เปิดเกณฑ์ใหม่ “อุ้มบุญ” หญิง 55ปีอัพ - ต่างชาติ ทำได้ 

เปิดเกณฑ์ใหม่ “อุ้มบุญ” หญิง 55ปีอัพ - ต่างชาติ ทำได้ 

สบส.ออกเกณฑ์ใหม่ “อุ้มบุญ”  หญิงอายุเกิน 55 ปีทำได้   หญิงยังไม่แต่งงานบริจาคไข่ได้  เปิดช่องคู่สมรสต่างชาติมาทำในไทย  อยู่ระหว่างยกร่างก่อนชงเข้าครม. เผยที่ผ่านมาอนุญาตอุ้มบุญ 754 ราย สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 7,500 ล้านบาท

KEY

POINTS

  • กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) เผยไทยอัตราผสมเทียม ทำเด็กหลอดแก้ว และอุ้มบุญ สำเร็จกว่า 45 % 
  • ไทยอนุญาตให้มีการอุ้มบุญแล้ว 754 ราย สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 7,500 ล้านบาท และไม่ได้รับอนุญาตอีก 22 ราย
  • สบส.ยกร่างแก้ไขพ.ร.บ.อุ้มบุญ ปรับเกณฑ์ใหม่ ให้หญิงอายุมากกว่า  55 ปีทำได้ รวมถึงชาวต่างชาติสามารถเข้ามาทำอุ้มบุญในไทยได้ด้วย

สบส.ออกเกณฑ์ใหม่ “อุ้มบุญ”  หญิงอายุเกิน 55 ปีทำได้   หญิงยังไม่แต่งงานบริจาคไข่ได้  เปิดช่องคู่สมรสต่างชาติมาทำในไทย  อยู่ระหว่างยกร่างก่อนชงเข้าครม. เผยที่ผ่านมาอนุญาตอุ้มบุญ 754 ราย สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 7,500 ล้านบาท

ข้อมูลจำนวนการเกิดของคนไทย 10 ปีย้อนหลัง จากสำนักบริการหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (มท.) พบว่าลดลงอย่างต่อเนื่อง

  • ปี 2556 จำนวนเด็กเกิดใหม่ 782,129 คน
  •  ปี 2557 จำนวน 776,370 คน
  •  ปี 2558 จำนวน 736,352 คน
  • ปี 2559 จำนวน 704,058 คน
  • ปี 2560 จำนวน 703,003 คน
  • ปี 2561 จำนวน 666,366 คน
  •  ปี 2562 จำนวน 618,205 คน
  • ปี 2563 จำนวน 587,368 คน
  • ปี 2564 จำนวน 544,570 คน
  • และปี 2565 จำนวน 502,107 คน

ขณะที่ตั้งแต่ปี 2564 จำนวนการเกิดยังน้อยกว่าการตาย โดยปี 2564 จำนวนการตาย 563,650 คน และปี 2565 จำนวน 595,965 คน นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตราการเจริญพันธุ์รวม (Total Fertility Rate) หรือจำนวนบุตรโดยเฉลี่ยของผู้หญิง 1 คน ลดลงเหลือเพียง 1.08 ซึ่งต่ำกว่าที่เหมาะสมหรือระดับทดแทนคือ 2.1 และมีแนวโน้มที่จะลดลงต่อเนื่อง

อุ้มบุญสร้างรายได้ 7,500 ลบ.

เมื่อวันที่ 1 มี.ค.2567  ที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพนพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) แถลงข่าว “สบส. ส่งเสริมการมีบุตร ทางเลือกสำหรับผู้มีบุตรยากเพื่อเข้ารับบริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์” ว่า ปัจจุบันมีสถานบริการที่ให้บริการผสมเทียม เด็กหลอดแก้วและการอุ้มบุญ รวม 115 แห่ง เป็น รพ.รัฐ 17 แห่ง รพ.เอกชน 31 แห่งและคลินิกเอกชน 67 แห่ง การให้บริการมีบุตรยาก ประกอบด้วย

1.ผสมเทียนม ในคู่สมรสที่ยังสามารถมีบุตรได้ จะใช้วิธีการฉีดน้ำเชื้ออสุจิของสามี เข้าไปในโพรงมดลูกของภรรยา มีการให้บริการประมาณปีละ 12,000 รอบการรักษา
2.การผสมเด็กหลอดแก้ว ให้บริการประมาณปีละ 20,000 รอบการรักษา

3.อุ้มบุญ คู่สมรสที่ตั้งครรภ์เองไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมามีการให้อนุญาตแล้ว 754 ราย สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 7,500 ล้านบาท และไม่ได้รับอนุญาตอีก 22 ราย เนื่องจากการอุ้มบุญจะต้องดูความพร้อมจากหลายด้าน

ผลสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทั้ง 3 วิธีอยู่ที่ประมาณ 50 % แต่การอุ้มบุญจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ส่วนใหญ่ประชาชนจะเลือกใช้วิธีผสมเทียม เด็กหลอกแก้ว โดยนโนบายส่งเสริมการมีบุตร ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะมีผู้เข้ามารับบริการในแต่ละวิธีไม่น้อยกว่าปีละ 100 ราย

