เช็ก 21 มาตรการ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2565 ลดต้น ลดดอก พักหนี้

เช็ก 21 มาตรการ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2565 ลดต้น ลดดอก พักหนี้

เช็ก 21 มาตรการ ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยปี 2565 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 7 แห่ง พักชำระหนี้ ลดเงินต้น ดอกเบี้ย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฎิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ปี 2565 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่

  1. ธนาคารออมสิน
  2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
  4. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)
  5. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
  6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
  7. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

รวม 21 มาตรการ ประกอบด้วย

  • มาตรการพักชำระหนี้ ลดเงินต้นและดอกเบี้ย และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวน 9 มาตรการ 
  • มาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อ จำนวน 10 มาตรการ
  • มาตรการสินไหมเร่งด่วน จำนวน 1 มาตรการ
  • มาตรการพักชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน และค่าจัดการค้ำประกันจำนวน 1 มาตรการ

เช็ก 21 มาตรการ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2565 ลดต้น ลดดอก พักหนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

เช็กรายละเอียด 21 มาตรการ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2565 ดังนี้

1. ธนาคารออมสิน จำนวน 5 มาตรการ ได้แก่

  • มาตรการพักชำระหนี้
  • มาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
  • มาตรการสินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ที่ประสบภัยพิบัติ
  • มาตรการสินเชื่อเคหะแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ
  • มาตรการสินเชื่อบุคคลแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ


2. ธ.ก.ส. จำนวน 3 มาตรการ ได้แก่

  • มาตรการขยายระยะเวลาชำระหนี้
  • มาตรการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ปี 2565-2566
  • มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต


3. ธอส. จำนวน 4 มาตรการ ได้แก่

  • มาตรการลดเงินงวดและลดอัตราดอกเบี้ย สำหรับลูกค้าปัจจุบัน
  • มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่
  • มาตรการประนอมหนี้ สำหรับลูกค้าที่ค้างชำระเงินงวดติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน หรือมีสถานะอยู่ระหว่างประนอมหนี้
  • มาตรการสินไหมเร่งด่วน สำหรับผู้มีกรมธรรม์ประกันภัย


4. ธพว. จำนวน 2 มาตรการ ได้แก่

  • มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
  • มาตรการสินเชื่อ SMEs Re-Start


5. ธอท. จำนวน 1 มาตรการ คือ มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุทกภัย 2565

6. ธสน. จำนวน 4 มาตรการ ได้แก่

  • มาตรการเพิ่มวงเงินหมุนเวียนชั่วคราว
  • มาตรการเพิ่มวงเงินกู้
  • มาตรการลดเงินต้นและดอกเบี้ย
  • มาตรการขยายระยะเวลาตั๋วสัญญาใช้เงิน


7. บสย. จำนวน 2 มาตรการ ได้แก่

  • มาตรการพักชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อและค่าจัดการค้ำประกัน
  • มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ บสย.


ทั้งนี้ มาตรการต่าง ๆ จะมีผลตั้งแต่วันที่ธนาคาร/สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้ออกประกาศเป็นต้นไป

รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฎิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำชับทุกส่วนราชการ ต้องสร้างการรับรู้ว่าประชาชนจะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอะไรบ้าง และเร่งดูแลเยียวยาโดยเร็วที่สุด พร้อมเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรการที่ขัดเจน ที่สามารถดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ขัดต่อกรอบนโยบายหรือกฎหมายด้วย