ไทย 1 ใน 5 ประเทศ นโยบาย 'ลดโลกร้อน'ขั้นต่ำสุด ระดับไม่เพียงพอขั้นวิกฤติ

ไทย 1 ใน 5 ประเทศ นโยบาย 'ลดโลกร้อน'ขั้นต่ำสุด ระดับไม่เพียงพอขั้นวิกฤติ

ไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศ ที่มีนโยบายและแนวทางปฏิบัติลดโลกร้อนอยู่ในขั้นต่ำสุด ระดับไม่เพียงพอขั้นวิกฤติ ขณะที่ภาคประชาชนยื่น 23 ข้อเสนอถึงภาครัฐแก้ปัญหามองทุกมิติ  ทบทวนคาร์บอนเครดิต

Keypoints:

  •         นโยบายและแนวทางปฏิบัติในการลดโลกร้อนของประเทศไทย เป็น 1 ใน 5 ประเทศที่ถูกจัดอยู่ในระดับไม่เพียงพอขั้นวิกฤต ซึ่งเป็นขั้นต่ำที่สุด
  •        การแก้ปัญหาฝุ่นPM2.5ในประเทศไทย ถูกมองว่าชี้จำเลยที่ไม่ตรงจุดทั้งหมด โยนบาปให้ภาคเกาตรกรรมทั้งหมด ขณะที่แหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรมกลับถูกมองผ่าน ไม่อยู่ในแผนการแก้ปัญหาทั้งที่มีกว่า 1 แสนแห่ง 
  •         ภาคประชาชน ยื่น 23 ข้อเสนอถึงรัฐบาลและฝ่ายค้าน  ครอบคลุมนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาพรวม นโยบายทบทวนคาร์บอนเครดิต นโยบายทบทวนคาร์บอนเครดิต

        เมื่อเร็วๆนี้ ภาคประชาสังคม นักวิชาการที่ขับเคลื่อนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากฐานชุมชนและคนชายขอบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีสนับสนุนต่าง ๆ ร่วมกันจัดเวที “ประชาชนสู้โลกเดือด” หรือ COP ภาคประชาชน ภายในงานมีการเสวนา เรื่อง “ความท้าทายนโยบายโลกและไทยในภาวะโลกเดือด”

ไทย 1 ใน 5 ระดับต่ำสุดนโยบายลดโลกร้อน 

          ประสาท มีแต้ม นักวิชาการอิสระ ที่ปรึกษาสภาคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า นับถึงกันยายน 2564 ประเทศไทยได้รับการประเมินจากองค์กรclimate Action Tracker ให้เป็น 1 ใน 5 ของประเทศที่มีนโยบายและการกระทำในการลดโลกร้อนในระดับไม่เพียงพอขั้นวิกฤตซึ่งเป็นขั้นต่ำที่สุด อยู่กลุ่มเดียวกับอิหร่าน รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย และสิงคโปร์ 
           โดยประเทศที่ดีที่สุดบรรลุเป้าหมายมีเพียงประเทศแคมเรีย ที่เป็นประเทศเล็กในแอฟริกา ส่วนประเทศอังกฤษอยู่ระดับเกือบจะเพียงพอ สหรัฐอเมริกาอยู่ในระดับไม่เพียงพอ และประเทศส่วนใหญ่ล้มเหลวหมด

       เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) 2015-2030ของสหประชาชาตินั้น เรื่องการเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดและเข้าถึงได้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดและจะเป็นต้นเหตุของเป้าหมายอื่นๆ  โดย SWB 100 % หรือซูเปอร์พาวเวอร์(Super Power)ที่ประกอบด้วย โซลาร์เซลล์ ลม และแบตเตอรี่ จะเป็นพลังงานแห่งอนาคตที่จะเปลี่ยนโลกและต้นทุนของพลังงานเหล่านี้จะลดลงอีก 80 %
ชี้จำเลยฝุ่นPM2.5ไม่ครบ แก้ปัญหาไม่สำเร็จ

      วันเดียวกัน  มีการสรุปบทเรียนการแก้ปัญหาฝุ่นPM 2.5 ที่ผ่านมาด้วย  โดยเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง มูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า  ฝุ่นPM2.5 มีการโยนบาปให้กับภาคเกษตรทั้งหมด เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น  เนื่องจากประเทศไทยมีรายงานว่าการปล่อยPM2.5สู่สิ่งแวดล้อมจากภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนเพียง 5-7 %  ขณะที่ข้อมูลในต่างประเทศไม่มีประเทศใดระบุว่า ต่ำกว่า  10 % ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับ 30-50 %  

        ทั้งนี้ ผลจากการศึกษาสมุทรสาครสีเขียวเรื่องของการปล่อยPM2.5จากทุกภาคส่วนที่มีการปล่อยทั้งจากรถยนต์ การเผาขยะ การเผาภาคเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่ประมาณ 6,000กว่าแห่งในจ.สมุทรสาคร  พบว่า  เมื่อคำนวณรวมทั้งหมดปรากฎว่าPM2.5 จากภาคอุตสาหกรรมสูงถึงประมาณ 40,000 ตันต่อปี  ขณะที่ PM 10 สูงถึง 70,000ตันต่อปี  ส่วนภาคเกษตรมีการปล่อยประมาณ 190กว่าตันต่อปี ภาคขนส่ง รถยนต์ต่างๆปล่อยอยู่ที่ระหว่าง  200-400 ตันต่อปี และการเผาขยะก็อยู่ประมาณเท่านี้ 

       อีกทั้ง การเผาภาคเกษตร หรือไฟป่าเป็นไปตามฤดูกาล  ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยอากาศออกมา 24 ชั่วโมงใน 365 วัน  ขณะที่ประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ 120,000-140,000 กว่าแห่ง จะมีโรงงานที่ปล่อยอากาศออกสู่สิ่งแวดล้อมประมาณ 70,000 กว่าแห่ง  กระจายทั่วประเทศ เพราะฉะนั้นมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเรื่องใหญ่ ไม่เพียงปริมาณที่ปล่อยออกมา แต่พบสารที่ปนอยู่ในPM2.5 เป็นโลหะหนักบางตัวด้วย

       “สังคมไทยถูกทำให้เรื่องของแหล่งกำเนิดมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรรมหายไปจากการแก้ปัญหาPM2.5 ไม่มีการพูดถึงในแผนการจัดการของภาครัฐ เมื่อเป็นเช่นนี้ส่งผลให้ไม่เพียงแก้ปัญหาPM2.5ไม่ได้แล้ว ยังเป็นการโทษผิด จะต้องนำเรื่องนี้มาร่วมในการแก้ปัญหาที่สำคัญด้วย เพราะเป็นสิ่งที่น่ากลัวกว่า PM2.5 จากการเผาภาคเกษตรและไฟป่า”เพ็ญโฉมกล่าว

23 ข้อเสนอต่อรัฐบาลไทย
       ภายหลังการประชุมมีการจัดทำคำประกาศ เวทีนโยบายและวิชาการสาธารณะ
กู้วิกฤติโลกเดือดและความหลากหลายทางชีวภาพด้วยมือประชาชน (COP28 ภาคประชาชน) โดยในส่วนของข้อเสนอต่อรัฐบาลไทยและพรรคฝ่ายค้าน รวม 23 ข้อ ประกอบด้วย

1.สร้างความสมุดลในนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของรัฐ โดยเพิ่มสัดส่วนการสนับสนุนนโยบายการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประชาชน ชุมชน เกษตรกร คนจน ให้สมดุลกับนโยบายลดก๊าซเรือนกระจก

3.ปรับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NDC) จากเดิมที่กำหนดเป้าหมายคาร์บอนเป็นกลางในปี 2050 และก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065 โดยปรับเป็นคาร์บอนเป็นกลางในปี 2030 และก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2040 โดยเริ่มลดในปี 2024 ทันที ไม่ต้องรอถึงปี 2030
ไทย 1 ใน 5 ประเทศ นโยบาย \'ลดโลกร้อน\'ขั้นต่ำสุด ระดับไม่เพียงพอขั้นวิกฤติ

4.ทิศทางหลักของการลดก๊าซเรือนกระจก ควรมุ่งลดภาคที่ปล่อยคาร์บอนเป็นหลัก ได้แก่ ภาคพลังงานฟอสซิล อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารขนาดใหญ่ โดยตรง สู่ Real ZERO (ไม่ใช่ NET ZERO) โดยไม่ใช้ระบบชดเชย (offset) คาร์บอนเครดิตมาเบี่ยงเบนความรับผิดชอบ

5.นำข้อเสนอนโยบายโดยคณะผู้เชี่ยวชาญระดับสูงแห่งสหประชาชาติ ด้านข้อตกลง Net Zero ที่เกี่ยวกับภาคเอกชน 2020 มาเป็นฐานนโยบาย ได้แก่ ห้ามไม่ให้หน่วยงานรัฐและเอกชนอ้างบรรลุ Net Zero ในขณะที่ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานพลังงานฟอสซิล ห้ามไม่ให้เอกชนซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยการลดปล่อยคาร์บอนในกิจกรรมการผลิตของตน เป็นต้น

