โรคอีสุกอีใส โรคใกล้ตัวที่ป้องกันได้ 

โรคอีสุกอีใส โรคใกล้ตัวที่ป้องกันได้ 

สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ โรคอีสุกอีใส ที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Varicella zoster ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด โรคอีสุกอีใสมักเป็นในเด็ก โดยมากพบในกลุ่มเด็กอายุ ระหว่าง 5-12 ปี รองลงมาเป็นกลุ่มเด็กอายุ 1-4 ปี แต่งูสวัดมักเป็นในผู้ใหญ่

สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ สร้างความรู้ความเข้าใจประชาชนเกี่ยวกับโรคอีสุกอีใส ที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Varicella zoster ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด โรคอีสุกอีใสมักเป็นในเด็ก โดยมากพบในกลุ่มเด็กอายุ ระหว่าง 5-12 ปี รองลงมาเป็นกลุ่มเด็กอายุ 1-4 ปี แต่งูสวัดมักเป็นในผู้ใหญ่  

นพ.ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์  กล่าวว่า โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย โดยติดต่อได้ด้วยการไอ จามหรือหายใจรดกัน หรือโดยการสัมผัส ตลอดจนการใช้ของร่วมกับผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใส หรืองูสวัด ซึ่งปกติเชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 2-3 สัปดาห์ โรคอีสุกอีใสจะระบาดในช่วงปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน (มกราคมถึงเมษายน)

โรคอีสุกอีใส โรคใกล้ตัวที่ป้องกันได้ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

แพทย์ชี้ผู้ป่วย 'อีสุกอีใส' ระวังโรคแทรกซ้อน

"หมอยง" เผยข้อควรรู้ "ฝีดาษลิง" ลักษณะตุ่มแตกต่างจาก โรคสุกใส

แพทย์แนะฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดในผู้สูงอายุ

 

เช็กอาการ-อาการแทรกโรคอีสุกอีใส

อาการของโรคอีสุกอีใสที่พบ ได้แก่

1.ระยะแรกขึ้นเป็นผื่นแดงราบ ต่อมาจะขึ้นเป็นตุ่มใส ตุ่มจะค่อยๆ อุ่นขึ้นคล้ายหนอง แล้วกระจายไปตามใบหน้า ลำตัว แผ่นหลังและช่องปาก

2.อีก 2-3 วันต่อมาจะตกสะเก็ด อาจมีอาการเจ็บคอ

3.ในเด็กเล็กจะมีไข้ต่ำ อ่อนเพลียและเบื่ออาหารเล็กน้อย

4.ในผู้ใหญ่จะมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามลำตัวคล้ายหวัด

5.ผื่นขึ้นพร้อมๆ กับวันที่เริ่มมีไข้ หรือหนึ่งวันหลังจากมีไข้

6.บางรายมีตุ่มขึ้นในช่องปาก ทำให้ปากและลิ้นเปื่อย

โรคอีสุกอีใส โรคใกล้ตัวที่ป้องกันได้ 

อาการแทรกซ้อน ดังนี้

1.การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผิวหนัง ทําให้กลายเป็นหนองและมีแผลเป็น

2.ในรายที่มีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อไวรัสอีสุกอีใส อาจกระจายไปยังอวัยวะภายใน เช่น ปอด สมอง ตับ

3.หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้ออีสุกอีใส ในช่วง 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์อาจทําให้ทารกในครรภ์พิการได้ 


รักษาโรค และข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคอีสุกอีใส 

นพ.สุตศรัญย์ พรึงลำภู แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง สถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า การรักษาโรคอีสุกอีใส สามารถรักษาได้ ดังนี้

1.ในรายที่เป็นไม่มาก อาจดูแลตนเองที่บ้านได้ หากมีไข้ให้รับประทานยาพารา   เซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะจะทำให้เกิดอาการทางสมองและตับ ใช้ยาลดอาการคัน พักผ่อนและดื่มนํ้ามากๆ

2.กรณีที่มีไข้สูง มีผื่นขึ้นตามตัวมาก มีการติดเชื้อแทรกซ้อน มีอาการหอบ ชัก ซึม ต้องพบแพทย์

3.ในรายที่เป็นรุนแรง หรือผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่เป็นโรคเอดส์ มะเร็งหรือมีโรคประจำตัว จะทำให้โรคอีสุกอีใสมีอาการรุนแรงได้มาก และเกิดการแพร่กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ ต้องปรีกษาแพทย์เพื่อลดอาการรุนแรงของโรค

โรคอีสุกอีใส โรคใกล้ตัวที่ป้องกันได้ 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคอีสุกอีใส คือ

1.โรคนี้เมื่อเป็นแล้วหากร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำและเกิดการกระตุ้นขึ้น มีโอกาสเป็นโรคงูสวัดได้ภายหลัง

2.ระยะแพร่เชื้อจะเริ่มตั้งแต่ 24 ชั่วโมงก่อนที่ผื่นหรือตุ่มขึ้น จนตุ่มแห้งหมด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6-7 วัน ควรหยุดงานหรือหยุดเรียนเพื่อป้องกันการติดต่อ

3.โรคนี้ไม่มีของแสลง

4.ปัจจุบันโรคอีสุกอีใสป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน

5.การเกาหรือแกะตุ่มพุพองของโรคอีสุกอีใส อาจจะทำให้เกิดรอยแผลเป็นอย่างถาวร