'หมอธีระ' ชี้ติดเชื้อ 'โควิด-19' อาจทำให้เกิดปัญหาการทำงานของเกล็ดเลือด

'หมอธีระ' ชี้ติดเชื้อ 'โควิด-19' อาจทำให้เกิดปัญหาการทำงานของเกล็ดเลือด

"หมอธีระ" อัปเดตความรู้ "โควิด-19" พบว่ากลุ่มผู้ป่วย Long COVID บางส่วนมีการทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ และเกิดลิ่มเลือดขนาดเล็ก อุดตันตามระบบต่างๆ

เมื่อวันที่ 24 ก.พ.66 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ "หมอธีระ" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงประเด็น "โควิด-19" ระบุว่า 

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 80,787 คน ตายเพิ่ม 394 คน รวมแล้วติดไป 679,225,537 คน เสียชีวิตรวม 6,794,926 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุด คือ

  1. ญี่ปุ่น
  2. รัสเซีย
  3. ไต้หวัน
  4. เกาหลีใต้
  5. สหรัฐอเมริกา

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปแ ละเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.32 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 74.11

อัปเดตความรู้โควิด-19

1. "การใส่หน้ากากจะช่วยลดการติดเชื้อแพร่เชื้อในโรงเรียนได้" (รูปที่ 1 และ 2)

ในการประชุมล่าสุด CROI 2023 ที่ซีแอตเติ้ล สหรัฐอเมริกา Rebecca Fielding-Miller และทีมงานจาก UCSF นำเสนอผลการวิจัยชี้ให้เห็นชัดเจนว่าโรงเรียนที่มีการใส่หน้ากาก จะมีอัตราการตรวจพบเชื้อในน้ำเสียของโรงเรียน น้อยกว่าโรงเรียนที่ไม่มีการใส่หน้ากากอย่างมีนัยสำคัญ

\'หมอธีระ\' ชี้ติดเชื้อ \'โควิด-19\' อาจทำให้เกิดปัญหาการทำงานของเกล็ดเลือด \'หมอธีระ\' ชี้ติดเชื้อ \'โควิด-19\' อาจทำให้เกิดปัญหาการทำงานของเกล็ดเลือด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

2. "Long COVID is real"

Michael Peluso จาก UCSF นำเสนอสรุปความรู้เกี่ยวกับ Long COVID จนถึงปัจจุบันในงานประชุมวิชาการโรคติดเชื้อนานาชาติ CROI 2023 เช่นกัน

งานวิจัยทั่วโลกนั้นยืนยันชัดเจนว่า Long COVID เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพแก่คนไข้จำนวนมากทั่วโลก ไม่ใช่ภาพลวงตา

ปัจจัยเสี่ยงต่อ Long COVID ได้แก่ เพศหญิง, สูงอายุ, มีโรคประจำตัว (อ้วน, เบาหวาน, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง), ติดเชื้อแล้วมีอาการรุนแรง, เศรษฐานะไม่ดี, ไม่ได้รับวัคซีน รวมถึงการติดเชื้อสายพันธุ์ก่อนหน้า Omicron จะเสี่ยงสูงกว่า Omicron

ทั้งนี้ยังไม่มีคำตอบชัดเจนว่า หากรีบรักษาในช่วงที่ติดเชื้อจะช่วยลดโอกาสเกิด Long COVID ได้มากน้อยเพียงใด? และการติดเชื้อซ้ำนั้น ความเสี่ยงต่อ Long COVID จะเปลี่ยนแปลงไปในทางใด เท่าเดิมในแต่ละครั้ง หรือเพิ่มขึ้น?

\'หมอธีระ\' ชี้ติดเชื้อ \'โควิด-19\' อาจทำให้เกิดปัญหาการทำงานของเกล็ดเลือด

การคงค้างของชิ้นส่วนไวรัสในร่างกาย

กว่า 60% ของผู้ป่วยที่เกิดปัญหา Long COVID นั้นจะตรวจพบชิ้นส่วนของไวรัสคงค้างในเลือดได้ยาวนานถึง 1 ปีที่มีการติดตามผล ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนที่สูงมาก เมื่อเทียบกับอัตราที่ตรวจพบได้ประปรายในคนที่หายจากการติดเชื้อช่วงแรก และมักคงค้างในเวลาไม่นาน

กระบวนการอักเสบ

กลุ่มผู้ป่วย Long COVID นั้นได้รับการตรวจพบว่า มีสารเคมีที่บ่งถึงกระบวนการอักเสบในร่างกายที่สูงกว่าคนที่ไม่เป็น Long COVID

คำถามที่ยังค้างคาใจคือ อะไรล่ะที่จะเป็นต้นเหตุให้เกิดกระบวนการอักเสบอย่างเรื้อรังยาวนาน? และการให้ยาต้านการอักเสบจะช่วยให้ดีขึ้นได้บ้างไหม?

ทั้งนี้มีการศึกษาพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสมดุลเชื้อโรคในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ทางเดินอาหาร ซึ่งเชื่อว่าอาจมีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบได้

\'หมอธีระ\' ชี้ติดเชื้อ \'โควิด-19\' อาจทำให้เกิดปัญหาการทำงานของเกล็ดเลือด

การมีไวรัสอื่นที่ติดเชื้อแฝงอยู่ในร่างกายนั้นมีความสัมพันธ์กับอาการบางอย่างของ Long COVID

พบว่าไวรัสบางชนิด เช่น EBV ที่มีการติดเชื้อแฝงในร่างกายอยู่นั้นมีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วย Long COVID เช่น อ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า รวมถึงปัญหาด้านความคิดความจำ

ติดเชื้อแล้วอาจทำให้เกิดปัญหาการทำงานของเกล็ดเลือด

พบว่ากลุ่มผู้ปวย Long COVID นั้นบางส่วนมีการทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ และเกิดลิ่มเลือดขนาดเล็ก อุดตันตามระบบต่างๆ ซึ่งสัมพันธ์กับอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น

จากข้อมูลต่างๆ ข้างต้น สะท้อนให้เราเห็นความก้าวหน้าของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ Long COVID และนำไปสู่กระบวนการทำความเข้าใจธรรมชาติของโรค รวมถึงแนวทางการดูแลรักษาในอนาคต

ณ จุดนี้ ไม่ควรเชื่อข่าวลวง ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด ปรับปรุงการระบายอากาศในที่พัก ที่ทำงาน ที่กินที่เที่ยว ที่เรียน ให้ดีกว่าในอดีต ใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดเสี่ยงลงไปได้มาก ทั้งโควิด-19 และ PM 2.5 ความใส่ใจสุขภาพของตนเองและครอบครัว คือหัวใจสำคัญในภาวะปัจจุบัน