โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ XBB , XBB.1.16 สำคัญมาก ข้อเท็จจริงที่ต้องรู้ เช็กเลย

โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ XBB , XBB.1.16 สำคัญมาก ข้อเท็จจริงที่ต้องรู้ เช็กเลย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยข้อมูลเท็จจริงประเด็น "โควิดสายพันธุ์ใหม่" ตามที่มีข้อมูลปรากฏเกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ XBB และโควิด XBB.1.16

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยข้อมูลเท็จจริงประเด็น "โควิดสายพันธุ์ใหม่" ตามที่มีข้อมูลปรากฏเกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ XBB และโควิด XBB.1.16

สำหรับประเด็นที่มีข้อมูลปรากฏระบุว่า "โควิดสายพันธุ์ XBB ตรวจพบยาก เป็นพิษมากกว่าเดลตา 5 เท่า และมีอัตราการตายที่สูงกว่า" และ "โควิดโอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 สมรรถนะการแพร่สูง และดื้อต่อภูมิคุ้มกันที่สุด" เรื่องนี้เป็นข้อมูลเท็จ และมีการเผยข้อเท็จจริงจากทาง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

 

โควิดสายพันธุ์ XBB ตรวจพบยาก เป็นพิษมากกว่าเดลตา 5 เท่า และมีอัตราการตายที่สูงกว่า?

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงว่า ปัจจุบันสายพันธุ์โอมิครอน BN.1 และลูกหลานซึ่งมีความได้เปรียบในการแพร่กระจาย และสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่กระจายอยู่ในประเทศไทยแต่มีแนวโน้มลดลง ในขณะเดียวกัน

สถานการณ์สายพันธุ์ลูกผสม XBB.1.5 XBB.1.16 และ XBB* รวมถึงลูกหลาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและน่าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในอนาคต ผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อก่อโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ด้วยการตรวจหาสารพันธุกรรมแบบทั้งตัวในช่วงเดือนมีนาคม 2566 พบว่าสัดส่วนสายพันธุ์ BA.2.75* และลูกหลานมีแนวโน้มลดลงจากเดิมที่พบสัดส่วน 73.02% ในสัปดาห์แรกของเดือน ลดลงเหลือ 40.00% ในสัปดาห์สุดท้าย ขณะที่สายพันธุ์ XBB* มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 12.70% ในสัปดาห์แรกของเดือน เป็น 20.00% ในสัปดาห์สุดท้าย ส่วนสายพันธุ์ XBB.1.16 ที่องค์การอนามัยโลกประกาศเป็นสายพันธุ์ที่กำลังติดตาม ซึ่งพบมากในอินเดียและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศอินเดียนั้น เป็นสายพันธุ์ลูกผสมของ BA.2.10.1 และ BA.2.75 พบรายงานครั้งแรกจากประเทศอินเดีย

มีตำแหน่งกลายพันธุ์ K478R ซึ่งสัมพันธ์กับความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันของไวรัส ทั้งจากการติดเชื้อตามธรรมชาติและจากการกระตุ้นด้วยวัคซีน และมีความได้เปรียบในการเติบโตสูงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ที่มีการหมุนเวียนอยู่ ณ ปัจจุบัน รวมถึง XBB.1.5 อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานแสดงว่า XBB.1.16 ส่งผลต่อความรุนแรงของโรค และวิธีการตรวจหาเชื้อที่ใช้ในปัจจุบันยังตรวจจับเชื้อได้อยู่

อย่างไรก็ตาม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับเครือข่าย ยังคงเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อ SARS-CoV-2 อย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID อย่างสม่ำเสมอ

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ปัจจุบันสายพันธุ์โอมิครอน BN.1 และลูกหลานซึ่งมีความได้เปรียบในการแพร่กระจาย และสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่กระจายอยู่ในประเทศไทยแต่มีแนวโน้มลดลง ในขณะเดียวกัน ยังไม่มีหลักฐานแสดงว่า XBB.1.16 ส่งผลต่อความรุนแรงของโรค และวิธีการตรวจหาเชื้อที่ใช้ในปัจจุบันยังตรวจจับเชื้อได้อยู่ 

 

โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ XBB , XBB.1.16 สำคัญมาก ข้อเท็จจริงที่ต้องรู้ เช็กเลย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

โควิดโอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 สมรรถนะการแพร่สูง และดื้อต่อภูมิคุ้มกันที่สุด?

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ขอชี้แจงว่า ขณะนี้ยังเฝ้าระวังสายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในประเทศไทยในตอนนี้ยังอยู่ในตระกูลโอมิครอน โดยสายพันธุ์หลักเป็นสายพันธุ์ลูกผสม XBB และพบ XBB.1.5 และ XBB.1.9.1 มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนสายพันธุ์ XBB.1.16 พบมากขึ้นเรื่อยๆเหมือนกันทั่วโลก โดยพบว่าในประเทศอินเดีย มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเชื่อว่า XBB.1.16 มีแนวโน้มแทนที่สายพันธุ์อื่นๆทั้งหมดในที่สุด

หรือกลายมาเป็นสายพันธุ์หลักที่จะระบาดในช่วงต่อไป แต่ยังไม่พบว่ามีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนอื่น ๆ และยังไม่พบว่ามีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้มากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์อื่นๆที่พบในช่วงเวลานี้เช่นกัน

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : สายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในประเทศไทยในตอนนี้ยังอยู่ในตระกูลโอมิครอน โดยสายพันธุ์หลักเป็นสายพันธุ์ลูกผสม XBB และพบ XBB.1.5 และ XBB.1.9.1 มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนสายพันธุ์ XBB.1.16 พบมากขึ้นเรื่อยๆเหมือนกันทั่วโลก แต่ยังไม่พบว่ามีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนอื่นๆ หรือมีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้มากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์อื่นๆ

 

โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ XBB , XBB.1.16 สำคัญมาก ข้อเท็จจริงที่ต้องรู้ เช็กเลย

 

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือโทร. 02-951-0000