อัปเดต จุด 'ฉีดวัคซีนโควิด-19' ปี 2566 'หลังสงกรานต์' ฉีดที่ไหน

อัปเดต จุด 'ฉีดวัคซีนโควิด-19' ปี 2566 'หลังสงกรานต์' ฉีดที่ไหน

แม้ปัจจุบัน จะมีการเปิดประเทศและกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่โควิด-19 ก็ยังคงอยู่ มีการคาดการณ์ว่า หลังสงกรานต์ ตัวเลขผู้ป่วยจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากกิจกรรมมีการใกล้ชิดและไม่ได้สวมหน้ากาก สธ. ยังคงแนะนำให้ 'ฉีดวัคซีนโควิด-19' และเฝ้าระวังอาการอย่างน้อย 7 วัน

Key point : 

  • หลังจากเทศกาลสงกรานต์มีการคาดการณ์ว่าผู้ป่วยโควิด-19 จะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เนื่องจากกิจกรรมมีการใกล้ชิดและไม่ได้สวมหน้ากาก
  • โควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16 ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในอินเดียนั้น ยังไม่พบว่ามีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนอื่นๆ
  • อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังสงกรานต์ สธ. ยังคงแนะนำให้ประชาชน ฉีดวัคซีนโควิด-19 สวมหน้ากากอนามัย และตรวจ ATK พร้อมกับสังเกตอาการอย่างน้อย 7 วัน

 

หลังสงกรานต์  กระทรวงสาธารณสุข มีการคาดการณ์ว่า จะพบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มขึ้นมากกว่าในช่วงปีใหม่ โดย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยว่า เทศกาลสงกรานต์ปีนี้ กลับมามีกิจกรรมรวมตัวคนจำนวนมาก เช่น การสังสรรค์ในครอบครัว รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ โดยเฉพาะการเล่นน้ำสงกรานต์ที่มีการจัดในหลายพื้นที่ หลังงดเว้นในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 มาหลายปี ซึ่งระหว่างทำกิจกรรมมีการใกล้ชิดและไม่ได้สวมหน้ากาก จึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อและทำให้พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ได้ ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ 

 

เมื่อดูรายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 9 - 15 เมษายน 2566 พบว่า ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) จำนวน 435 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 62 ราย/วัน ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์) จำนวน 2 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 0 ราย/วัน ผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล สะสม 5,483 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566) ผู้เสียชีวิต สะสม 273 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566) 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

สายพันธุ์ XBB.1.16 น่ากังวลมากแค่ไหน 

 

ทั้งนี้ สายพันธุ์โควิด-19 ที่ถูกพูดถึงและอาจสร้างความกังวลในขณะนี้ คือ XBB.1.16 ที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกันทั่วโลก โดยพบว่าในประเทศอินเดีย มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

อย่างไรก็ตาม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ เครือข่ายห้องปฏิบัติการ ซึ่งเฝ้าระวังสายพันธุ์ของเชื้อโควิด 19 อย่างต่อเนื่อง เผยว่า ขณะนี้สายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในประเทศไทยยังอยู่ในตระกูลโอมิครอน โดยสายพันธุ์หลักเป็นสายพันธุ์ลูกผสม XBB และพบ XBB.1.5 และ XBB.1.9.1 มีแนวโน้มสูงขึ้น

 

ส่วน XBB.1.16 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเชื่อว่า มีแนวโน้มแทนที่สายพันธุ์อื่นๆ ทั้งหมดในที่สุด หรือกลายมาเป็นสายพันธุ์หลักที่จะระบาดในช่วงต่อไป แต่ยังไม่พบว่ามีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนอื่นๆ และยังไม่พบว่ามีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้มากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์อื่นๆที่พบในช่วงเวลานี้เช่นกัน

 

สำหรับ ข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 ในไทย จำนวน 6 ราย เบื้องต้นพบว่าเป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ อยู่ในวัยทำงาน และอาการป่วยไม่รุนแรง ส่วนอาการสำคัญของ XBB.1.16 ที่ประเทศอินเดียรายงานว่ามีเยื่อบุตาอักเสบ ยังไม่มีรายงานในผู้ป่วยที่พบในไทย อย่างไรก็ตาม อาการของโควิด จะมีอาการตัวร้อน เป็นไข้ บางรายก็จะมีอาการระคายเคืองตามใบหน้า หรือดวงตาได้

 

 

แนะฉีด วัคซีนโควิด-19 ประจำปี 

 

สำหรับ หลังเทศกาลสงกรานต์ กระทรวงสาธารณสุข แนะนำประชาชน ให้สังเกตอาการตนเอง 7 วัน ระหว่างนี้หลีกเลี่ยงใกล้ชิดผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หากมีอาการป่วยให้ตรวจ ATK ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ได้วางแนวทางป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19 สำหรับประชาชน 3 มาตรการ คือ

