พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า 6-15 มิ.ย.66 ไทยตอนบนฝนเพิ่ม ใต้ ฝนตกหนัก

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า 6-15 มิ.ย.66 ไทยตอนบนฝนเพิ่ม ใต้ ฝนตกหนัก

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า 6-15 มิ.ย.66 ไทยตอนบน มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น ภาคใต้ ยังมีฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางแห่ง ระวังฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

"กรมอุตุนิยมวิทยา" พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 6-15 มิ.ย.66 อัพเดท 2023060512 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) ระบุ

ช่วง 6-11 มิ.ย.66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝน/ฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น บริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง กทม.และปริมณฑล)

ส่วนภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี ตราด) และภาคใต้ด้านรับมรสุม (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง) ยังมีฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางแห่ง ต้องระวัง ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในระยะนี้ คลื่นลมในทะเลอันดามัน มีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง ชาวเรือ ชาวประมง ยังต้องเพิ่มความระวัง

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า 6-15 มิ.ย.66 ไทยตอนบนฝนเพิ่ม ใต้ ฝนตกหนัก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ช่วง 12- 15 มิ.ย.66 ตอนบนฝนลดลงบ้าง ส่วนภาคใต้จะยังมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม มีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมมีกำลังปานกลาง ห่างฝั่งคลื่นสูง ชาวเรือ ชาวประมงต้องเพิ่มความระมัดระวัง ในการเดินเรือในระยะนี้

ทั้งนี้ ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า 6-15 มิ.ย.66 ไทยตอนบนฝนเพิ่ม ใต้ ฝนตกหนัก

ขณะที่ "กรมอุตุนิยมวิทยา" ยังให้รายละเอียด "พยากรณ์อากาศ" สำหรับประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ในช่วงวันที่ 6 – 10 มิ.ย. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณเกาะไหหลำ ประเทศจีน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเมียนมา 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรงโดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 11 – 12 มิ.ย. 66 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และประเทศจีนตอนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณด้านรับมรสุมของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันตก รวมถึงด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 

  • ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่ม โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 10 มิ.ย. 66 

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า 6-15 มิ.ย.66 ไทยตอนบนฝนเพิ่ม ใต้ ฝนตกหนัก

พยากรณ์อากาศ คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 6 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2566

  • ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 6 – 10 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณด้านตะวันตกของภาคในช่วงวันที่ 9 - 10 มิ.ย. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. 

ส่วนในช่วงวันที่ 11 – 12 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 38 องศาเซลเซียส

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 6 – 10 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11 – 12 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันออกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.  อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 36 องศาเซลเซียส

  • ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 6 – 10 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11 – 12 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 38 องศาเซลเซียส

  • ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 6 – 10 มิ.ย. 66 ในช่วงวันที่ 6 – 10 มิ.ย. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 37 องศาเซลเซียส  ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11 – 12 มิ.ย. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม.  ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 6 – 10 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

  • ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.  ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.  ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 11 – 12 มิ.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 37 องศาเซลเซียส

  • ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณตอนบนของภาคในช่วงวันที่ 6 – 10 มิ.ย. 66 ในช่วงวันที่ 6 – 10 มิ.ย. 66 ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.  ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

  • ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 11– 12 มิ.ย. 66 ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.  ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 35 องศาเซลเซียส

 

  • กรุงเทพและปริมณฑล

ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.  อุณหภูมิต่ำสุด 26 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 37 องศาเซลเซียส

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า 6-15 มิ.ย.66 ไทยตอนบนฝนเพิ่ม ใต้ ฝนตกหนัก