"โรคหลอดเลือดสมอง" ประเมิน รักษาทัน ลดความเสี่ยงและรุนแรง

"โรคหลอดเลือดสมอง" ประเมิน รักษาทัน ลดความเสี่ยงและรุนแรง

"โรคหลอดเลือดสมอง" นำมาซึ่งการเสียชีวิตและพิการ ประเทศไทยในปี 2563 มีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ที่ 53 คนต่อประชากรแสนคน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สามารถหลีกเลี่ยงหรือลดความรุนแรงลงได้ หากได้รับการประเมินและรักษาอย่างรวดเร็ว

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า โรคทางระบบประสาท มีหลายร้อยประเภท ซึ่งหนึ่งในโรคที่พบบ่อย คือ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุอันดับ 2 ของการเสียชีวิต และอันดับ 3 ของความพิการ

 

ผลสำรวจในปี 2562 ทั่วโลกพบผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง มากกว่า 101 ล้านคน เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 12.2 ล้านคน และเสียชีวิต 6.5 ล้านคน ขณะที่ประเทศไทยในปี 2563 มีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ที่ 53 คนต่อประชากรแสนคน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

 

"รศ.นพ.ยศ นวฤทธิ์โลหะ" แพทย์ชำนาญการเฉพาะทางด้านประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวในงานแถลงข่าว ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาด้วย 2 กลุ่มโรคหลักๆ คือ

  • กลุ่มโรคหลอดเลือดในสมอง
  • โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด

โดยเฉพาะหลอดเลือดโป่งพองหรือหลอดเลือดผิดปกติ และกลุ่มโรคเนื้องอกในสมอง โดยเฉลี่ยผ่าตัดผู้ป่วยประมาณ 200 รายต่อปี ซึ่งการผ่าตัดในระบบประสาทนั้นต้องอาศัยประสบการณ์ของทีมแพทย์ ยกตัวอย่าง การรักษาผู้ป่วยเนื้องอกในสมองขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 2 นิ้ว ซึ่งจะต้องทำการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เพราะหากปล่อยทิ้งไว้มีโอกาสเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ ปัจจุบัน ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติดี

 

ผู้ป่วยอีกรายตรวจวินิจฉัยพบภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดยักษ์ ใหญ่กว่า 1.25 นิ้ว โดยภาวะนี้มักเกิดขึ้นตามหลอดเลือดแดงที่สำคัญที่อยู่ลึกภายในโครงสร้างสมอง ซึ่งต้องอาศัยแพทย์ที่มีความชำนาญการสูง อีกทั้ง ระหว่างการผ่าตัดและหลังการรักษาผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ตลอดเวลา

 

"โรคหลอดเลือดสมอง" ประเมิน รักษาทัน ลดความเสี่ยงและรุนแรง

 

จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเหตุผลว่า "แผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง" จึงมีบทบาทสำคัญมากในการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกซ้ำ และทำให้สมองเสียหายเพิ่มขึ้น และอาจเกิดอาการอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตที่แขนหรือขา พูดลำบาก สูญเสียการมองเห็น สูญเสียความทรงจำ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสูญเสียความรู้สึกได้อีกด้วย

 

ทั้งนี้ เนื่องจากระบบประสาทเป็นระบบที่ซับซ้อน มีหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหว ความคิด ความรู้สึก การพูด การหายใจ ซึ่งเชื่อมกับการทำงานของสมองและไขสันหลัง

 

ความผิดปกติของระบบประสาท รวมถึงข้อบกพร่องของโครงสร้าง ถือเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิต ทั้งนี้ สามารถหลีกเลี่ยงหรือลดความรุนแรงลงได้ หากได้รับการประเมินและทำการรักษาอย่างรวดเร็วทันท่วงทีและตรงจุดโดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์เฉพาะทาง

 

แผนกผู้ป่วยวิกฤติ ระบบประสาทฯ 

 

ล่าสุด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ก่อตั้ง ‘แผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง’ (Neurocritical Care Unit: NCCU) มีความสำคัญมากในการเสริมศักยภาพให้แผนกผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยวิกฤติมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น โดยลดการบาดเจ็บทางสมองแบบทุติยภูมิ (Secondary brain injury) ซึ่งเป็นสาเหตุของความพิการและการเสียชีวิต หลังเกิดความบาดเจ็บของสมองแบบปฐมภูมิ (Primary brain injury) ขึ้นแล้วก่อนหน้านั้น 

 

"โรคหลอดเลือดสมอง" ประเมิน รักษาทัน ลดความเสี่ยงและรุนแรง

 

นพ.ฤกษ์ชัย ตุลยาภรณ์โชติ แพทย์หัวหน้าศูนย์โรคระบบประสาทและแพทย์ชำนาญการเฉพาะทางด้านประสาทวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อธิบายเพิ่มเติมว่า แผนก NCCU ของบำรุงราษฎร์ มีความพร้อมใน 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่

1. ทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์และความชำนาญขั้นสูงในการดูแลรักษาสามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

2. การทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีระบบไร้รอยต่อ

3. เทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย

4. ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยในทุกภาวะวิกฤตตลอด 24 ชั่วโมง

 

"เพราะทุก 1 นาทีที่เซลล์สมองขาดเลือด จะมีเซลล์สมองตายประมาณ 1 ล้านเซลล์ ซึ่งหมายถึง ‘นาทีชีวิต’ เพราะหากได้รับการรักษาช้า เซลล์สมองจะตายมากและนำไปสู่ความพิการหรือเสียชีวิตได้ โดยแผนก NCCU มีความพร้อมในการให้บริการดูแลรักษาครอบคลุมผู้ป่วยโรคและอุบัติเหตุทางสมองและระบบประสาทขั้นรุนแรงหรือฉุกเฉินเป็นอันตรายต่อชีวิต"

 

"รวมถึงการผ่าตัดสมองหรือกระดูกสันหลังที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ โรคหลอดเลือดสมองตีบและแตก, ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง, โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง, การบาดเจ็บกระดูกสันหลังเฉียบพลัน, เนื้องอกในสมอง ฯลฯ ด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์การแพทย์ขั้นสูง”

 

"โรคหลอดเลือดสมอง" ประเมิน รักษาทัน ลดความเสี่ยงและรุนแรง

 

รักษาแบบรังสี ร่วมรักษาระบบประสาท  

 

ศ. พญ. ศิรินธรา สิงหรา ณ อยุธยา แพทย์ชำนาญการเฉพาะทางด้านรังสีร่วมรักษาระบบประสาทและไขสันหลัง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวเสริมว่า บำรุงราษฎร์มีแนวทางการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ นอกจากวิธีการผ่าตัด เนื่องจากมีผู้ป่วยในหลายกรณีที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัด เช่น ข้อจำกัดเรื่องอายุ หรือมีโรคประจำตัวบางโรค ซึ่งการรักษาแบบรังสีร่วมรักษาระบบประสาท (Neuro Intervention) จึงเข้ามาตอบโจทย์ผู้ป่วยกลุ่มนี้

 

โดยเป็นการทำงานร่วมกับทีมแพทย์อายุรกรรมและทีมแพทย์ด้านประสาทศัลยกรรม โดยการรักษาวิธีนี้จะเป็นการผ่าตัดแบบไม่เปิดกะโหลก ซึ่งเป็นศาสตร์ทางการแพทย์เฉพาะทางรังสีวิทยาเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคด้านโรคหลอดเลือดสมองและไขสันหลังโดยเทคโนโลยี Minimally Invasive Surgery (MIS) เน้นการเปิดแผลเล็ก โดยเจาะรูบริเวณเส้นเลือดต้นแขนหรือต้นขา ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ร่วมกับการใช้เทคโนโลยี Bi-plane เครื่องมือเอกซเรย์ 2 ระนาบ

 

ทำให้เห็นความชัดเจนของเส้นเลือดเพื่อสอดอุปกรณ์ขนาดเล็กเท่าเส้นผมเข้าไปรักษาหลอดเลือดในสมองและไขสันหลังได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยสามารถรักษาได้ทั้งโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันในระยะเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดโป่งพองในสมอง หรือเป็นปานหลอดเลือดแดงต่อดำ ตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดภายหลัง รวมถึงโรคหลอดเลือดไขสันหลัง อีกทั้งยังช่วยลดระยะเวลาพักรักษาในห้อง ICU และลดอาการแทรกซ้อนได้

 

ข้อดี ของการรักษาแบบรังสีร่วมรักษาระบบประสาท คือ สามารถรักษาได้อย่างตรงจุด แม่นยำ และช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติหรือใกล้เคียงกับปกติได้มากขึ้น ทั้งนี้แพทย์จะต้องตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อพิจารณาถึงตำแหน่ง ขนาดและรูปร่างของก้อนลิ่มเลือด/หลอดเลือดที่โป่งพอง อายุ และสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อประเมินแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

 

"โรคหลอดเลือดสมอง" ประเมิน รักษาทัน ลดความเสี่ยงและรุนแรง

 

ดูแลติดตามหลังผ่าตัด

 

ที่สำคัญ หลังการรักษาผู้ป่วยวิกฤต แผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง จะดูแลติดตามผลผู้ป่วยหลังการรักษาอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัย โดยห้องพักผู้ป่วยวิฤตระบบประสาท ถูกออกแบบโดยเน้นการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด

 

พร้อมด้วยเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตของผู้ป่วยแต่ละรายที่เชื่อมโยงกับเครื่องศูนย์กลางเพื่อติดตามสัญญาณชีพ (central vital sign monitoring) เพื่อให้พยาบาลประจำแผนกผู้ป่วยวิกฤตสามารถเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยหนักได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ แผนก NCCU ได้เข้ามาเติมเต็มให้ ICU มีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพในการส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้ป่วย

 

"โรคหลอดเลือดสมอง" ประเมิน รักษาทัน ลดความเสี่ยงและรุนแรง