ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยไทยพบผู้ติดเชื้อ โควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16 แล้ว 6 ราย

ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยไทยพบผู้ติดเชื้อ โควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16 แล้ว 6 ราย

ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยไทยพบผู้ติดเชื้อ โควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16 แล้ว 6 ราย ชี้ในอินเดียเด็กทารกที่ติดเชื้อมีอาการเด่นคือ มีเยื่อบุตาอักเสบ มีอาการคันตา ขี้ตาเหนียว ทำให้ลืมเปลือกตาไม่ขึ้น

เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2566 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล (รพ.)รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผ่านเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุ ระวัง! การระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม XBB.1.16 ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อแล้ว 6 ราย

นอกจากนี้ ยังพบการติดเชื้อ XBB.1.16.1 ที่เริ่มพบการแพร่ระบาดในอินเดียแล้วในไทย 1 ราย ด้วยการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมที่ดึงมาจากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” โดยทีมวิจัยของ ดร. ราช ราชนรายานันท์ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอาร์คันซอ สหรัฐอเมริกา 

ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยไทยพบผู้ติดเชื้อ โควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16 แล้ว 6 ราย

XBB.1.16.1 อาจกล่าวได้ว่าเป็นรุ่นลูกของ XBB.1.16 มีการกลายพันธุ์ต่างจาก XBB.1.16 ตรงส่วนหนามของไวรัสที่ใช้ยึดเกาะกับเซลล์เปลี่ยนไปหนึ่งตำแหน่งคือ "T547I"

ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยไทยพบผู้ติดเชื้อ โควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16 แล้ว 6 ราย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ในขณะเดียวกัน ดร.วิพิน ม.วาชิษฐา (Dr. Vipin M. Vashishtha) กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันจากประเทศอินเดีย และเป็นผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในเด็กเล็กในอินเดียเมื่อเร็วๆ นี้

ซึ่ง ดร.วาชิษฐาได้สังเกตเห็นอาการจากการติดเชื้อโอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 ที่แพร่ระบาดระลอกใหม่ในอินเดียในกลุ่มเด็กทารกจะพบมีอาการไข้สูง อาการหวัด และอาการไอ จากนั้นพบอาการเด่นคือมีเยื่อบุตาอักเสบ มีอาการคันตา ขี้ตาเหนียว ทำให้ลืมเปลือกตาไม่ขึ้น แต่ไม่ได้เป็นหนอง (เพราะติดเชื้อไวรัสไม่ได้ติดเชื้อแบคทีเรีย) (ดูภาพ) ซึ่งไม่เคยพบอาการลักษณะนี้ในโอมิครอนสายพันธุ์อื่น

ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยไทยพบผู้ติดเชื้อ โควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16 แล้ว 6 ราย

ตระหนักเพื่อเท่าทันไวรัสแต่ไม่จำเป็นต้องตระหนก

แม้จะมีผู้ติดเชื้อโอมิครอน XBB.1.16 เพิ่มขึ้นทั่วโลกแต่จำนวนผู้ที่ต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. ทั่วโลกก็มิได้เพิ่มขึ้นจนเกินขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขในแต่ละประเทศจะรองรับได้

หาดูภาพรวมการระบาดของโอมิครอนในประเทศไทยโดย Outbreak.info ซึ่งทำงานร่วมกับองค์การอนามัยโลกพบว่า สายพันธุ์หลักในไทยเป็น

  • XBB.1.5 ประมาณ 47%

รองลงมาคือ

  • XBB.1.9.1 ประมาณ 27%
  • XBB.1.16 ประมาณ 13%
  • XBB.1.5.7 ประมาณ 7%
  • และ XBB.1.16.1 ประมาณ 7%

(ดูภาพ)

ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยไทยพบผู้ติดเชื้อ โควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16 แล้ว 6 ราย

 

ที่มา : Center for Medical Genomics