ผู้ป่วยมะเร็ง "สิทธิบัตรทอง" รับบริการได้ทุกที่ ไม่ต้องมีใบส่งตัว

ผู้ป่วยมะเร็ง "สิทธิบัตรทอง" รับบริการได้ทุกที่ ไม่ต้องมีใบส่งตัว

นโยบาย “บริการมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้” (Cancer Anywhere) ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สปสช. ถือเป็นการ "ยกระดับบัตรทอง" ตั้งแต่ 1 ม.ค. 64 เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็ง "สิทธิบัตรทอง" เข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว รักษาได้ทุกที่ที่พร้อม โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว

ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ พบว่า มีผู้ป่วย โรคมะเร็ง รายใหม่ 139,206 คนต่อปี ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 84,073 คนต่อปี “โรคมะเร็ง” ที่พบมาก 5 อันดับแรกคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และ มะเร็งปากมดลูก ปัจจุบันเทคโนโลยีการรักษาพัฒนามากขึ้นทำให้ผู้ป่วยมีหลายทางเลือกและโอกาสในการรักษา โดยเฉพาะหากเข้ารับการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว เข้าถึงการรักษาได้ตามสิทธิ

 

บัตรทอง “มะเร็ง” รักษาทุกที่

 

“นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี” เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้พัฒนาสิทธิบัตรทองให้ครอบคลุมสุขภาพของคนไทยต่อเนื่อง และ “โรคมะเร็ง” ก็เป็นหนึ่งในการยกระดับการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงและรักษาได้อย่างรวดเร็วตามนโยบาย “บริการมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้” (Cancer Anywhere) ของ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สปสช. ในการ ยกระดับบัตรทอง ตั้งแต่ 1 ม.ค. 64

 

ผู้ป่วยมะเร็ง \"สิทธิบัตรทอง\" รับบริการได้ทุกที่ ไม่ต้องมีใบส่งตัว

 

เพื่อให้ผู้ป่วย สิทธิบัตรทอง ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ได้รับบริการที่มีคุณภาพ ลดความยุ่งยากในการใช้ใบส่งตัว โดยดำเนินการผ่านแอปพลิเคชั่น Cancer anywhere ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษารวดเร็ว ต่อเนื่อง และเต็มประสิทธิภาพ ครอบคลุมการรักษา ทั้งผ่าตัด เคมีบำบัด รังสี ฮอร์โมน ในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการรักษาโดยเร็ว และสะดวกที่สุด

 

รวมถึง แก้ปัญหาการส่งตัวโดย สปสช. จ่ายเองโดยตรงที่ไม่ต้องมีเอกสารใบระบบส่งตัว เพียงแต่ต้องมีประวัติการรักษา ที่บันทึกเอาไว้จากหน่วยบริการต้นทางไปยังหน่วยบริการที่รับส่งต่อ ผ่านระบบออนไลน์ของ รพ.ที่เชื่อมโยงกัน ทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่รวดเร็วมากขึ้น

โดยเมื่อวันที่  12 ก.ย. 65  เลขาธิการ สปสช. ได้ไปเยี่ยมชมการดำเนินการ “มะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้” เครือข่ายโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานีและเขตสุขภาพที่ 10 จ.อุบลราชธานี  ครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี โดยมีหน่วยบริการที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการตามศักยภาพการให้บริการทั้งหมด 11 แห่ง ครอบคลุมทั้ง บริการรังสีรักษา บริการเคมีบำบัดระดับที่ 1 บริการเคมีบำบัดระดับที่ 2 บริการเคมีบำบัดระดับที่ 3

 

ผู้ป่วยมะเร็ง \"สิทธิบัตรทอง\" รับบริการได้ทุกที่ ไม่ต้องมีใบส่งตัว

 

ลดความยุ่งยากในการใช้ใบส่งตัว

 

“นพ.จเด็จ"  กล่าวว่า มะเร็งเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยล้มละลายได้ หากรักษาช้าโรคจะลุกลามและเป็นจุดอันตราย ในอดีตการรักษา การส่งตัวพบปัญหาเอกสารการส่งตัว เพื่อระบุว่าจะเก็บเงินค่าบริการกับหน่วยใด Cancer Anywhere ให้ ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ได้รับบริการที่มีคุณภาพ ลดความยุ่งยากในการใช้ใบส่งตัวหากหน่วยบริการนำรถไปรับผู้ป่วยสามารถเบิกจ่ายตามระเบียบของ สปสช. ได้ เพื่อลดภาระให้กับประชาชนและปรับระบบให้เกิดการเบิกจ่ายที่รวดเร็วขึ้นเช่นกัน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพการบริการดีขึ้น

 

