'จิณณ์ เวลบีอิ้งฯ' แนะดึงศักยภาพวัยเกษียณ สู่ 'สังคมสูงวัย' คุณภาพ

'จิณณ์ เวลบีอิ้งฯ' แนะดึงศักยภาพวัยเกษียณ สู่ 'สังคมสูงวัย' คุณภาพ

ไทยมีผู้สูงอายุเกือบ 20% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจะเดินหน้าสู่เป้า Medical Hub ได้นั่น สิ่งสำคัญ คือ การคำนึงถึงสังคมสูงวัย ที่มีอัตราเร่งสูง รวมไปถึงปัญหาเด็กเกิดน้อย แรงงานลดลง และสุขภาพจิตสูงวัยหลังเกษียณ ที่ยังมีศักยภาพในการทำงาน

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 'ทิมโมตี้ อีเมน เลิศสมิติวันท์' ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ กล่าวเสวนาในหัวข้อ Health and Wellness Destination โอกาส ศักยภาพไทย" ภายในงานสัมมนา "THAN  x FORUM 2023: Health And Wellness  Sustainability" จัดโดย ฐานเศรษฐกิจ ถึงเป้าหมายของประเทศไทยที่จะไปสู่ Medical Hub ซึ่งเรื่องที่ค่อนข้างห่วง คือ เรื่องของผู้สูงอายุ 

 

"สถิติเมืองไทยมีการเติบโตในการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุติด 1 ใน 3 ของโลก หากดูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบว่ามีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เฉลี่ย 10% ขณะที่ประเทศไทยมีผู้สูงอายุเกือบ 20% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

 

ดังนั้น อยากให้คนไทยและสังคมคิดถึง Longevity ไม่ใช่คิดถึงแค่ Aging เพราะตอนนี้อายุเฉลี่ยของคนอยู่ที่ประมาณ 88 ปี นั่นหมายความว่า ปัจจุบันคนอายุยืนมากกว่าเมื่อก่อนถึง 22 ปี ที่อายุเฉลี่ย 55 ปี เพราะฉะนั้นสังคม วิธีคิดและวิธีการใช้ชีวิตควรจะเปลี่ยนแปลง 

 

\'จิณณ์ เวลบีอิ้งฯ\' แนะดึงศักยภาพวัยเกษียณ สู่ \'สังคมสูงวัย\' คุณภาพ

 

คนไทย 41% ไม่มีเงินเกษียณ

 

ทิมโมตี้ กล่าวต่อไปว่า หากดูประชากรไทยพบว่า 41% ไม่มีเงินเกษียณ ขณะที่ 43% อายุ 45 ปีขึ้นไป ยังเป็นกลุ่มที่ทำงานไม่มีสวัสดิการ ดังนั้น สังคมจะทำอย่างไรกับกลุ่มนี้ เป็นตัวเลขที่น่าค่อนข้างตกใจ ขณะที่ 29% คนที่อายุ 60 ปี ยังมีหนี้สิน และกว่า 70% อาคารก่อสร้างไม่ได้เหมาะกับวัยเกษียณ

 

"หากเราไม่สามารถสูงวัยอย่างสง่างาม (Aging Gracefully) สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ ความเสี่ยง (Aging Risk) ทั้งนี้ การที่จะ Aging Gracefully อยากจะให้สังคม ภาครัฐดูแลเรื่องสุขภาพจิตที่ทุกคนกำลังมองข้าม สุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญต่อผู้สูงอายุ เราเห็นผู้สูงอายุหลายคน มีปัญหา เพราะเขาทำงานเพื่อร่วมงานตลอด แต่พอเกษียณ ไม่มีเพื่อน อยากมีคุณค่า มีความรับผิดชอบ ไม่ใช่ต้องมานั่งคิดว่าพรุ่งนี้ทำอะไร ทำให้เกิดความเครียด" 

 

คนที่เกษียณ เขามีประสบการณ์ตลอดชีวิต หากนำประสบการณ์เหล่านี้ไปใช้ได้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ แต่หาก Aging Risk ติดวิลแชร์ ติดเตียง จะเป็นภาระของสังคม โรงพยาบาล เกิดความเครียด ดังนั้น การที่เขาสามารถออกมาชีวิตปกติเขาจะมีความสุขมากขึ้น

