เคลียร์งานก่อนหยุดยาว เตรียมพร้อมอย่างไร? ให้ได้หยุดจริง ไม่หยุดทิพย์

เคลียร์งานก่อนหยุดยาว เตรียมพร้อมอย่างไร? ให้ได้หยุดจริง ไม่หยุดทิพย์

พรุ่งนี้ก็เข้าสู่เทศกาล ‘สงกรานต์’ วันหยุดยาวช่วงเวลาแห่งความสุขที่หลายคนรอคอย มีการวางแพลนใช้เวลาหยุดพักผ่อนกับครอบครัว  เล่นน้ำสงกรานต์กับเพื่อนๆ เพื่อพักกายสร้างแรงใจ ชาร์จแบตฯ ตัวเองให้เต็ม

KEY

POINTS

  • การเคลียร์งานไม่ว่าจะปริมาณมากขนาดไหนก็ตาม สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ สุขภาพร่างกาย อย่าลืมว่าเคลียร์งานเพื่อให้ตัวเองได้ใช้เวลาในช่วงวันหยุดยาวอย่างเต็มที่ 
  • เปิดเคล็ด(ไม่)ลับ 13 วิธีเช็กลิสต์เคลียร์งานก่อนหยุดยาว ได้หยุดจริงๆ ไม่หยุดทิพย์ และ 13 วิธีหลังหยุดยาว กลับมาทำงานอย่างไรให้แฮปปี้ ไม่หมดพลัง
  • หลังเทศกาลหยุดยาว เชื่อว่าหลายๆ คนได้ชาร์จแบตจากท่องเที่ยว พักผ่อนมาอย่างเต็มที่ มีพลังในเริ่มต้นการทำงานใหม่ๆสดใสมากยิ่งขึ้น

พรุ่งนี้ก็เข้าสู่เทศกาล ‘สงกรานต์’ วันหยุดยาวช่วงเวลาแห่งความสุขที่หลายคนรอคอย มีการวางแพลนใช้เวลาหยุดพักผ่อนกับครอบครัว  เล่นน้ำสงกรานต์กับเพื่อนๆ เพื่อพักกายสร้างแรงใจ ชาร์จแบตฯ ตัวเองให้เต็ม

ก่อนมาลุยกันต่อหลังวันสงกรานต์ แต่เมื่อคุณหันกลับมาที่โต๊ะทำงานแล้วยังมี ‘งานกองโต’ ตั้งอยู่ จะเคลียร์งานอย่างไร? ก่อนวันหยุดยาวจะมาถึงให้ได้หยุดจริงๆ ไม่ใช่หยุดทิพย์ หัวหน้าตามงานไม่หยุด

"วัยทำงาน" ต้องวางแผนการทำงานในช่วงนี้ให้ดี เพื่อที่จะสามารถมีเวลา เคลียร์งานอื่นๆ หรืองานที่จำเป็นต้องใช้ด่วนทันทีเมื่อวันหยุดสิ้นสุดลง ฉะนั้น เพื่อให้ทุกคนมีช่วงเวลาของการพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาวได้อย่างเต็มที่ และไม่ต้องเป็นกังวลกับการทำงาน รวมทั้งไม่ต้องแบกงานมากมายไปทำในช่วงวันหยุด 

"กรุงเทพธุรกิจ" ได้รวบรวมวิธีเคลียร์งาน ให้เสร็จก่อนที่จะถึงวันหยุดยาวมาแชร์ให้วัยทำงานได้ลองนำไปปรับใช้ เพื่อจะได้ไปเที่ยว เล่นน้ำสงกรานต์อย่างสบายใจ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ทักษะใหม่! ที่คนวัยทำงานต้องมี ไม่พลาดงานในอนาคต

เทรนด์ใหม่ทั่วโลก!!ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ข้อดี-ข้อจำกัดที่องค์กรต้องรู้

เตรียมพร้อมพิชิตงาน ก่อนหยุดยาว

เมื่อปริมาณของงานก็มีมากขึ้นพอๆ กับวันหยุดยาวสงกรานต์ หรือเผลอๆ จะมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างสบายใจหายห่วง หมดกังวลเรื่องงานแบบ 100% เต็ม เริ่มด้วย