6.พัฒนาร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขึ้นใหม่โดยประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อสร้างระบบความรับผิดชอบแก่ภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ปรับลดก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตนเอง ไม่ใช้ระบบตลาดคาร์บอนที่นำมาสู่การฟอกเขียวได้ 

7.บรรจุการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไว้ในการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทุกประเภท รวมไปถึงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (SEA)

8.ยุตินโยบายและการดำเนินงาน มาตรการคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้และการเกษตร 

9.ทบทวนโครงสร้างและแนวทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ หมุนเวียน และสีเขียว (BCG โมเดล) ที่เอื้อผลประโยชน์ทับซ้อนและฟอกเขียวภาคทุนที่จะเอาป่าของประเทศมาอ้างคาร์บอนเครดิต

10.กำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะภาคส่วนสำคัญคือ พลังงานฟอสซิล อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการคุมอุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5 องศาฯ

11.ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และการคลัง โดยเฉพาะหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เช่น การเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon tax) สำหรับผู้ปล่อยแกสเรือนกระจกและผู้ก่อมลพิษอื่นๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัว ไปใช้เทคโนโลยีที่สะอาด ในขณะเดียวกันต้องนำภาษีที่เก็บได้นำไปใช้สำหรับการปรับตัวของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

12. ทบทวนกฎหมาย กลไกนโยบายการจัดการป่าทั้งหมดให้กระจายอำนาจ และรับรองสิทธิการจัดการป่าของชุมชนและพื้นที่สีเขียวของประชาชน 
ไทย 1 ใน 5 ประเทศ นโยบาย \'ลดโลกร้อน\'ขั้นต่ำสุด ระดับไม่เพียงพอขั้นวิกฤติ

13.ทบทวนแนวทางบรรลุเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียว โดยเน้นไปที่การส่งเสริมบทบาทของภาคชุมชน ประชาชนในการจัดการป่า 

14.ปรับเปลี่ยนแบบแผนเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวปล่อยแกสเรือนกระจก ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เป็นเกษตรกรรมเชิงนิเวศในรูปแบบต่างๆ ไม่ส่งเสริมรูปแบบเกษตรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง 

15.รัฐควรมีนโยบายส่งเสริมเกษตรนิเวศ ซึ่งเป็นระบบเกษตรที่คำนึงถึงระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ และอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ 

16.เปลี่ยนผ่านพลังงานฟอสซิลไปสู่พลังงานหมุนเวียนทั้งหมดภายในปี 2040 เริ่มจากเร่งปลดระวางถ่านหินให้หมดภายในปี 2027

17.ปฏิรูปโครงสร้างระบบพลังงานไฟฟ้า หยุดลงนามสัญญารับซื้อไฟฟ้า (PPA) จากโครงการขนาดใหญ่แห่งใหม่ทั้งโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดใหญ่จากประเทศเพื่อนบ้าน และโรงไฟฟ้าถ่านหิน จนกว่าไฟฟ้าสำรองจะลดลงสู่มาตรฐาน ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนอย่างเสรีและเป็นธรรม เร่งเดินหน้านโยบาย Net-metering หรือระบบหักลบหน่วยไฟฟ้า พัฒนาระบบซื้อ-ขายส่งไฟฟ้าที่เป็นธรรม เจรจาลดภาระที่ไม่เป็นธรรมในสัญญาโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ที่มีอยู่

18.ทบทวนการพัฒนาอุตสาหกรรมและโครงการขนาดใหญ่ทั้งหมดที่ทำลายนิเวศ สร้างก๊าซเรือนกระจก 

19.ให้รัฐดำเนินนโยบายคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง สิทธิชุมชน 

20.มีนโยบายการบูรณาการมิติเความเสมอภาคระหว่างเพศ 

21. พัฒนาระบบการเงินเรื่องโลกร้อนที่มุ่งส่งเสริมชุมชนและประชาชนในการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ปรับตัว และมีบทบาทลดก๊าซเรือนกระจก เช่น กองทุนปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กองทุนลดความสูญเสียและเสียหาย

22. มีนโยบาย มาตรการคุ้มครอง ฟื้นฟู ชดเชยความสูญเสีย เสียหายของประชาชนต่อผลกระทบภาวะโลกเดือด มี

23.รัฐต้องพัฒนาให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการพยากรณ์อากาศที่แม่นยำ เพื่อเกษตรกรโดยได้วางแผนการเพาะปลูกให้เหมาะสม รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ เช่น น้ำท่วม แล้ง ฝน เป็นต้น