ปัจจุบัน มีผู้ป่วยมะเร็งเข้ารับบริการตามนโยบายมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ (Cancer Anywhere) ภายในเขตสุขภาพที่ 10 จำนวน 87,690 ครั้ง ไปรับบริการนอกเขต 899 ครั้ง สปสช.จ่ายค่าบริการชดเชยในเขตเป็นเงิน 610.86 ล้านบาท ขณะที่การชดเชยข้ามเขต 8.26 ล้านบาท

 

ผู้ป่วยมะเร็ง \"สิทธิบัตรทอง\" รับบริการได้ทุกที่ ไม่ต้องมีใบส่งตัว

“นพ.ศรัณย์ กิจศรัณย์”ประธาน Service Plan สาขามะเร็ง เขตสุขภาพที่ 10  กล่าวว่า เดิมผู้ป่วยต้องเดินทางไปที่ รพ.ต้นสังกัดขอใบส่งตัว ซึ่งมีอายุ 1 ปี หากหมดอายุก็ต้องย้อนกลับไปขอใบส่งตัวใหม่ Cancer Anywhere เป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยและโรงพยาบาล สามารถเบิกจ่ายกับ สปสช. โดยตรง ผู้ป่วยเข้าถึงบริการง่ายขึ้น ปัจจุบันถือว่าประสบความสำเร็จ ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้รวดเร็วขึ้น มีโปรแกรม TCB Plus โดยแต่ละโรงพยาบาลจะลงประวัติการรักษา ภาพเอกซเรย์ และ แอปพลิเคชัน The One ในการนัดหมายผู้ป่วย เชื่อมต่อโรงพยาบาลต้นทางและปลายทาง ไม่ต้องมีใบส่งตัว

 

ใช้ได้ทั้งผู้ป่วยเก่า และ ใหม่ 

 

บริการดังกล่าว สามารถใช้ได้ทั้งผู้ป่วยเก่าและผู้ป่วยใหม่ มีขั้นตอน ดังนี้

"ผู้ป่วยเก่า"

  • สามารถรักษาหน่วยบริการเดิมได้ต่อเนื่อง
  • แต่หากต้องการย้ายหน่วยบริการ แจ้งความจำนงกับหน่วยบริการที่รักษาอยู่
  • พิจารณาเลือกหน่วยบริการ (ความพร้อม/ศักยภาพ/คิว)
  • ประสานการส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบริการใหม่
  • รับบริการรักษา ณ หน่วยบริการใหม่ส่วน

 

“ผู้ป่วยใหม่”

  • เมื่อได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง
  • ปรึกษากับเจ้าหน้าที่
  • พิจารณาเลือกหน่วยบริการ (ความพร้อม/ศักยภาพ/คิว)
  • ประสานการส่งต่อผู้ป่วย
  • รับบริการรักษา ณ หน่วยบริการที่พร้อม

 

ผู้ป่วยมะเร็ง \"สิทธิบัตรทอง\" รับบริการได้ทุกที่ ไม่ต้องมีใบส่งตัว

 

ดูแลผู้ป่วยด้วยทีมสหวิชาชีพ

 

หนึ่งในผู้ป่วยมะเร็งที่ใช้บริการมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ (Cancer Anywhere) อย่าง “ทองพูน ชาละมณีพร” อายุ 64 ปี ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงและคอหอยส่วนล่างระยะลุกลาม ตรวจพบเมื่อ ธ.ค. 64 ย้ายจากการรักษา จ.สมุทรสงคราม มายัง รพ.มะเร็งอุบลราชธานี เพื่อให้อยู่ในความดูแลของครอบครัว แพทย์ที่ทำการรักษาได้แนะนำ โครงการมะเร็งรักษา ได้ทุกที่ ที่มีความพร้อม จึงสมัครผ่าน application Cancer anywhere และทำการย้ายสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า มาที่รพ 50 พรรษา ในภายหลัง

 

ผู้ป่วยมะเร็ง \"สิทธิบัตรทอง\" รับบริการได้ทุกที่ ไม่ต้องมีใบส่งตัว

อนึ่งข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 – 30 มิ.ย. 2565 ทั่วประเทศพบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งรับบริการที่ไหนก็ได้ จำนวน 603,060 ครั้ง จากเป้าหมายที่ได้รับจัดสรร 339,371 ครั้ง แบ่งเป็น บริการแบบผู้ป่วยนอก จำนวน 506,941 ครั้ง จำแนกเป็น บริการผู้ป่วยมะเร็งตาม protocol 373,210 ครั้ง บริการมะเร็ง non-protocol 30,108 ครั้ง และบริการแบบ general 103,623 ครั้ง ขณะที่จำนวนการรับบริการแบบผู้ป่วยใน มี 96,119 ครั้ง จำแนกเป็นบริการผู้ป่วยมะเร็งตาม protocol 55,991 ครั้ง บริการมะเร็ง non-protocol 29,293 ครั้ง และบริการแบบ general 10,835 ครั้ง

 

  ผู้ป่วยมะเร็ง \"สิทธิบัตรทอง\" รับบริการได้ทุกที่ ไม่ต้องมีใบส่งตัว