 

เด็กเกิดน้อย วาระแห่งชาติ 

 

ขณะเดียวกัน ปี 2015 คนอายุ 45-50 ปี เริ่มเป็นกลุ่มใหญ่ คนไทยเริ่มมีลูกน้อยลง บางคนไม่อยากมีลูก สิ่งที่เกิดขึ้น คือ จะมีคนที่อยู่ในวัยแรงงานน้อยลง ถือเป็นวาระของชาติ หากเราต้องการการเปลี่ยนแปลง กฎหมายต้องเปลี่ยน ต้องเตรียมกระตุ้นให้บริษัทเอาคนอายุ 50 กว่าปีมาทำงาน เช่น ในสิงคโปร์ ที่ให้ผู้สูงอายุทำงานที่เบา ไม่หนักมาก

 

\'จิณณ์ เวลบีอิ้งฯ\' แนะดึงศักยภาพวัยเกษียณ สู่ \'สังคมสูงวัย\' คุณภาพ

 

จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ ตอบโจทย์สังคมสูงวัย

 

ทั้งนี้ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG ได้หาโซลูชั่นสำหรับผู้สูงอายุ จนเกิด โครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ เป็นบ้านสำหรับผู้สูงอายุที่มีโครงสร้างพื้นฐานครบ โครงการนี้ผ่านการคิดและปฏิบัติ จนประสบความสำเร็จมาแล้วกว่า 3 ปี 

 

โดยทุกวันลูกบ้านจะมีกิจกรรมให้เข้าร่วมอย่างน้อย 2 กิจกรรม ซึ่งลูกบ้านที่เป็นผู้สูงอายุสามารถเลือกกิจกรรมที่อยากทำได้ ไม่ว่าจะเป็น ปลูกผัก ตีกล์อฟ ทำอาหาร โยคะ เต้นซุมบ้า เป็นต้น และในแต่ละเดือนจะมี Fun Trip ออกไปเที่ยว ไปทำกิจกรรมนอกโครงการอีกด้วย

 

“ลูกบ้านผู้สูงอายุเมื่อได้ทำกิจกรรม พบปะเพื่อนในสังคมเดียวกัน ทำให้มีความสุขขึ้น นอกจากนี้ เรายังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยาเข้ามาพูดคุย มาสัมผัสลูกบ้านและมีกิจกรรมต่างๆ เข้ามาเสริม ส่วนผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลจากแพทย์เรา รพ.ธนบุรี บูรณา จำนวน 52 เตียง ออนไซด์ และ มีธนบุรี เฮลธ์ วิลเลจ ประชาอุทิศ จำนวน 275 เตียง สำหรับผู้ติดเตียง"

 

ทิมโมตี้ กล่าวทิ้งท้ายว่า รัฐบาลควรจะมีนโยบายในการตอบโจทย์ผู้สูงวัยมากขึ้น ขณะที่ศักยภาพของผู้สูงวัยน้อยลงในเรื่องของรายได้ สิ่งที่อยากจะเห็นนโยบายจากภาครัฐ คือ  อาจให้กฎหมายเปลี่ยน เช่น สามารถให้ผู้สูงอายุทำงานวันเว้นวัน ครึ่งเวลา หรือให้สิ่งตอบแทนอื่นๆ สำหรับบริษัทที่รับผู้สูงอายุ 

 

"Health aging lifestyle ของผู้สูงอายุ จะเป็นภาระของประเทศชาติในอนาคตถ้าเราไม่ Re Think คนวัยทำงานเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ สวนทางจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น คนส่วนน้อยไม่สามารถแบกคนก้อนใหญ่ได้ นั่นหมายความว่าเราจะต้องเก็บคนสูงอายุที่มีแรง มีความสามารถในการทำงานไว้ ไม่ใช่มองว่าคนที่อายุ 60 เป็นวัยเกษียณที่ไม่มีประโยชน์กับสังคม ให้เป็นเพียงที่ปรึกษาแต่ไม่ให้เป็น productive สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เรากำลังจะใช้คนส่วนน้อยอุ้มคนส่วนมาก ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาของประเทศชาติในอนาคต"