บ้านสาแพะ จ.ลำปาง เปลี่ยน 'ภัยแล้ง' เป็นทางรอด เพิ่มรายได้ชุมชน 5 เท่า

บ้านสาแพะ จ.ลำปาง เปลี่ยน 'ภัยแล้ง' เป็นทางรอด เพิ่มรายได้ชุมชน 5 เท่า

"ตอนนั้นไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือไม่ แต่เราต้องทำเพื่อชุมชน เพราะเราไม่สามารถรอความหวังอะไรได้ทั้งนั้น" คำบอกเล่าของ 'ผู้ใหญ่คง' ถึงการตัดสินใจเข้าร่วมสร้างฝายกับ 'เอสซีจี' ในปี 2566 ด้วยความหวังที่ว่าจะพลิกฟื้นผืนดินที่แห้งแล้ง ให้กลับอุดมสมบูรณ์

Key Point : 

  • ชุมชนบ้านสาแพะ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เรียกได้ว่าเป็นชุมชนเกษตรกรรม แต่กลับต้องเผชิญกับน้ำหลาก ภัยแล้ง หลายคนต้องเดินทางไปทำงานที่กรุงเทพฯ เนื่องจากรายได้จากการปลูกถั่วลิสงค์เพียง 10,000 บาทต่อปี 
  • หลังจากที่เริ่มเข้าร่วมสร้างฝายชะลอน้ำกับเอสซีจี ในปี 2556 โดยความร่วมมือร่วมใจจากชุมชนกว่า 2,000 คน ปัจจุบัน บ้านสาแพะมีฝายกว่า 2,000 ฝาย และต่อยอดสู่การสร้างสระพวง ระบบบริหารจัดการน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตร
  • จากการฟื้นฟูแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ทำให้ชุมชนมีน้ำใช้ สู่การทำเกษตรประณีต รายได้เพิ่มกว่า 5 เท่า หรือเฉลี่ยปีละ 20 ล้านบาท 

 

บ้านสาแพะ ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ซึ่งมีประชากร 10 หมู่บ้าน แต่เดิมเคยมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ น้ำห้วยไหลตลอดปี มีอาหารจากธรรมชาติ และดินดำน้ำชุ่ม อย่างไรก็ตาม จากยุคความอุดมสมบูรณ์ ก็เข้าสู่ยุคทำลาย เนื่องจากมีการสัมปทาน ทำลายจากทั้งคนนอกและคนใน ตัดไม้ทำลายป่า เปิดป่าทำพื้นที่ทำกิน และปัญหาไฟป่า น้ำท่วม แห้งแล้ง

 

บ้านสาแพะ เริ่มต้นทำฝายจากการร่วมมือกับ เอสซีจี ในปี 2549 นำโดยพระครูสันติพนารักษ์ เจ้าอาวาสวัดสาแพะ ที่ระดมเยาวชนปลูกป่า สร้างฝาย และรักษาป่า หลังจากนั้นในปี 2550 ได้มีการเรียนรู้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “ห้วยฮ่องไคร้” และเข้าร่วมโครงการ SCG รักษ์น้ำเพื่ออนาคต ในปี 2556 สร้างฝายชะลอน้ำ 1,426 ฝาย ควบคู่กับการดูแลไฟป่า และจัดทะเบียนป่าชุมชน 7,047 ไร่ โดยมีผู้นำชุมชนอย่าง 'ผู้ใหญ่คง' ที่เข้ารับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านในปี 2555 ดูแลลูกบ้านกว่า 156 ครัวเรือน 600 กว่าคน บนพื้นที่มากกว่า 3 หมื่นไร่

 

บ้านสาแพะ จ.ลำปาง เปลี่ยน 'ภัยแล้ง' เป็นทางรอด เพิ่มรายได้ชุมชน 5 เท่า

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

เปลี่ยนภัยแล้ง เป็นความยั่งยืน

 

'คงบุญโชติ กลิ่นฟุ้ง' หรือผู้ใหญ่คง ในวัย 58 ปี ผู้นำชุมชนบ้านสาแพะ จ.ลำปาง เล่าว่า อาชีพของคนที่นี่ส่วนใหญ่ทำเกษตรกร แต่เดิมปลูกถั่วลิสงค์ มีรายได้ปีละราว 10,000 บาท การทำเกษตรยากลำบาก เพราะเวลาน้ำฝนก็พบปัญหาน้ำป่าไหลหลาก เจอภัยแล้ง และการเผาป่า

 

“ผมเป็นคนที่นี่ แต่ต้องตัดสินใจเดินทางออกจากบ้านไปกรุงเทพฯ ในปี 2526 ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายอาหารสัตว์ เดินทางไปแล้วทุกที่ทุกจังหวัด ระหว่างที่เราเดินทางทำให้เราได้เรียนรู้อะไรต่างๆ มากมาย ก่อนที่จะเข้าไปทำงานกรุงเทพฯ พื้นที่บ้านสาแพะเรียกว่าอุดมสมบูรณ์ แต่พอกลับบ้านมาอีกครั้งกลับพบแต่ความแห้งแล้ง ทำให้เราตัดสินใจกลับมาอยู่ที่บ้านและรับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านในปี 2555 ซึ่งเป็นช่วงที่เอสซีจีมาชวนทำฝายในโครงการ SCG รักษ์น้ำเพื่ออนาคต ตอนนั้นไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือไม่แต่เราต้องทำเพื่อชุมชน เพราะเราไม่สามารถรอความหวังอะไรได้ทั้งนั้น”

 

 

ทั้งนี้ โครงการบริหารจัดการน้ำชุมชน ต่อยอดตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ของ เอสซีจี ได้ดำเนินการมากว่า 16 ปี โดยเริ่มจากการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อฟื้นฟู และอนุรักษ์ป่าต้นน้ำให้อุดมสมบูรณ์ ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการน้ำชุมชน การทำสระพวง แก้มลิง ทำให้ชุมชนสามารถเอาชนะภัยเเล้งนำไปสู่การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ชุมชนมีน้ำอุปโภค-บริโภค และมีน้ำเพื่อการเกษตรตลอดปี

 

บ้านสาแพะ จ.ลำปาง เปลี่ยน 'ภัยแล้ง' เป็นทางรอด เพิ่มรายได้ชุมชน 5 เท่า

 

ทั้งยังสามารถเป็นชุมชนต้นแบบจัดการน้ำในการแบ่งปันความรู้ และประสบการณ์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจไปยังชุมชนต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยดำเนินการผ่านโครงการรักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที รวมทั้ง ต่อยอดการสร้างอาชีพให้ชุมชนผ่านโครงการพลังชุมชนอบรมความรู้คู่คุณธรรมให้สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่ม ปัจจุบันพลิกชีวิตความเป็นอยู่ให้กับ 500 ชุมชน กว่า 200,000 คน ใน 37 จังหวัด มีรายได้มั่นคง มีอาชีพยั่งยืน พร้อมแบ่งปัน และสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งร่วมกัน

 

จากแรงต้าน สู่การเพิ่มรายได้ 5 เท่า

 

ผู้ใหญ่คง เล่าต่อไปว่า ปัจจุบัน ชุมชนสาแพะมีการทำฝายไปแล้วมากกว่า 2,000 ฝาย โดยใช้แรงงานคนกว่า 2,000 คนซึ่งเป็นลูกบ้าน และใช้ใจ แต่กว่าจะประสบความสำเร็จก็ต้องเผชิญกับแรงต้านว่าทำไปทำไม ทำไปก็ไม่ได้เงิน ดังนั้น เราต้องใช้หลักการ คือ ชวนพี่ชวนน้องมาช่วยทำก่อนในช่วงแรก

 

หลังจากที่เริ่มเข้าร่วมโครงการกับเอสซีจีในปี 2556 ใช้เวลาเห็นผลคือในช่วงปี 2559 – 2560 พบว่า เป็นปีที่แล้งมาและต้นไม้ยืนต้นตาย แต่น้ำประปาที่ขุดน้ำใต้ดินไม่แห้ง สามารถเปิดใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง จากเดิมที่ต้องเปิดปิดตามช่วงเวลา

 

นอกจากการมีน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว ยังต่อยอดไปสู่การบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น การทำแก้มลิง สระพวง 7 สระ ซึ่งเก็บน้ำได้กว่า 30,400 ล้านลิตร และระบบกระจายน้ำเข้าไร่นา ปัจจุบันสามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี โดยคนในชุมชนหันมาทำเกษตรประณีต ในปี 2560 เริ่มจากชาวบ้าน 4-5 ราย ทำเมล็ดพันธุ์มะระ บวบ ฟักทอง แตงโม เพื่อส่งขายต่างประเทศ จนปัจจุบัน มีชาวบ้านที่เข้ามาทำเกษตรประณีตกว่า 90 ครอบครัว

 

บ้านสาแพะ จ.ลำปาง เปลี่ยน 'ภัยแล้ง' เป็นทางรอด เพิ่มรายได้ชุมชน 5 เท่า

 

“หลังจากได้น้ำจากสระพวง ในปี 2560 ชาวบ้านกว่า 60-70 ครอบครัว มีรายได้ทั้งหมดราว 24 ล้านบาทต่อปี โดยในแต่ละปีทำได้ 6 รอบ รอบละ 2 เดือน ขณะที่ปีนี้ รายได้รวมประมาณ 20 ล้านบาท จาก 80-90 ครอบครัว สร้างรายได้เฉลี่ยเพิ่ม 4-5 เท่า และได้เยาวชนคืนถิ่นอีก 2 ครอบครัวกลับมาทำการเกษตร โดยแต่ละครอบครัวใช้พื้นที่แค่ราว 1-2 งานในการทำแต่ละรอบ รวมถึงมีการการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า ทุกวันนี้บ้านก็ไม่ต้องเช่า ข้าวก็ไม่ต้องซื้อ เรียกว่ามีความสุขมาก”

 

รายได้รายวัน รายเดือน โบนัส

 

ปัจจุบัน หมู่บ้านสาแพะ ได้มีการต่อยอด โดนนำมะม่วงสายพันธุ์โชคอนันต์มาปลูก เท่ากับว่า ชาวบ้านมีทั้งรายได้ 'รายวัน' คือ การปลูกพืชผักสวนครัวและนำมาขายได้เงินราว 200-300 บาทต่อวัน 'เงินเดือน' คือ เงินจากเมล็ดพันธุ์ แตงโม กิโลละ 7,000 บาท มะระ 1,500 บาท ฟักทอง 1,200 บาท บวบ 900 บาทต่อกิโลกรัม ส่งให้กับ 2 บริษัท และ ยังมี 'เงินโบนัส' คือ มะม่วงสายพันธุ์โชคอนันต์ที่ปลูกได้ปีละ 3 ครั้ง เป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน

 

บ้านสาแพะ จ.ลำปาง เปลี่ยน 'ภัยแล้ง' เป็นทางรอด เพิ่มรายได้ชุมชน 5 เท่า

 

“การทำเมล็ดพันธุ์เกิดจากความซื่อสัตย์ของชุมชน เพราะเราส่งเมล็ดพันธุ์ให้ 2 บริษัท ใครจะทำส่งบริษัทไหนก็ทำไป ไม่มีการกลั่นแกล้งกัน ขณะเดียกวัน บางคนไม่มีที่ดิน ก็สามารถแบ่งปันพื้นที่มาทำได้ และหลังจากเก็บมะระเสร็จ ก็มาช่วยกันทำการเกษตร ไม่มีค่าเช่า เป็นแปลงรวม”

 

เวลาอีก 2 ปี ในฐานะผู้ใหญ่บ้าน

 

ผู้ใหญ่คง พูดถึงสิ่งที่อยากจะทำต่อในอีก 2 ปีที่เหลืออยู่ในตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านว่า ปัจจุบัน ได้โครงการจากกระทรวงพลังงานเพื่อต่อยอดจากความรู้ตรงนี้ โดยการสูบน้ำจากกรมชลประทาน ให้ชาวบ้านได้ทำการเกษตร วัตถุประสงค์เพื่อว่าวันหนึ่งเราลงจากการทำหน้าที่ แต่เรายังมีป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง สามารถเก็บผลผลิต โดยมองว่าอีก 2 ปีน่าจะเกิดผล

 

“ระหว่างเดินทาง ยิ่งเจอปัญหามากเท่าไหร่ แต่หากเราก้าวข้ามผ่านมันไปได้ มันคือความรู้ประสบการณ์ เวลาที่เราเหลืออยู่อีก 2 ปีที่จะหมดวาระการเป็นผู้ใหญ่บ้าน อย่างน้อยได้พัฒนาชุมชน เราก็มีความสุข ความสุขแท้จริงอยู่แค่ตรงนี้เอง” ผู้ใหญ่คง กล่าว

 

บ้านสาแพะ จ.ลำปาง เปลี่ยน 'ภัยแล้ง' เป็นทางรอด เพิ่มรายได้ชุมชน 5 เท่า

 

ลดความเหลื่อมล้ำ พึ่งพาตนเอง

 

วีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการ สำนักงาน Enterprise Brand Management Office เอสซีจี กล่าวว่า เอสซีจี มุ่งลดความเหลื่อมล้ำสังคมด้วยการส่งเสริมให้ชุมชนพึ่งพาตนเอง มีความรู้ คู่คุณธรรมตามคำสอนของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2550 จากการทำฝายชะลอน้ำซึ่งสร้างไปแล้ว 115,000 ฝาย ควบคู่กับการบริหารจัดการน้ำชุมชน ทำให้ชุมชนมีน้ำกิน-ใช้และเพื่อการเกษตร มีผลผลิต ทั้งยังต่อยอดไปสู่โครงการพลังชุมชน อบรมสร้างอาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า

 

ปัจจุบันขยายผลไป 500 ชุมชน กว่า 200,000 คน ใน 37 จังหวัด มีรายได้มั่นคง อาชีพยั่งยืน อีกทั้ง ยังแบ่งปันองค์ความรู้ และเป็นต้นแบบส่งต่อแรงบันดาลใจให้ชุมชนอื่น ๆ เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ด้วย 4 ความรู้คู่คุณธรรม ประกอบด้วย รู้เรา: รู้คุณค่าและพัฒนาศักยภาพของตนเอง สร้างมูลค่าจากสิ่งรอบตัว รู้เขา: เข้าใจลูกค้า เข้าใจตลาดอย่างลึกซึ้ง รู้จัดการ: วางแผนเพื่อการบริหารจัดการและบริหารความเสี่ยง รู้รัก-สามัคคี: สร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งพร้อมช่วยเหลือและแบ่งปัน

 

“เอสซีจี เชื่อมั่นว่าหากชุมชนลุกขึ้นมาพึ่งพาตนเอง ใช้ความรู้คู่คุณธรรม มีความรักสามัคคี และบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการวางแผน ทำให้มีน้ำกิน-ใช้ ทำการเกษตรและมีผลผลิตตลอดปี ขณะเดียวกันยังต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า ทำให้มีรายได้ อาชีพมั่นคง เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งและความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำสังคมได้อย่างยั่งยืน” วีนัส กล่าวสรุป

 

บ้านสาแพะ จ.ลำปาง เปลี่ยน 'ภัยแล้ง' เป็นทางรอด เพิ่มรายได้ชุมชน 5 เท่า