ด่วนที่สุด ส่งถึง'หมอชลน่าน' จี้แก้ปัญหาเรื้อรังระบบหลักประกันสุขภาพ

ด่วนที่สุด ส่งถึง'หมอชลน่าน' จี้แก้ปัญหาเรื้อรังระบบหลักประกันสุขภาพ

4 องค์กรรพ.ส่งเรื่องด่วนที่สุดถึง 'หมอชลน่าน' จี้แก้ปัญหาเรื้อรังระบบหลักประกันสุขภาพฯ สปสช.จ่ายค่าบริการผู้ป่วยนอกแก่คลินิกชุมชนอบอุ่น เพียงร้อยละ 57 – ดึงเงินค่าบริการผู้ป่วยในกลับจากรพ.สธ. กว่า 2,200 ล้านบาท ด้านสปสช.แจง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 องค์กรหน่วยบริการสาธารณสุข 4 องค์กร ประกอบด้วย ชมรมโรงพยาบาลสถาบันกรมการแพทย์ ชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป  สมาคมคลินิกชุมชนอบอุ่น และเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย(UHosNet)

ทำหนังสือด่วนที่สุด ถึงประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่ากระทรวงสาธารณสุข คือ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว  เรื่อง  ข้อเท็จจริงและข้อเสนอประกอบการแก้ปัญหาเรื้อรังจากการบริหารจัดการของสปสช.ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 

ลงนามโดยนพ.เกรียงไกร นามไธสง ประธานชมรมโรงพยาบาลสถาบันกรมการแพทย์ ,นพ.อนุกูล ไทยถานันดร์ ประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป  พญ.นันทวัน ชอุ่มทอง นายกสมาคมคลินิกชุมชนอบอุ่น และรศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ประธานคณะกรรมการอำนวยการเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย(UHosNet)
สาระสำคัญ ระบุว่า  1.ในระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในกทม. สปสช.เขต13 และ อปสข. เขต13 มีการปรับระบบบริการที่ผิดพลาดจากโมเดล 2 เป็นโมเดล 5 ในปีงบประมาณ 2564 ส่งผลกระทบให้มูลค่าการบริการเกินกว่าการบริการเกือบ 300 ล้านบาท

ตัวอย่างเช่น สปสช.จ่ายบริการชดเชยค่าบริการผู้ป่วยนอกแก่คลินิกชุมชนอบอุ่น เพียงร้อยละ 57 ของค่าบริการจริง ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2567 ปรากฎว่ามีการจ่ายค่าบริการในไตรมาสแรกเกินกว่า ร้อยละ 50 ของงบประมาณ ซึ่งมีแนวโน้มว่าในปีงบประมาณ 2567  จะมีปัญหาเช่นเดียวกับปี 2566

ด่วนที่สุด ส่งถึง\'หมอชลน่าน\' จี้แก้ปัญหาเรื้อรังระบบหลักประกันสุขภาพ

 ทางเครือข่ายมีข้อเสนอแนะหยุดใช้ โมเดล 5 ในกทม.โดยเร็ว และกลับไปใช้โมเดล 2 และแนะนำให้จัดสรรงบประมาณค่าบริการผู้ป่วยนอกเพิ่มเติมให้เพียงพอสำหรับการบริการใน 3 ไตรมาส ที่เหลือของปีงบประมาณ 2567 และจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ในอัตราปกติ

ไม่ควรขยายการบริหารที่มีลักษณะคล้ายโมเดล 5 ออกไปนอกกทม. และปรับกลไกการกำกับและดูแลในสถานการณ์ที่มีการประเมินวงเงินหรือการบรการงบประมาณไม่เป็นไปตามแผน หากผลการเบิกค่าบริการปลายปีเพิ่มมากเกินวงเงิน เป็นจากการเพิ่มสิทธิประโยชน์ ต้องมีกลไกด้านจัดการงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อเยียวยาสถานพยาบาล 
จ่ายเงินให้ต่ำกว่าต้นทุน

2. ในระบบบริการสุขภาพในภูมิภาค ซึ่งดำเนินการโดยสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขเกือบร้อยละ100 นั้น ปรากฏปัญหาโดยสังขปจากการบริหารงานของ สปสข. ดังนี้

ค่าบริการเหมาจ่ายรายหัวที่ สปสช. จ่ายให้ต่ำกว่าต้นทุนอย่างมาก เมื่อปี พ.ศ. 2561 มีการศึกษาต้นทุนในหน่วยบริการโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปของกระทรวงสาธารณสุข

 พบว่าต้นทุนบริการผู้ป่วยในเท่ากับ 13,142 บาทต่อ 1 AdjRw ในขณะที่ สปสช. ยังคงจ่ายในอัตรา 8,350 บาทต่อ 1 AdjRW หรือเพียงร้อยละ 63 ของต้นทุนบริการมาตลอดในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการปรับเพิ่มอัตราจ่ายให้หน่วยบริการแม้ สปสช. จะได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี


รวมถึง  ในปีงบประมาณ 2566 สปสช. คาดการณ์บริการผู้ป่วยใน ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก เพราะในสถานการณ์วิกฤตโควิด ผู้ป่วยถูกเลื่อนจำนวนมาก มีผู้ป่วยตกค้างจำนวนมาก เมื่อสถานการณ์คลี่คลายยอดบริการผู้ป่วยในจึงสูงขึ้นอย่างมาก สปสช. ไม่เคยมีการประสานกับหน่วยบริการในการประเมินฉากทัศน์การบริการร่วมกัน จึงส่งผลให้การประมาณการในด้านการบริการ และงบประมาณไม่เท่าทันกับสถานการณ์จริง

 สปสช. ใช้วิธีแก้ปัญหานี้ด้วยวิธีเดิมๆ โดยการดึงเงินค่าบริการผู้ป่วยในกลับจากโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 710 แห่ง รวมเป็นเงินกว่า 2,200 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการจ่ายค่าบริการเพียงจำวน 7,678 บาทต่อ 1 AdjRW (58% ของตันทุน) โรงพยาบาลที่ให้บริการจำนวนมาก กลับถูกหักเงินคืนมากขึ้น

ทางเครือข่ายสถานพยาบาลฯมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

  • ใช้เงินจากกองทุนรายได้สูง(ต่ำกว่ารายจ่ายสะสม เนื่องจากเป็นการให้บริการเกินเป้าหมายจริง
  •  ค่ารักษาส่วนที่เกินจากการประมาณการ สปสช.ควรแสดงความรับผิดชอบและมีมาตรการในการจัดหางบประมาณมาชดเชยให้หน่วยบริการ มิใช่ผลักภาระให้หน่วยบริการตังที่เคยปฏิบัติมาเป็นประจำ
  • สปสช.ต้องลงบัญชีเป็นลูกหนี้ของโรงพยาบาลจากเงินที่เคยเรียกคืน ไม่ใช่ลงบัญชีว่าโรงพยาบาลเป็นลูกหนี้ของ สปสข. ดังเช่นปัจจุบัน
  • สปสช. ต้องลดขั้นตอนและลดการกำหนดข้อมูลที่มากเกินความจำเป็น รวมทั้งลดขั้นตอนเหลือเท่าที่จำเป็น เพื่อลดภาระของหน่วยบริการและลดการส่งชุดข้อมูลหลายระบบ โรงพยาบาลทุกแห่งจัดส่งข้อมูลผ่านกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น
    ด่วนที่สุด ส่งถึง\'หมอชลน่าน\' จี้แก้ปัญหาเรื้อรังระบบหลักประกันสุขภาพ

ขอให้ตั้ง Provider Board

3.สนับสนุนและขอให้เร่งรัดจัดตั้งเครือข่ายสถานพยาบาลฯ หรือ Provider Board ซึ่งเป็นผู้ให้บริการจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อการอภิบาลระบบสุขภาพของประเทศ ให้มีความโปร่งใสและธำรงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไปได้

มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกองทุนและหน่วยบริการ ใช้ข้อมูลการบริการจริงในการคำนวณวงเงินงบประมาณ บนหลักความสมเหตุผลทางการแพทย์ ร่วมไปกับความสมเหตุสมผลทางการเงิน ไม่ถ่ายโอนความเสี่ยงโดยเฉพาะความเสี่ยงทางการเงินไปให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างไม่มีธรรมาภิบาลหรือสมเหตุสมผล หรือไม่ผ่านการตกลงร่วมกัน
“หมอชลน่าน”พร้อมพิจารณาข้อเสนอ

     ด้านนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานบอร์ดสปสช. กล่าวว่า  ต้องขอดูข้อเสนอของทาง UHosNet และทางเครือข่ายคลินิกชุมชนอบอุ่นก่อน ซึ่งเรื่องนี้ก็เคยไปพบ เพื่อรับฟังปัญหาเรื่องการจัดบริการและค่าใช้จ่าย มีการนำเสนอมาหลายเรื่อง จึงบอกว่าขอให้นำเสนอมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ตนในฐานะ บอร์ด สปสช. จะได้นำเข้ามาพิจารณาในรูปของกรรมการ ทั้งอนุกรรมการหรือบอร์ดใหญ่ ทราบว่าจะมายื่นวันที่ 14 ก.พ.นี้ก็จะดูในรายละเอียด
ด่วนที่สุด ส่งถึง\'หมอชลน่าน\' จี้แก้ปัญหาเรื้อรังระบบหลักประกันสุขภาพ
สปสช.เตรียมปรับระบบจ่ายเงินใหม่

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีที่คลินิกชุมชนอบอุ่นในพื้นที่ กทม. หลายแห่งรวมตัวแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เนื่องจากการบริหารงบประมาณผู้ป่วยนอก OP Model 5 มีงบประมาณไม่เพียงพอ โดยวงเงินจ่ายชดเชยในปี 2566 อยู่ที่ 0.57 บาท/point จากมาตรฐาน 1 บาท/point 

และในปี 2567 เบื้องต้นจ่าย 0.7บาท/point ซึ่งเป็นอัตราที่คลินิกชุมชนอบอุ่นได้รับเงินน้อยลงกว่าปีก่อนหน้า ซึ่ง นพ.จเด็จ กล่าวว่า สปสช. ได้รับทราบเสียงสะท้อนของคลินิกชุมชนอบอุ่นและได้มีการหารือกันในคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่ (อปสข.) เขต 13 กทม. เพื่อหาทางออกที่เป็นที่พึงพอใจร่วมกันระหว่าง สปสช. และ คลินิกชุมชนอบอุ่นที่อยู่ในเครือข่าย

ทั้งนี้ เบื้องต้น สปสช. เตรียมปรับระบบการจ่ายเงินชดเชยใหม่ รวมทั้งจะจัดทีมลงพื้นที่คลินิกชุมชนอบอุ่นทุกโซนของพื้นที่ กทม. เพื่อพูดคุยหารือรับฟังปัญหากับทางตัวแทนของคลินิกชุมชนอบอุ่น