1. จัดทำ To-Do List

อันดับแรกเลยคือคุณต้องต้องสติและทำสมาธิให้มั่น อย่าเพิ่งทิ้งกายหยาบไว้ที่ทำงาน แล้วปล่อยใจไปอยู่ที่วันหยุดแล้ว แต่ต้องจัดทำ To-Do List สิ่งที่คุณต้องทำทั้งหมดก่อนวันหยุดยาวจะมาถึง ซึ่งจริงๆ แล้วเราเชื่อว่าหลายๆ คนคงมีการทำ To-Do List กันเป็นประจำใช่วงเวลาทำงานอยู่แล้ว แต่เราอยากให้คุณทำลิสต์พิเศษสำหรับช่วงนี้ขึ้นมาอีกสักหนึ่งอัน เพื่อที่จะได้รู้ว่าคุณมีงานอะไรคงค้างก่อนหมดปีนี้เหลืออยู่บ้าง

เพราะยิ่งวันหยุดยาวใกล้เข้ามาเท่าไร จำนวนของชิ้นงานก็ยิ่งถาโถมเข้ามาเท่านั้น เพราะพนักงานคนอื่นๆ ในบริษัทเขาก็ย่อมที่ไปพักผ่อนในวันหยุดยาวเหมือนกับคุณนี่แหละ หากคุณไม่สร้างลิสต์งานที่ต้องทำให้ดี ก็จะยิ่งทำให้ขาดสมาธิในการทำงาน และท้ายที่สุดอาจกลายเป็นว่าเคลียร์งานไม่หมด จนกลายเป็นพาความกังวลใจติดตัวไปท่องเที่ยวด้วย

เคลียร์งานก่อนหยุดยาว เตรียมพร้อมอย่างไร? ให้ได้หยุดจริง ไม่หยุดทิพย์

2. เรียงลำดับความสำคัญของงาน

นอกจากการจัดทำ To-Do List แล้ว คุณยังควรทำเรียงลำดับความสำคัญของงานต่างๆ ให้ดีด้วย โดยภายในลิสต์สิ่งที่ต้องทำ อาจลองระบุเดดไลน์ของงานแต่ละชิ้นลงไปด้วยเลยว่าต้องตัดจบเมื่อไร จะเรียงลำดับงานแต่ละชิ้นได้อย่างเป็นระบบ ห้ามเด็ดขาดที่เอางานทุกชิ้นมาทำพร้อมๆ กัน ในเวลาเดียวกัน เพราะนั่นจะทำให้งานไม่เสร็จสักชิ้น แถมงานยังจะออกมาไม่ดีอีกต่างหาก

หากอยากในลิสต์ของคุณดูเป็นระบบและระเบียบ อาจลองใช้แอปพลิเคชันต่างๆ มาเป็นตัวช่วยในการทำลิสต์ด้วยก็ได้ เช่น Slack หรือ Trello เป็นต้น 

เคลียร์งาน ปฎิเสธรับงานเพิ่มก่อนหยุด

3.ทำสมาธิก่อนเริ่มทำงาน

ความจริงแล้วเราควรจะมีสติ มีสมาธิในการทำงานทุกวันนั่นแหละ เพียงแต่ช่วงใกล้วันหยุดยาวแบบนี้ อาจต้องพยายามขึ้นอีกหน่อย เพราะไหนจะกดดันที่ต้องรีบปั่นงานด่วนให้เสร็จ ไหนจะใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัวเพราะอยากหยุดเต็มแก่ เพราะฉะนั้น อย่างแรกที่ควรทำ คือ พยายามกำจัดสิ่งรบกวนสมาธิออกให้หมด เราจะได้ไม่ว่อกแว่ก แล้วหลุดโฟกัสจากงานตรงหน้า เมื่อสมาธิมาปัญญาเกิด เชื่อได้เลยว่าเราจะทำงานได้มีคุณภาพและได้ปริมาณมากกว่าเดิม

4. ลงมือเคลียร์งาน

เมื่อจัดทำลิสต์สิ่งที่ต้องทำต่างๆ เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนของการลงมือทำงานแล้วล่ะ โดยคุณอาจจะไม่ต้องหักโหมกับการเคลียร์งานมากนัก ควรมีเวลาพักผ่อนสมองหรือคลายเครียดบ้าง และดำเนินงานการให้เป็นไปแผนที่วางไว้ หากงานเสร็จไปตามเป้าที่ตั้งไว้ในแต่ละวัน หากมีเวลาเหลือและรู้สึกว่ายังไหว จะหยิบงานชิ้นใหม่มาบรรเลงเลยก็ได้ แต่ถ้ารู้สึกว่าเครียดจัด ควรหยุด แล้วดำเนินตามแผนเดิมที่ตั้งไว้ เป็นอันดีที่สุด

แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ควรคำนึงคือเรื่องของสมาธิ ดังที่เรากล่าวข้างต้นนั่นแหละ บางคนทิ้งกายหยาบไว้ที่ออฟฟิศซะจนสมาธิหลุด จนกลายเป็นการผลัดวันประกันพรุ่ง ลืมตัวเผลอไม่ทำตามแผนที่วางไว้ เรื่องราวเหล่านี้ก็อาจจะให้งานของคุณเสียหายหรือเสร็จไม่ทันวันหยุดได้เช่นกัน

5. ปฏิเสธรับงานเพิ่ม

การปฏิเสธไม่ใช่เรื่องผิด อย่ากลัวที่จะเซย์โนหากบังเอิญดันมีงานเข้ามาเพิ่มในวินาทีสุดท้ายก่อนวันหยุด คุณแค่จะลาไปท่องเที่ยวพักผ่อน ไม่ได้จะลาออก ดังนั้นลองเจรจากับหัวหน้าหรือแผนกที่หยิบยื่นงานชิ้นใหม่ให้คุณมา ว่างานชิ้นนี้ด่วนแค่ไหน สามารถกลับมาจัดการหลังวันหยุดยาวได้หรือไม่

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการรับบทผู้ช่วยเหลือสังคมด้วย จริงอยู่ที่การช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องอย่าลืมประเมินงานของตัวเองก่อนว่า เคลียร์ไปได้แล้วกี่เปอร์เซนต์ แล้วคุณมีกำลังพอแค่ไหนในการจะช่วยงานคนอื่น ถ้าไม่มั่นใจจริงๆ อย่าตกปากรับคำคนอื่นเด็ดขาด เพราะนั่นจะกลายเป็นดินพอกหางหมูให้แก่คุณได้

6. วางมือจากโลกโซเชียล

ด้วยจำนวนของปริมาณงานที่มหาศาลและเดดไลน์ที่เร่งรัดแบบสุดๆ คงไม่ดีแน่ๆ ถ้าวันๆ หนึ่งคุณยังไม่สามารถตัดขาดจากโลกโซเชียลได้ เราไม่ได้บอกว่าห้ามเล่นโซเชียลเลย เพราะคุณยังสามารถหยิบมือถือขึ้นมาดูได้ในช่วงเวลาที่เครียดหรืออยากพักสมอง แต่ต้องอย่าดูเพลินจนเกินห้ามใจ แล้วไปกินเวลาของการเคลียร์งานล่ะ มิฉะนั้นงานไม่เสร็จตามกำหนดแน่นอน

อีกหนึ่งวิธีที่ดีที่จะช่วยให้คุณปลีกตัวออกจากโลกโซเชียลและมีสมาธิกับการทำงานได้มากขึ้น นั่นก็คือลองตั้งโทรศัพท์มือถืออยู่ในโหมด Do Not Disturb ลองปิดเสียงเรียกเข้า หรือลองปิดการแจ้งเตือนดู เพราะถ้าคุณไม่เห็นข้อความที่เด้งมาในโทรศัพท์มือถือ นั่นก็จะช่วยให้สายตาจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น เมื่อเคลียร์งานเสร็จแล้ว ค่อยเอาเวลากลับบ้านไปตอบแชทต่างๆ ทีเดียว

เคลียร์งานก่อนหยุดยาว เตรียมพร้อมอย่างไร? ให้ได้หยุดจริง ไม่หยุดทิพย์

7. แจ้งให้หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานทราบ

บางคนที่มีวันลาพักร้อนประจำปีเหลืออยู่ แล้วต้องเคลียร์ให้หมดก่อนสิ้นปี ก็มักจะนำวันลาพักร้อนเหล่านั้นมา Top Up เข้ากับวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพื่อให้วันหยุดพักผ่อนของเขายาวขึ้น ดังนั้นวันหยุดของแต่ละคนในออฟฟิศก็จะมีพีเรียดที่ไม่เท่ากัน สิ่งที่ควรต้องทำอีกหนึ่งอย่างคือการแจ้งให้หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน หรือแผนกอื่นๆ ที่คุณต้องดีลงานด้วยทราบ ว่าคุณใช้วันหยุดตั้งแต่วันไหนถึงวันไหนบ้าง

