หลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพฤกษ์ เสี่ยงแค่ไหน คัดกรองก่อนป่วย-เสียชีวิต

หลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพฤกษ์ เสี่ยงแค่ไหน คัดกรองก่อนป่วย-เสียชีวิต

คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อ NCDs ราวปีละ 4 แสนราย ปัจจุบันสามารถตรวจหาคราบหินปูน 'หลอดเลือดหัวใจ' และตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยกลุ่ม 'โรคหลอดเลือดสมอง' ได้ในอนาคตได้

Key point :

  • การเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 3 ใน 4 เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ ต่ำและปานกลาง ปี 2562 ประเทศไทย มีผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดจำนวน 350,922 ราย (อัตราผู้ป่วย 535 ต่อประชากรแสนคน) เสียชีวิตจำนวน 20,556 ราย (อัตราผู้ป่วย 31 ต่อประชากรแสนคน)
  • คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ราวปีละ 4 แสนราย หรือวันละไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย คิดเป็น 3 ใน 4 ของการเสียชีวิตของทั้งหมดของประเทศ และครึ่งหนึ่งเป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร กลุ่มโรค NCDs ถือเป็นภัยเงียบที่ร้ายแรงกว่า โควิด-19 หลายเท่า
  • ผู้ที่มีอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือด สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองโรค เพื่อทำการรักษาได้ทันท่วงทีและอัตราการเสียชีวิตไ่้ด้ และปัจจุบันมีเครื่อง Biplane DSA ถ่ายภาพหลอดเลือดได้สองระนาบในเวลาเดียวกันเห็นภาพเป็น 3 มิติ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและร่วมรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง โดยไม่ต้องผ่าตัด

 

ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มโรคไม่ติดต่อ(Non-Communicable diseases)NCDs เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย จากรายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ปี 2562 โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรค NCDs ราวปีละ 4 แสนราย หรือวันละไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย คิดเป็น 3 ใน 4 ของการเสียชีวิต ของทั้งหมดของประเทศ และครึ่งหนึ่งเป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร กลุ่มโรค NCDs ถือเป็นภัยเงียบที่ร้ายแรงกว่า โควิด-19 หลายเท่า

 

หลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพฤกษ์ เสี่ยงแค่ไหน คัดกรองก่อนป่วย-เสียชีวิต

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตทั่วโลก โดยคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 17.9 ล้านคนในแต่ละปี ในปี 2562 คิดเป็น 32% ของการเสียชีวิตทั่วโลก การเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าสามในสี่เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ ต่ำและปานกลาง ปี 2562 ประเทศไทย มีผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดจำนวน 350,922 ราย (อัตราผู้ป่วย 535 ต่อประชากรแสนคน) เสียชีวิตจำนวน 20,556 ราย (อัตราผู้ป่วย 31 ต่อประชากรแสนคน)

 

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก ได้ทำนายไว้ว่าในปี 2573 ประชากรโลกจำนวน 23 ล้านคนจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจโดยร้อยละ 85 อยู่ใน ประเทศกำลังพัฒนา 17.5 ล้านคนของประชากรทั้งโลกในปี 2005 เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ซึ่ง 80% อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาและเป็นประชากรกลุ่มวัยแรงงาน

 

ประชากรโลกเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจถึง 17 ล้านคน หรือ คิดเป็น 48% ของการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อทั้งหมด รองลงมา คือ โรคมะเร็ง 21% โรคถุงลมโป่งพอง รวมโรคปอดเรื้อรังและหอบหืด 12% (4.2 ล้านคน) และ โรคเบาหวาน 4% (1.3 ล้านคน) ดังนั้นการคัดกรองในเบื้องต้นในกลุ่มเสี่ยงจะช่วยทำให้สามารถลดอัตราการป่วยและการเสียชีวิตและงบประมาณในการรักษาได้

 

มีความเสี่ยงและอาการอย่างไรต้องตรวจคัดกรอง

 

พญ.พัชรี ภาวศุทธิกุล อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ โรงพยาบาลนครธน กล่าวว่าผู้ที่มีอาจมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย บางรายอาจร้าวขึ้นไปตามคอ อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อออกแรงแต่เมื่อนั่งพักจะดีขึ้น ในรายที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบมากจนตัน จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างรุนแรงจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น หากนำส่งโรงพยาบาลไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้

 

หลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพฤกษ์ เสี่ยงแค่ไหน คัดกรองก่อนป่วย-เสียชีวิต

 

 

ปัจจุบันจะมีวิธีตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จะทำการตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เพื่อคำนวณหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดง เพื่อใช้บ่งบอกแนวโน้มถึงโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินสถานการณ์และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจได้ในอนาคต

 

ส่วน โรคหลอดเลือดสมอง นพ.ชาญวิทย์ อนุเคราะห์วิทยา อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคหลอดเลือดสมอง อธิบายว่า เกิดจากหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงสมองเกิดการอุดตันหรือแตก ทำให้เกิดอาการแขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีกของร่างกาย บางรายอาจเดินเซ พูดไม่ชัด เวียนศีรษะ เห็นภาพซ้อนหรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง หากมีอาการดังกล่าว ควรจะเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาที่รวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ สูบบุหรี่ และไขมันในเลือดสูง  

 

ดังนั้น ผู้ที่มีอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง จะทำโดยการตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Carotid Duplex Ultrasounds) ที่ไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าและตรวจหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนหลัง ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจดูการไหลเวียนเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมอง ถ้าพบความผิดปกติของผนังหลอดเลือดจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก และอาจทำให้เส้นเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมองเกิดการตีบหรือตันได้

 

หลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพฤกษ์ เสี่ยงแค่ไหน คัดกรองก่อนป่วย-เสียชีวิต

 

ทั้งนี้ ผู้ที่ป่วยเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน  ที่มีอาการ อึดอัด หายใจไม่สะดวก แน่นเหมือนมีอะไรมาบีบรัดหรือกดทับที่หน้าอก คลื่นไส้ ใจสั่น เหงื่อแตก  โรคหลอดเลือดสมอง อาการ แขนขาอ่อนแรง ชาที่ปลายมือปลายเท้า ปากเบี้ยว พูดลำบาก  โรคเบาหวาน  อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เป็นแผลแล้วหายยาก  โรคถุงลมโป่งพอง  อาการ ไอเรื้อรัง แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี้ด หลอดลมอักเสบบ่อย  โรคอ้วนลงพุง  ผู้ชายมีรอบเอวเกิน 90 ซม.และผู้หญิงรอบเอวเกิน 80 ซม. เหนื่อยง่าย ข้อเข่ารับน้ำหนักไม่ไหว

 

และ โรคความดันโลหิตสูง อาการ หลังตื่นนอนจะมึนงง ตาพร่า ปวดศีรษะเฉียบพลันบ่อย เหนื่อยง่าย ใจสั่น จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันและ โรคหลอดเลือดสมองได้ จึงสมควรที่จะไปตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันก่อนเจ็บป่วย

   

Biplane Digital Subtraction Angiography รักษาโรคหลอดเลือดไม่ต้องผ่าตัด

   

ทั้งนี้ โรงพยาบาลนครธน มีนวัตกรรมเครื่อง Biplane DSA ซึ่งคือเครื่องเอกซเรย์สำหรับตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดชนิดสองระนาบ (Biplane Digital Subtraction Angiography) มีหลักการทำงานคล้ายเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่สามารถถ่ายภาพหลอดเลือดได้สองระนาบในเวลาเดียวกัน คือ ด้านหน้า และด้านข้าง ภาพที่ได้ออกมาจึงมีความคมชัด ช่วยให้แพทย์มองเห็นสายสวนหลอดเลือดที่ขนาดเล็กมากได้อย่างชัดเจน เปรียบเสมือนเห็นภาพเป็น 3 มิติ ทำให้การรักษา มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น    

 

สำหรับนวัตกรรมดังกล่าว จะใช้ในการรักษาหลอดเลือดสมองโดยไม่ต้องผ่าตัด (Clot Retrieval) ด้วยการใส่สายสวนลากลิ่มเลือด เข้าทางหลอดเลือดแดงใหญ่พร้อมขดลวดที่ขาหนีบไปจนถึงจุดที่เกิดการอุดตัน แล้วดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมองเพื่อเปิดรูของหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองส่วนที่ขาดเลือดได้อีกครั้ง ทำให้สมองได้มีโอกาสฟื้นตัว กลับมาทำงานได้ดีขึ้น

 

รวมทั้ง โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะโรคลิ้นหัวใจเอออร์ ติกตีบ ซึ่งการรักษาลิ้นหัวใจตีบโดยไม่ต้องผ่าตัด หรือ TAVI (Transcatheter Aortic Valve Implantation) เป็นการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจเดิมที่เสื่อมสภาพหรือใช้การไม่ได้ ด้วยการใช้สายสวนผ่านหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ แล้วใช้ลิ้นหัวใจแบบเนื้อเยื่อยึดติดกับขดลวดพิเศษ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ลดความเสี่ยงอันเกิดจากการผ่าตัด ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้รวดเร็ว

 

หลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพฤกษ์ เสี่ยงแค่ไหน คัดกรองก่อนป่วย-เสียชีวิต

 

คัดกรองหลอดเหลือดสมอง -หัวใจฟรี 100 คน     

 

นพ.วิโรจน์ ตระการวิจิตร ผู้อำนวยการสายงานแพทย์ กล่าวว่า เปิดเผยว่า โรงพยาบาลนครธนมีแคมเปญ “สมองปลอดภัย หัวใจแข็งแรง” ให้บริการตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ เพื่อให้ประชาชนได้วางแผนในการดูแลสุขภาพและยังเป็นการป้องกันภัยเงียบที่เกิดจากโรคที่ไม่แสดงอาการล่วงหน้า โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยผู้ลงทะเบียนสามารถเลือก ตรวจอัลตราซาวด์หลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid Duplex Ultrasounds) เพื่อตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง หรือ ตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เพื่อตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 พ.ค.นี้

 

อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความเสี่ยง หรือเป็นผู้ป่วยในกลุ่ม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)และอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป สามารถเข้าร่วมโครงการคัดกรองได้ ปัจจุบัน โรงเรียนแพทย์ทุกแห่งและโรงพยาบาลเอกชนชนาดใหญ่ มีนวัตกรรม Biplane DSA ในการรักษาแล้ว 

 

หรืออาจจะรักษาด้วยการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจหรือที่รู้จักกันว่า การทำบายพาสหัวใจ หากมีไขมันมาเกาะโดยไม่มีหินปูน และมีอายุ 30-40 ปี จะรักษาด้วยการทานยาอาจช่วยให้ไขมันลดลง หรือกรณีที่อุดตันเส้นเดียวก็ทานยาหรือใส่ขดลวดบอลลูนได้ อย่างไรก็ตาม การคัดกรองเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพก่อนที่จะเกิดโรคภัย