'โครงการคอนเทนต์แล็บ' สร้างปรากฎการณ์ Soft Power ครั้งใหญ่

'โครงการคอนเทนต์แล็บ' สร้างปรากฎการณ์ Soft Power ครั้งใหญ่

CEA จับมือ ปตท.ดันโครงการคอนเทนต์แล็บ สร้างปรากฎการณ์ Soft Powe ครั้งใหญ่ ยกระดับทักษะการใช้เทคโนโลยีให้กับนักผลิตคอนเทนต์ เดินหน้าเปิดรุ่น 2 ยกระดับคอนเทนต์ไทยสู่ตลาดสากล

โครงการ Content Lab นับเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญในการบูรณาการความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากพันธมิตรในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ทั้งในและต่างประเทศในการผลักดันอุตสาหกรรมคอนเทนต์ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เติบโตได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมคอนเทนต์สาขาภาพยนตร์และซีรีส์ ด้วยการสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ พร้อมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เสริมด้วยความเข้าใจกลไก การทำงานทั้งระบบ ตั้งแต่การพัฒนาคอนเทนต์  ไปสู่ความรู้ด้านการตลาดทั้งในประเทศและระดับสากล รวมทั้งการต่อยอดผลงานจากโครงการสู่การเจรจาทางธุรกิจเพื่อการผลิตออกสู่ตลาดสากล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 เปิดชื่อ '36 ศูนย์เวลเนสอัตลักษณ์ไทย' Soft Power ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ซอฟต์พาวเวอร์ Soft Power วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน สร้างเศรษฐกิจไทยเติบโต

ชวนเที่ยว 'ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง' One Day Trip ครบจบวันเดียว

 

Content Lab แพลตฟอร์มผลักดัน 'อุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทย'

ดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA เปิดเผยถึงแผนการจัดโครงการ Content Lab ในครั้งต่อไป ว่า CEA จะนำข้อเสนอแนะจากการจัดในปีนี้ มาพัฒนาหลักสูตรการบ่มเพาะให้เข้ากับความต้องการของอุตสาหกรรมคอนเทนต์มากขึ้น รวมทั้งการขยายหลักสูตรที่ลงลึกในแต่ละสาขา

เช่น Script Writing สำหรับนักเขียนบทโดยเฉพาะ การเพิ่มเติมหลักสูตร สำหรับกลุ่มแอนิเมชัน นอกจากจากนั้นยังมีเป้าหมายขยายพื้นที่การจัดโครงการ ไปยังต่างจังหวัด เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับนักผลิตคอนเทนต์ในวงกว้าง รวมทั้งการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ด้วยการเชื่อมต่อ โปรแกรมการอบรมผ่าน Virtual Media Lab ที่จะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคมนี้ ณ ชั้น 4 TCDC กรุงเทพฯ

\'โครงการคอนเทนต์แล็บ\' สร้างปรากฎการณ์ Soft Power ครั้งใหญ่

“โครงการ Content Lab จะเป็นแพลตฟอร์มผลักดัน อุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทย ให้ขายได้ ยกระดับให้ก้าวสู่ตลาดสากล จากพลังของการสร้างสรรค์ผ่าน Soft Power พร้อมขยายผลสู่ตลาดต่างประเทศ อาทิ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ เป็นต้น ดึงการจัดกิจกรรม Business Matching ไปสู่ International Content Market โดยเริ่มจากตลาดอาเซียน และประเทศสำคัญในตลาดเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฯลฯ” ดร.ชาคริต กล่าว

 

ปตท.พร้อมดันเสริมทักษะ ยกระดับนักผลิตคอนเทนต์

นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท.  จํากัด (มหาชน) (ปตท.) กล่าวว่า ปตท. ในฐานะพันธมิตรหลักของโครงการ Content Lab และเป็นแกนหลักในกลุ่มดิจิทัลคอนเทนต์ ได้เปิดโอกาสให้นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป มีโอกาสเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีประกอบการสร้างสรรค์ผลงานผ่านการอบรม และ Workshop แบบเข้มข้น เสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่

อาทิ Virtual Production, AR/XR, AR location base, CG, 3D Model ฯลฯ จากผู้เชี่ยวชาญแนวหน้าในสาขาต่าง ๆ ของเมืองไทย พร้อมสัมผัสประสบการณ์การทำงาน ใน XR Studio ชั้นนำของประเทศ เช่น Supreme Studio และ L&EStudio ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการฯ กลุ่มดิจิทัลคอนเทนต์จะได้พัฒนาความรู้และประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล สามารถสร้างผลงานที่ผสมผสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย พร้อมสำหรับการต่อยอดทางธุรกิจได้จริง

\'โครงการคอนเทนต์แล็บ\' สร้างปรากฎการณ์ Soft Power ครั้งใหญ่

โดย ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เน้นหลัก Soft Power กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ดึงดูดนักท่องเที่ยวกลับสู่ประเทศไทย โดย ปตท. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนศักยภาพเยาวชนไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนการผลิตผลงานคุณภาพ และยกระดับขีดความสามารถ การแข่งขันของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่มาตรฐานสากล เพื่อนําประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Creative Hub ของภูมิภาคอาเซียน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

\'โครงการคอนเทนต์แล็บ\' สร้างปรากฎการณ์ Soft Power ครั้งใหญ่

สำหรับผู้ผ่านคอร์สอบรมเข้มข้นจนผ่านเข้ารอบสุดท้าย มีจำนวน 19 ทีม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มภาพยนตร์และซีรีส์ (Film & Series) จำนวน 13 ทีม ที่ได้มีโอกาสร่วม Business Matching กับสตูดิโอ ค่ายหนัง ผู้ผลิตภาพยนตร์และซีรีส์ และสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มชั้นนำในระดับประเทศ และต่างประเทศกว่า 26 ค่าย อาทิ WeTV, Netflix, Amazon Studios, iQIYI (Thailand), บริษัท จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด, GMMTV, บริษัท เนรมิตรหนังฟิล์ม จํากัด, บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด, บริษัท GDH 559 จํากัด, บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จํากัด, บริษัท บีอีซีสตูดิโอ จํากัด, Workpoint, Thai PBS, GroupM Motion Entertainment, The Monk Studios ฯลฯ

2. กลุ่มดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) นำเสนอภายใต้โจทย์ ‘Meaningful Travel ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์’ โดยมีผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 6 ทีม โดยแต่ละทีมได้นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการในสาขาต่าง ๆ โดยทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 50,000 บาท ได้แก่ LocalXplorer - แอปพลิเคชันสำหรับการท่องเที่ยว เชื่อมโยงนักท่องเที่ยวกับชุมชน

รางวัลรองชนะเลิศ เงินรางวัล 30,000 บาท ได้แก่ Sermtat | Thai VR Boxing Game - เกมออกกำลังกายศิลปะแม่ไม้มวยไทยในโลกเสมือนจริง ด้วยเทคโนโลยี Virtual Reality Thailand Culture Guide – แอปพลิเคชันเพื่อนคู่ใจสำหรับนักท่องเที่ยวสายมู ซึ่งนอกจากเงินรางวัลแล้วผู้เข้าแข่งขันยังสามารถนำความรู้และประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานมาต่อยอดเพื่อทำธุรกิจได้จริง รวมถึงยังเป็นโอกาสในการมองหานักลงทุนต่อไปในอนาคต