ซึ่งโดยปกติแล้วพนักงานส่วนใหญ่ก็จะต้องส่งใบลาหยุดให้แก่หัวหน้าอนุมัติก่อนอยู่แล้ว แต่อย่างน้อยก็ควรแจ้งหัวหน้าอีกสัก 1 รอบ ว่าคุณกำลังจะลาหยุดแล้วนะ เพื่อเป็นการเตือนความจำ อีกทั้งการบอกกล่าวเพื่อนร่วมงานเอาไว้นั้น ก็เพื่อพวกเขาจะได้มาดูแลงานในส่วนของคุณแทนในช่วงที่คุณไม่อยู่ รวมไปถึงพวกเขาจะได้มาวุ่นวายหรือส่งข้อความมารบกวนในช่วงวันหยุดอีกด้วย

8. ตั้งค่าระบบการทำงานต่างๆ ว่า On Vacation

เมื่อบอกกล่าวคนที่ทำงานเป็นลายลักษณ์อักษรและทางวาจากันไปแล้ว แต่เชื่อเถอะว่าบางทีคนเราก็ลืมกันได้ ดังนั้นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรทำก็คือ การตั้งค่าในระบบหรือโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้ในออฟฟิศให้เป็นโหมด On Vacation ทั้งหมด เช่น อีเมล, ปฏิทิน หรือ โปรแกรมแชทต่างๆ เพื่อที่ตอนพวกเขาอยากจะติดต่อหรือส่งงานให้ในช่องทางต่างๆ จะได้เห็นสเตตัสว่าคุณกำลังลาพักร้อนอยู่นะ

โดยในส่วนของอีเมลนั้น คุณสามารถตั้งค่าในระบบให้เป็นการตอบกลับแบบอัตโนมัติได้ ซึ่งคนที่ส่งอีเมลหาคุณนั้น จะได้รับข้อความตอบกลับทันทีว่าคุณลาพักร้อนอยู่นะ ไม่ได้เพิกเฉยต่อการตอบอีเมลแต่อย่างใด เพราะบางคนก็ต้องมีการใช้อีเมลในการสื่อสารกับลูกค้าภายนอกบริษัท ข้อนี้จึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง

9. ลิสต์งานที่ต้องทำหลังจากกลับมา

เพื่อไม่ให้เกิดอาการ Burn Out ภายหลังจากการท่องเที่ยวหรือหยุดยาว ซึ่งเราเชื่อว่าหลายคนจะต้องเป็นอย่างแน่นอน เมื่อได้หยุดยาวนานๆ แล้ววันแรกที่กลับเข้าออฟฟิศ จะต้องมีอาการเบื่อและไม่อยากทำงานเป็นแน่แท้ ดังนั้นสิ่งที่ช่วยป้องกันอาการนี้ได้ในระดับหนึ่งก็คือ การทำลิสต์งานที่ต้องทำหลังจากวันหยุดยาว เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณรวบรวมสติให้ในการเริ่มต้นทำงานหลังปีใหม่ได้อย่างง่ายดายขึ้น ไม่ต้องมานั่งกังวลหรืองมว่า จะต้องทำสิ่งไหนก่อนหรือหลัง หรือพาลให้เกิดอาการขี้เกียจขึ้นมาได้

โดยเราแนะนำให้จัดทำลิสต์ในรูปแบบเดียวกับลิสต์งานที่ต้องเคลียร์ก่อนวันหยุดยาวเลย เพื่อที่จะได้รู้ว่างานไหนยังค้างอยู่ และมีเดดไลน์ที่ต้องจัดการภายในวันไหน จะได้เป็นการจัดระเบียบและเรียงความสำคัญของงานให้ดียิ่งขึ้น

เคลียร์งานก่อนหยุดยาว เตรียมพร้อมอย่างไร? ให้ได้หยุดจริง ไม่หยุดทิพย์

10. หาตัวช่วยผ่อนคลายระหว่างเคลียร์งาน

ก่อนวันหยุดยาวปลายปี เราเชื่อว่าต้องเป็นช่วงที่หลายคนอุดมไปด้วยความเครียดอยู่แล้วล่ะ เพราะปริมาณงานจะต้องหนาแน่นแบบจัดเต็ม ดังนั้นในระหว่างที่เคลียร์งาน อย่าลืมหาเวลาพักผ่อนหรือพักสมองระหว่างวันกันบ้าง จะได้ไม่เป็นการกดดันตัวเองหรือเครียดจนเกินไป