1.ทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำปี โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถรับวัคซีนทั้ง 2 ชนิดพร้อมกัน เริ่มเดือนพฤษภาคม 2566 นี้ จะช่วยลดการป่วยหนักและเสียชีวิตได้

ส่วนผู้ที่ภูมิคุ้มกันขึ้นไม่ดี สามารถรับภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Long Acting Antibody : LAAB) ซึ่งยังคงมีประโยชน์สำหรับผู้ที่รับวัคซีนแล้วไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ โดยกรมควบคุมโรคได้จัดส่งวัคซีนและ LAAB ให้สถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขไว้ฉีดประชาชนอย่างเพียงพอ

2.สวมหน้ากากในที่สาธารณะ โดยเฉพาะเมื่อร่วมกิจกรรมหรือไปสถานที่ที่มีกลุ่ม 607 จำนวนมาก เช่น โรงพยาบาล สถานดูแลผู้สูงวัย 

3.ให้ตรวจ ATK เมื่อป่วยมีอาการทางเดินหายใจ ไข้ ไอ เจ็บคอ หากผลเป็นบวก ให้สวมหน้ากากเมื่อใกล้ชิดผู้อื่น หลีกเลี่ยงใกล้ชิดกลุ่ม 608 สถานที่มีคนจำนวนมาก หากอาการมากขึ้น เช่น เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อรักษาในโรงพยาบาล

 

สำหรับกลุ่ม 608 หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไวรัสและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด กรณีที่มีสมาชิกครอบครัว เพื่อน/เพื่อนนักเรียน/เพื่อนร่วมงานที่ตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวกในช่วง 1-2 สัปดาห์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค

 

วัคซีนโควิด-19 ฉีดที่ไหน 

 

โรงพยาบาลตากสิน 

โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ให้บริการฉีดวัคซีนรุ่นใหม่ Pfizer Bivalent (ฝาสีเทา) ที่งานอนามัยชุมชน ชั้น 2

  • ให้บริการทุกวันตั้งแต่วันนี้ - 30 เมษายน ตั้งแต่เวลา 8.00-15.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
  • สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ (Package for tourists) 1,380 Baht
  • สำหรับประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ อายุ 12 ปี ขึ้นไป ที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย สามารถมารับบริการฉีดวัคซีน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
  • รับ Walk In หรือจองผ่านแอปพลิเคชั่น QueQ
  • สอบถามเพิ่มเติมงานอนามัยชุมชนโทร 024370123 ต่อ 1115,1242

 

อัปเดต จุด \'ฉีดวัคซีนโควิด-19\' ปี 2566 \'หลังสงกรานต์\' ฉีดที่ไหน

 

โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ

 

  • เปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19
  • วันที่ 3, 10, 20, 24 และ 27 เมษายน 2566
  • ณ ห้องตรวจประกันสังคม เวลา 13.00 - 15.00 น.
  • โดยสามารถ จองผ่าน App Queq

 

Pfizerฝาแดง ในเด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี 11 เดือน 29 วัน

  • วันที่ 27 เมษายน 2566
  • สามารถลงทะเบียนที่ ห้องตรวจเด็ก อาคารอเนกประสงค์
  • หรือ ติดต่อเวลานัดได้ที่ ศูนย์ BFC ของโรงพยาบาล
  • โทร 02-429-3575 ถึง 81 กด 0 (ในวันและเวลาราชการ)

อัปเดต จุด \'ฉีดวัคซีนโควิด-19\' ปี 2566 \'หลังสงกรานต์\' ฉีดที่ไหน

 

 

โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร

โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการจุดฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำเดือนเมษายน 2566 ทุกเข็ม สำหรับอายุ 12 ปี ขึ้นไป

  • เข็มที่ 1-3 พิจารณาตามระยะเวลาการได้รับวัคซีน
  • ตั้งแต่เข็มที่ 4 เป็นต้นไป (ระยะเวลาห่างอย่างน้อย 4 เดือน)
     

เปิดจุดฉีดวัคซีนโควิด-19

  • วันจันทร์ เวลา 09.00 - 14.00 น. walk in จำนวน 100 ราย
  • วันอังคาร เวลา 09.00 - 12.00 น. รับเฉพาะจองผ่าน ระบบ QueQ จำนวน 50 ราย
  • ชาวต่างชาติ มีค่าบริการ*ตามประกาศ เรื่อง อัตราค่าบำรุงการตรวจวิเคราะห์และให้บริการด้านการป้องกันและควบคุมโรค กรมควบคุมโรค ลงวันที่ 10 มกราคม 2566
  • ชาวไทย ไม่เสียค่าบริการ

 

สิ่งที่ต้องนำมาในวันที่ฉีดวัคซีน

1.บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง

2. passport และหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

  • ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-1800-201 ถึง 3 ต่อ 112

 

อัปเดต จุด \'ฉีดวัคซีนโควิด-19\' ปี 2566 \'หลังสงกรานต์\' ฉีดที่ไหน

 

โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์

โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการฉีดวัคซีนป้องกัน Covid-19 เดือนเมษายน 2566 เปิดบริการ ทุกวันจันทร์ (วันทำการ) เวลา 13.00-16.00 น.

ขั้นตอนการรับบริการ

1. ยื่นบัตร (คลินิกวัคซีนผู้ใหญ่) ชั้น 1
2. ยืนยันตัวตนที่ชั้น 1
3. ตรวจคัดกรอง (ห้องประกันสังคม ชั้น 2)
4. ติดต่อการเงิน ชั้น 2
5. ฉีดวัคซีน
6. รับหนังสือรับรอง/ใบนัด

วัคซีนสำหรับชาวต่างชาติ
ฟรี! สำหรับผู้ถือใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

  • อัตราค่าบริการวัคซีนไฟเซอร์ 1,330 บาท
  • อัตราค่าบริการวัคซีนแอสตราฯ 1,130 บาท

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0–2988-4100 กด 197 ประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์

 

อัปเดต จุด \'ฉีดวัคซีนโควิด-19\' ปี 2566 \'หลังสงกรานต์\' ฉีดที่ไหน

 

 

โรงพยาบาลสิรินธร

โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ชวนฉีดวัคซีนโควิด 19 ค่าบริการตามสิทธิ์การรักษาพยาบาล

  • บริการฉีดวัคซีน Pfizer ฝาส้ม สำหรับผู้ที่อายุ 5 – 11 ปี
  • บริการวัคซีน Pfizer ฝาเทา (bivarent) สำหรับผู้ที่อายุ 12 ปีขึ้นไป

**ขอสงวนสิทธิ์การให้บริการตามเงื่อนไขที่กำหนด**

(ตามวันและเวลาในระบบ QueQ) โดยลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น QueQ

ขั้นตอนการจองคิวฉีดวัคซีน

1. สแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อดาวน์โหลดแอปฯ QueQ

2. เลือกศูนย์ฉีดวัคซีน กทม.

3. เลือกศูนย์ฉีดวัคซีน (ตามอายุที่ต้องการ) โรงพยาบาลสิรินธร

4. กรอกข้อมูล

5. เลือกวันและเวลาที่ต้องการจอง กดยืนยัน

 

สิ่งที่ต้องเตรียมมา

1. สูติบัตร / บัตรประชาชนตัวจริงเท่านั้น / หนังสือเดินทาง (Passport)

2. หลักฐานการจองคิวผ่านแอพพลิเคชั่น QueQ

3. บัตรโรงพยาบาล (ถ้ามี)

4. เอกสารรับรองการได้รับวัคซีนโควิด 19 (ถ้ามี)

5. ปากกาส่วนตัว

วันที่มารับบริการ ติดต่อจุดลงทะเบียนวัคซีน (เวชระเบียน) ชั้น 1 อาคารบริการ โรงพยาบาลสิรินธร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 023286901-19 ต่อ 10294 ในวันและเวลาราชการ 

 

อัปเดต จุด \'ฉีดวัคซีนโควิด-19\' ปี 2566 \'หลังสงกรานต์\' ฉีดที่ไหน

 

โรงพยาบาลคลองสามวา

โรงพยาบาลคลองสามวาสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เปิด walk-in ฉีดวัคซีนโควิด-19 Pfizer

  • สำหรับผู้มีอายุ 12 ปีขึ้นไป
  • วันพฤหัสบดี เวลา 13.00-14.00 น.
  • ยกเว้น วันหยุดนักขัตฤกษ์
  • ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2566 ต้นไป (จำกัดวันละ 60 ราย)

 

อัปเดต จุด \'ฉีดวัคซีนโควิด-19\' ปี 2566 \'หลังสงกรานต์\' ฉีดที่ไหน

 

ศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ทั้ง 69 แห่ง 

วัคซีนที่ให้บริการ 

- Pfizer 

  • ฝาสีแดง
  • ฝาสีส้ม
  • ฝาสีม่วง
  • ฝาสีเทา (Bivalent) ใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น สำหรับผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป

- วัคซีน AstraZeneca 
- ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) 

 

วันเวลาให้บริการ

  • เปิดให้บริการทุกวันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • ตั้งแต่เวลา 13.00 – 15.00 น.
  • ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง
  • สามารถเข้ารับบริการโดยจองคิวฉีดวัคซีนผ่านแอปพลิเคชัน QueQ หรือ Walk in 
  • กรุณาสอบถามศูนย์บริการฯ ก่อนเข้ารับบริการ เนื่องจากวัคซีนมีจำนวนจำกัด 

 

อัปเดต จุด \'ฉีดวัคซีนโควิด-19\' ปี 2566 \'หลังสงกรานต์\' ฉีดที่ไหน