 “มีการแก้ไขเรื่องปรับเพดานอายุหญิงที่ประสงค์ให้มีการอุ้มบุญ  ปัจจุบันคนที่อยากจะมีลูก ก็เก็บไข่ไว้ตั้งแต่ 30 ปี บางรายสมรสตอนอายุ 60 ปี ก็จะสามารถเอาตัวอ่อนของตัวเองที่เก็บไว้ ไปผสมกับอสุจิของสามี หรือรับบริจาคอสุจิ แล้วนำไปฝากกับแม่อุ้มบุญตามกฎหมาย ส่วนควรฝากไข่ตอนอายุเท่าไร กรณีมารดาอายุไม่ควรเกิน 36 ปี จะมีความเสี่ยงเรื่องการคลอด เด็กเกิดมาจะมีปัญหาเรื่องสติปัญญา ช่วงเหมาะสมคือวัยเจริญพันธุ์คืออายุมากกว่า 18 - 35 ปีน่าจะเหมาะ และไข่มีคุณภาพ”นพ.สุระกล่าว   

ปี 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมินมูลค่าเศรษฐกิจเมดิคัล ฮับ มีรายได้ 3.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมากจากก่อนโควิดปี 2562 ที่มีรายได้ 2.2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีการขยายวีซ่า ถ้าเรื่องอุ้มบุญชาวต่างชาติมาทำในไทยเกิดขึ้น ประมาณว่าการทำก็น่าจะมากกว่าหลักล้านบาทในแต่ละเคส สมมติมา 100 คู่ ก็ 100 ล้านบาท ซึ่งต่างชาติน่าจะเข้ามาทำที่ไทย เพราะราคาถูกกว่าและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำได้ไม่แตกต่างกัน

อุ้มบุญหญิงอายุเกิน 55 ปีทำได้

ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีสบส. กล่าวว่า  ประเทศไทยมีอัตราความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ในปี 2567 เพิ่มขึ้นจาก ปี 2566 ประมาณ 2.5 % เพิ่มขึ้นจาก 46 % เป็น 48 %  

ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ  2567 กรม สบส.ได้วางนโยบาย แผนการดำเนินงาน สำคัญมากมายในการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพ และส่งเสริมให้ผู้มีบุตรยากสามารถเข้าถึงบริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของไทย โดยสบส.อยู่ระหว่างการจัดทำ ร่างพ.ร.บ. คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. … ฉบับใหม่  ได้แก่

1. การปรับแก้ไขคุณสมบัติผู้รับบริจาคไข่ ให้ญาติสืบสายโลหิตของภริยา ที่มีอายุระหว่าง 20 – 40 ปี และไม่จำเป็นจะต้องผ่านการสมรสสามารถเป็นผู้บริจาคไข่ได้
เปิดเกณฑ์ใหม่ “อุ้มบุญ” หญิง 55ปีอัพ - ต่างชาติ ทำได้ 

2.การตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อนของภริยาที่มีอายุ 35 ปี  สามารถตรวจวินิจฉัยได้ตามที่แพทย์หรือผู้ให้บริการเห็นว่ามีความจำเป็นและสมควร

3.การปรับแก้เพดานอายุหญิงที่เป็นภรรยาที่ประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์แทนโดยหญิงอื่น หรือการให้หญิงอื่นอุ้มท้องแทน จากเดิมหญิงอายุเกิน 55 ปี ไม่สามารถให้หญิงอื่นอุ้มบุญแทนได้ ตอนนี้มีการปลดล็อคให้อายุมากกว่า 55 ปี สามารถดำเนินการได้

ต่างชาติมาทำอุ้มบุญในไทยได้

4. เดิมในกฎหมายระบุว่าหญิงหรือชายจะต้องเป็นคนไทย แต่อนุกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฯ รายมาตรา ได้มีการเสนอให้สามารถอนุญาตให้ชาวต่างชาติ ที่เป็นคนต่างชาติทั้งคู่ เข้ามารับบริการทำอุ้มบุญในประเทศไทย ซึ่งหญิงที่จะใช้อุ้มบุญนั้นคู่สมรสสามารถพามาเองได้ หรือสามารถใช้หญิงไทยในการตั้งครรภ์แทน แต่ทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามกลไกกฎหมาย และตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

 “ขณะนี้เป็นที่จับตาของชาวต่างชาติ  หาก ร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่สำเร็จและเปิดให้ต่างชาติมาทำอุ้มบุญแบบถูกกฎหมาย กลไกของเศรษฐกิจสุขภาพน่าจะเข้ามาพอสมควร อย่างไรก็ตาม จะมีแนวทางป้องกันการลักลอบค้ามนุษย์ จะมีรายละเอียดแนวทางต่างๆ ที่จะป้องกัน การค้ามนุษย์ในประเทศไทยหรือการส่งออกมนุษย์ไปต่างประเทศ”ทพ.อาคมกล่าว 

ประกันสุขภาพอุ้มบุญ  

ทพ.อาคม กล่าวอีกว่า  กรมยังส่งเสริมสิทธิประโยชน์ในการรักษาภาวะผู้มีบุตรยาก โดยการส่งเสริมและผลักดันให้มีการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนที่เกี่ยวข้องกรณีเข้ารับบริการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากจากสถานพยาบาลภาครัฐ โดยกำหนดจำนวนเงินและเงื่อนไขที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเบิกค่ารักษาได้

รวมถึง การพัฒนาระบบประกันสุขภาพ สำหรับกรณีการตั้งครรภ์แทน ดำเนินการยกร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ในการทำประกันสุขภาพสำหรับกรณีการตั้งครรภ์แทน ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่น และเป็นจุดดึงดูดในการตัดสินใจเข้ารับบริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยจากคู่สามีภริยาทั้งไทยและต่างชาติ ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และ สมาคมประกันภัย อยู่ระหว่างหารือเรื่องกรมธรรม์กันอยู่ คาดว่าในเร็วๆนี้จะสามารถนำเสนอเรื่องกสนทำประกันของหญิงตั้งครรภ์แทน