อาจลองหาของทานเล่นมาติดโต๊ะไว้เพื่อทานระหว่างวัน หรือจะเป็นเครื่องดื่มหวานๆ หรือเครื่องดื่มเพิ่มความสดชื่นก็ได้ สมองของคุณจะได้โลดแล่นมากยิ่งขึ้น หรือไม่เช่นนั้นก็อาจจะเปิดเพลงฟังในระหว่างทำงานดูก็ได้ สิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดโปร่งและลดความเครียดได้เป็นอย่างดี งานที่ทำจะได้ออกมาประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย

11.ทำงานด้วยกฎ 50 นาที พัก 10 นาที

ขยันทำงานมันก็ดี แต่ถ้าหักโหมมากเกินไปก็น็อกเอาได้เหมือนกัน ต่อให้งานด่วนแค่ไหน ก็ต้องพักบ้าง ลองใช้กฎ 50/10 ช่วยดู กฎนี้เป็นการแบ่งสัดส่วนระหว่างทำงานกับเวลาพักในทุก ๆ ชั่วโมง คือ ทำงาน 50 นาที และพัก 10 นาที เพื่อให้สมองและร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่อ่อนล้ามากจนเกินไป เชื่อไหมว่ากฎนี้ช่วยให้โฟกัสได้มากขึ้นจริง ๆ แค่ 10 นาทีก็ชาร์จพลังได้มากทีเดียว เพราะได้พักทั้งสมอง และได้พักยืดเส้นยืดสาย

12.หาตัวช่วยเพิ่มพลังสมอง

เมื่อสมองต้องอยู่ในภาวะเครียดอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่ามันทำให้สมองล้า อ๊อง คิดอะไรไม่ออก ลองหาตัวช่วยเพิ่มพลังสมองดูหน่อยไหม ด้วยการหาของกินที่มีประโยชน์ต่อสมองมาติดโต๊ะทำงานไว้ ก็จะช่วยชาร์จพลังให้เราได้มากอยู่พอสมควร แก้ง่วงได้ ช่วยให้สมองสดชื่น ถ้าเป็นพวกผลไม้ก็ลองเลือกที่แบบที่บำรุงสายตาจากการนั่งจ้องคอมพิวเตอร์อย่างจริงจังนาน ๆ หรือพวกดาร์กช็อกโกแลต ที่ช่วยลดความเครียดได้

13. ออกจากโลกการทำงาน แล้วเอ็นจอยวันหยุด

เมื่อทำตามลิสต์ด้านบนที่เราแนะนำไปจนเสร็จสิ้น ก็ถึงเวลาเข้าโหมดของการพักผ่อนแบบ 100% เต็มแล้วล่ะ โดยก่อนจะเข้าสู่วันหยุด เราอยากให้คุณลองปิดการแจ้งเตือนทั้งหมดที่เกี่ยวกับงานลงซะ พยายามไม่เข้าไปอ่านหรือรับรู้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องเลยได้ก็ยิ่งดี เพราะเราเชื่อว่าบางคนก็ตั้งใจทำงานมากๆ จนไม่อาจหยุดคิดเรื่องของงานได้ในทุกๆ วัน ดังนั้นคุณจึงควรต้องตัดทุกอย่างออกให้หมด และคิดเสียว่าคุณได้จัดการเคลียร์งานทุกอย่างลงเสร็จสิ้นก่อนวันหยุดของคุณแล้ว

อย่าลืมว่าคุณต้องเสียค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าที่พัก ค่าเดินทางระหว่างทริป ไปกับการท่องเที่ยวพักผ่อนนี้เท่าไร ครั้นจะเอาเรื่องงานเก็บมาคิดในระหว่างที่ท่องเที่ยวอยู่นั้น ก็พาลแต่จะทำให้เที่ยวไม่สนุกเสียเปล่าๆ ดังนั้นเคลียร์สมองและทำใจให้โล่งๆ เข้าไว้ แล้วเอ็นจอยกับวันหยุดที่มีน้อยนิดให้เต็มที่

