังสามารถลดการอักเสบของกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
  • กล้วยน้ำว้า: เจ้าผลไม้สีเหลืองนี้ มีฤทธิ์รักษาโรคกระเพาะช่วยให้กระเพาะแข็งแรงขึ้น โรคทางเดินอาหาร

5.ริดสีดวงทหาร

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงทวารนั้นทรมานมาก เพราะนอกจากมีเลือดไหลแล้ว ยังมีอาการเจ็บปวดในขณะขยับหรือเปลี่ยนท่า โดยริดสีดวงทวารก็สามารถรักษาด้วยสมุนไพรได้เช่นกัน ซึ่งมีดังต่อไปนี้ โรคทางเดินอาหาร

  • เพชรสังฆาต: สมุนไพรอันดับ 1 ในการรักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยอาการอักเสบและทำให้หลอดเลือดดำที่บวมยุบตัวลงได้
  • ว่านหางจระเข้: เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์เย็น ช่วยลดอาการปวด และอาการบวมจากริดสีดวงทวารได้
  • ขมิ้นชัน: หาซื้อได้ง่าย ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำดับถัดไป
  • มะขามป้อม: นอกจากช่วยเรื่องแก้ไอแล้ว มะขามป้อมยังมีรสขมเย็นทำให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น พร้อมป้องกันท้องผูก โรคทางเดินอาหาร

6.คลื่นไส้อาเจียน

อาการของผู้ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน คืออาการอึดอัดจากในท้อง ช่วยทำให้รู้สึกอย่างอาเจียน ซึ่งอาการต้องระมัดระวัง โดยสมุนไพรที่ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ดังนี้

  • กะเพรา: แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการท้องอืดเฟ้อ แน่จุกเสียดและปวดท้อง โรคทางเดินอาหาร
  • ขิง: เป็นสมุนไพรอีกหนึ่งช่วยที่ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างเห็นผล
  • ยอบ้าน: เพียงแค่ใช้ผลดิบหรือห่าม(ยังไม่สุก) ต้มหรือชงดื่มครั้งละมาก ๆ จะช่วยแก้อาการอาเจียน และคลื่นไส้ด้วย สาร Asperuloside ซึ่งออกฤทธิ์ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • ว่านกาบหอย: สามารถแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด แก้กรดไหลย้อน ช่วยให้อาการคลื่นไส้อาเจียนลดลงอย่างเห็นได้ชัด รักษาโรคทางเดินอาหาร

อ้างอิง: อภัยเวลเนส คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ , สถาบันการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร