ทำความรู้จัก ‘SUCHADA’ (สุชาดา) สารสกัดจากใบไผ่ สู่บิ้วตี้โปรดักส์

ทำความรู้จัก ‘SUCHADA’ (สุชาดา) สารสกัดจากใบไผ่ สู่บิ้วตี้โปรดักส์

คณะวิทย์ฯ มธ.เปิดตัว‘SUCHADA’ (สุชาดา) ที่มีสารสกัด ‘ไอโซออเรียนติน’ (isoorientin)  จากใบไผ่สายพันธุ์ไทย ที่ถูกนำใช้ประโยชน์ด้านบิวตี้โปรดักส์ครั้งแรกของโลก

เดือนแห่งความรัก หลงรักตัวเองในกระจก! กับ 5 บิวตี้ไอเทมจากแลป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU)  กับแบรนด์ ‘SUCHADA’ (สุชาดา) สกินแคร์ตัวตึงฝีมือคนไทย ที่ช่วยทวงคืนความอ่อนเยาว์ให้ผิว ด้วยสารสกัดใบไผ่ ‘ซางหม่น’ อัดแน่นด้วยสรรพคุณฟื้นฟูให้ผิวฉ่ำน้ำ แข็งแรง ลดการเกิดสิว รอยดำจากฝ้า บำรุงผิวอักเสบ และยับยั้งความเสี่ยงจากมลภาวะในอากาศอย่าง PM 2.5 ได้

รศ.ดร.สุภกร บุญยืน อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า คณะวิทย์ฯ มธ. เปิดตัว ‘SUCHADA’ (สุชาดา) ที่มีสารสกัดจากใบไผ่สายพันธุ์ ‘ซางหม่น’ ที่พบได้ในประเทศไทย ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากโจทย์ของกลุ่มเกษตรกร จ.สระแก้ว ที่ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มของต้นไผ่

ทำความรู้จัก ‘SUCHADA’ (สุชาดา) สารสกัดจากใบไผ่ สู่บิ้วตี้โปรดักส์

โดยทีมวิจัยด้านเคมีได้ทำการศึกษาทุกส่วนของไผ่ จนพบว่าใบไผ่สายพันธุ์ดังกล่าวมีสารประกอบสำคัญเรียกว่า ‘ไอโซออเรียนติน’ (isoorientin)  ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (Anti-Bacteria) ชนิด E.coli และ S.aureus  สามารถฆ่าเชื้อไวรัส (Anti-Virus) ‘เดงกี’ (dengue virus) ที่นำไปสู่โรคไข้เลือดออกได้ และยังยับยั้งการอักเสบอของผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงนำมาต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จนออกมาเป็นสกินแคร์ที่มีศักยภาพสูงด้วยคุณสมบัติและบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม อีกทั้งยังเป็นการนำสารประกอบดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ได้เป็นครั้งแรกของโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

'ศรีจันทร์' ทรานส์ฟอร์มสินค้าความงามสู่ Beauty Solution

เทรนด์ ‘บิวตี้-เฮลตี้’แรง ดันเครื่องสำอางไทยโตสวนโควิด

ทรานส์ฟอร์ม 'ธุรกิจความงาม' ด้วยดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง

 

ชะลอวัย ฟื้นฟูผิว พร้อมยับยั้งทำลายผิวอย่างPM2.5

‘SUCHADA’ (สุชาดา) ได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ Biosafety Level 2 การทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง (Clinical Test) จำนวนกว่า 300 ราย ที่ประกอบด้วยเพศชาย เพศหญิง ในกลุ่มอายุต่าง ๆ ที่หลากหลาย ซึ่งพบว่าสารสกัด ‘ไอโซออเรียนติน’ (isoorientin)  ให้ผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน คือ ต้านสารอนุมูลอิสระ การชะลอวัย และยืดอายุเซลล์ ช่วยฟื้นฟูให้ผิวฉ่ำน้ำ ผิวแข็งแรง ลดการเกิดสิว รอยดำจากฝ้า และบำรุงผิวอักเสบ

อีกทั้งยังช่วยยับยั้งปัจจัยทำลายผิวอย่าง PM 2.5 ได้อีกด้วย โดยไม่พบผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ซึ่งปัจจุบันสารสกัด ‘ไอโซออเรียนติน’ (isoorientin)  ภายใต้แบรนด์ SUCHADA’ (สุชาดา) ได้รับการจดสิทธิบัตร และได้รับขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของผู้พัฒนาในนามของคณะวิทย์ฯ มธ.

ทำความรู้จัก ‘SUCHADA’ (สุชาดา) สารสกัดจากใบไผ่ สู่บิ้วตี้โปรดักส์

การพัฒนาสกินแคร์ภายใต้แบรนด์ ‘SUCHADA’ (สุชาดา) ของคณะวิทย์ มธ. ถือเป็นต้นแบบของการนำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์มาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจากภาคการเกษตร ซึ่งเป็นพืชสายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทย ที่ให้ผลลัพธ์ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างครบวงจร

โดยมีองค์ประกอบสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อยู่ด้วย ได้แก่ การลดขยะจากภาคเกษตรกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าเกษตร อีกทั้งยังสร้างมูลค่าให้กับงานวิจัยไทย ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยขณะนี้ผู้พัฒนามีแผนวางจำหน่าย ‘SUCHADA’ (สุชาดา) ที่ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นแห่งแรก

โดยตั้งราคาจำหน่ายไว้ที่เซทละ 1,000 บาท ได้ครบทั้ง 5 ชิ้น ได้แก่ 1.เซรั่ม 2.ครีมบำรุง 3.โฟมล้างหน้า 4.ไมเซล่า 5.ครีมกันแดด  เพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงบิวตี้โปรดักส์คุณภาพสูงในราคาที่จับต้องได้ โดยตั้งเป้ายอดขาย 10,000 ชิ้นภายในปีแรก

ทำความรู้จัก ‘SUCHADA’ (สุชาดา) สารสกัดจากใบไผ่ สู่บิ้วตี้โปรดักส์

 

เปิด 5ผลิตภัณฑ์ ดูแลผิวจากใบไผ่

ทั้งนี้ การวิจัยสกัดสารสำคัญ ‘ไอโซออเรียนติน’ (isoorientin) จากใบไผ่เพื่อพัฒนาเป็นครีมบำรุงและครีมกันแดด ได้รับรางวัลเหรียญทองจากเวที The 5th China (Shanghai) International Invention & Innovation Expo ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปีที่ผ่านมา (2022)

 “โดยทั่วไปต้นไผ่จะมีระยะเวลาเติบโตก่อนเก็บเกี่ยวลำต้นประมาณ 3 ปี ซึ่งระหว่างนั้นเกษตรกรจะไม่มีรายได้จากการเพาะปลูก และส่วนใหญ่เป็นของเหลือทิ้ง นั่นคือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสกินแคร์จากใบไผ่สายพันธุ์ไทย ภายใต้แบรนด์ ‘SUCHADA’ (สุชาดา) ซึ่งเป็นงานวิจัยที่นำมาสู่การใช้งานจริง และส่งผลดีทั้งภาคเกษตรกรรม การดูแลสิ่งแวดล้อม และการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรและงานวิจัยของไทย ซึ่งคณะวิทย์ มธ. พร้อมชู SUCHADA Model กับแนวคิดการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งต่อแนวคิดนี้ไปยังคนรุ่นใหม่ สร้างกำลังคนแห่งอนาคต (Future Workforce) ภายใต้แนวคิด ‘SCI+BUSINESS’ ปั้นเด็กวิทย์คิดประกอบการ ที่พร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อปลุกไฟในเส้นทางสายวิทยาศาสตร์ โดยตอบโจทย์ 3 เป้าหมายของ Gen Z ได้แก่ งานก้าวหน้า รายได้มั่นคง  และตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์” รศ.ดร.สุภกร กล่าว

ทำความรู้จัก ‘SUCHADA’ (สุชาดา) สารสกัดจากใบไผ่ สู่บิ้วตี้โปรดักส์

ปัจจุบันคณะวิทย์ มธ. กำลังจะเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ในรอบโควต้ารับตรง  ตั้งแต่วันที่ 1-20 มีนาคม 2566 โดยผู้สนใจศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ สามารถตรวจสอบคุณสมบัติ พร้อมรายละเอียดการรับสมัครและยื่นคะแนนใน TCAS รอบต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ http://student.mytcas.com หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคณะวิทย์ มธ. ได้ที่เว็บไซต์ www.tuadmissions.in.thhttps://www.facebook.com/SciTU/ หรือติดต่อ 02-5644490 ต่อ 2094