เคลียร์งานก่อนหยุดยาว เตรียมพร้อมอย่างไร? ให้ได้หยุดจริง ไม่หยุดทิพย์

5 วิธีบริหารงานก่อนวันหยุดยาวสำหรับหัวหน้าทีม

หลายคนวางแผนลาหยุดยาวเป็นสัปดาห์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ คนเป็นหัวหน้าจึงต้องเตรียมตัว วางแผนและประคองให้งานต่าง ๆ เสร็จทันเวลาในช่วงหยุดยาวที่กำลังจะมาถึง ซึ่งปกติแล้วบริษัทจะไม่มีนโยบายจ้างคนมาทำงานแทนชั่วคราวในช่วงวันหยุดเทศกาล แต่มักจะแบ่งงานให้กับพนักงานที่เหลืออยู่ในจำนวนที่เท่า ๆ กันแทน แล้วหัวหน้าทีมควรจะจัดการอย่างไรบ้างถ้าลูกน้องลางานพร้อม ๆ กัน 

1.แจ้งลูกค้าให้ทราบก่อนถึงวันหยุดยาว

การแจ้งให้ลูกค้าคนสำคัญให้ทราบว่าบริษัทของคุณจะหยุดยาวเมื่อไหร่ หรือใครที่ดูแลพวกเขาอยู่จะลาหยุดวันไหนคือสิ่งที่ควรทำ นอกจากจะช่วยให้ลูกค้าได้เรียงลำดับความสำคัญของงานที่พวกเขาต้องทำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทีมเรา โดยเฉพาะงานเร่งด่วนที่เรายังพอมีเวลาจัดการให้ลูกค้าได้ทันก่อนวันหยุดยาวแล้ว ยังจะทำให้ลูกค้าไม่คิดว่าเราหายไปจากการที่ติดต่อเราไม่ได้ในช่วงที่หยุดอีกด้วย รวมไปถึงทำให้พวกเขารู้สึกพึงพอใจกับการบริการของเราที่ใส่ใจลูกค้าเช่นกัน

 2.วางแผนความสำคัญของงาน

ไม่มีงานที่สำคัญเท่ากันทุกงานหรอก สิ่งที่คนเป็นหัวหน้าควรทำก็คือพยายามจัดลำดับก่อนว่างานไหนสำคัญมาก งานไหนสำคัญน้อย เพราะการเรียงลำดับงานจะทำให้เราไม่พลาดงานสำคัญ ส่วนงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สามารถรอให้พนักงานที่รับผิดชอบกลับมาทำหลังจากวันหยุดก็ได้

 3.กำหนดวันส่งงานแล้วจดลงไปในปฏิทิน

การกำหนดวันที่ชัดเจนจะช่วยเน้นให้เราให้ความสำคัญกับงานมากขึ้น รวมถึงยังช่วยคนในทีมคนอื่นในการติดตามงานด้วย ถ้าเราไม่กำหนดวันที่แน่นอนแล้วจดเอาไว้ ก็อาจจะลืมและทำให้งานล่าช้าไปได้

 4.แจกจ่ายงานให้ตรงกับคน

ถึงแม้ช่วงหยุดยาวแบบนี้คนในทีมของเราจะน้อยลงไป พนักงานที่เหลืออาจต้องทำงานหนักขึ้นเป็นธรรมดา หัวหน้าทีมจึงควรวิเคราะห์ว่าใครถนัดงานแบบไหนแล้วแจกจ่ายงานนั้นไป เพื่อจะได้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแม้จะมีทรัพยากรอย่างจำกัดนั่นเอง

 5.มองหาตัวช่วยเข้ามากู้วิกฤติ

ถ้างานล้นมือจนไม่มีใครทำทันแล้ว ลองเลือกจ้างงานแบบ Outsourcing หรือ Freelance ให้เข้ามารับบางงานไปทำดู แต่ถ้ามาถึงขั้นนี้ได้ แสดงว่านี่เป็นช่วงวิกฤติหนักของทีมเลยทีเดียว วิธีการนี้เป็นทางออกสุดท้ายที่ทำให้งานหรือโปรเจกต์ของเราเสร็จทันเวลา แม้ว่าลูกน้องคนเก่งจะไม่อยู่ก็ตาม

เตรียมพร้อมตัวเองก่อนเริ่มงานหลังวันหยุดยาว

ไม่ว่าจะเป็นหยุดยาว หรือวันทำงานก็ตาม การจัดสรรตารางงาน และการลำดับความสำคัญของงานในความรับผิดชอบนั้น ก็เป็นสิ่งที่ควรทำในทุกวัน ซึ่งนอกจากงานจะเสร็จตามที่กำหนดแล้ว ยังทำให้ผลงานที่ส่งออกไป เป็นงานที่มีประสิทธิภาพ ถ้าเป็นอย่างนี้ทุกวัน 

ฉะนั้น หยุดยาวอย่างต่อเนื่องจากเทศกาลสงกรานต์ พอเปิดมาทำงานวันแรกทีไร หลายคนหมดพลังทุกที ชวนมาปลุกพลังการทำงาน  เพื่อต้อนรับสิ่งใหม่ ๆ ให้ชีวิตไฉไลกว่าเดิมกันดีกว่าเดิม

1. ชาร์ตพลังชีวิต

แน่นอนว่าในวันหยุดยาวที่ผ่านมา คุณคงจัดหนักออกไปเฉลิมฉลองเคาท์ดาวน์กับเพื่อน ๆ ในแก๊งค์กันอย่างสุดเหวี่ยง หรือบางทีก็มีไปเที่ยวต่างจังหวัดกับครอบครัวอย่างสนุกสนาน ต้องมีบ้างที่ร่างกายจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่พร้อมที่จะรับมือกับงานในวันเริ่มศักราชใหม่ เพราะฉะนั้น คืนแรกก่อนวันทำงาน คุณควรเข้านอนแต่หัวค่ำ เพื่อให้ร่างกายได้ชาร์ตพลังอย่างเต็มที่ ถ้าจะให้ดีทำเช่นนี้ไปสักอีก 2-3 วันนะคะ รับรองว่า ทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมา คุณจะสดใส กระปรี้กระเปร่า พร้อมรับมือกับงานทุกโปรเจ็กต์อย่างแน่นอน

2. ฟิตร่างกายให้พร้อม

ตื่นสายมาหลายวัน พอถึงวันทำงานจริง ด้วยความที่ยังไม่ชินก็ไม่อยากตื่นซะอย่างนั้น อย่าปล่อยให้ความงัวเงียเข้ามาสิงร่างของเราค่ะ ลองฝืนตัวเองสักนิด แล้วมาฟิตร่างกายให้พร้อม ด้วยการออกกำลังกาย เบา ๆ อาจเป็นการวิ่งเหยาะ ๆ รอบหมู่บ้าน หรือโยคะง่าย ๆ ภายในห้อง รู้ไหมว่า แค่ขยับร่างกายเพียงนิด รับรองคุณจะฟิตและพร้อมรับงานใหม่ ๆ ของปีได้ทั้งวันเลย

3. อาหารเช้าอย่าได้พลาด

เรียกว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยปลุกพลังในการทำงาน หลังวันหยุดยาวได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้สมองแล่น พร้อมที่จะคิด วิเคราะห์ วางแผน และรับมือกับงานใหม่ ๆ เสมอ แถมยังทำให้สดชื่น อารมณ์ดีตลอดวันอีกด้วย ไม่ว่าจะต้องเจอศึกหนักมากแค่ไหน เชื่อสิว่าคุณต้องรับมือไหวอย่างแน่นอน

เคลียร์งานก่อนหยุดยาว เตรียมพร้อมอย่างไร? ให้ได้หยุดจริง ไม่หยุดทิพย์

4. เคลียร์โต๊ะสะอาดก่อนทำงาน

หยุดยาวมาหลายวัน ฝุ่นผงก็ย่อมเกาะบนโต๊ะเป็นธรรมดา ก่อนเริ่มงานวันแรกอย่าลืมเช็ดทำความสะอาดให้เรียบร้อย หรือปรับเปลี่ยนบรรยากาศโต๊ะทำงาน  ต้อนรับปีใหม่ไปเสียเลยก็ดี อาจเพิ่มต้นไม้เล็ก ๆ สักนิด หรือภาพสวยๆ เสียหน่อย จะช่วยเติมสีสันการทำงานในวันใหม่ให้มีชีวิตชีวา พร้อมลุยงานกองโตได้เต็มที่เลย

5. วางแผน จัดระบบ

บางทีวันหยุดยาวอาจทำให้หลงลืม งานที่คั้งค้าง จากสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนเริ่มทำงานให้คุณตั้งสติ ตรึกตรอง ไล่เรียงสิ่งที่ต้องทำ และจัดลำดับความสำคัญของงานให้ดี โดยดูจากอีเมล์เก่าที่เคยติดต่อกับลูกค้า เช็คข้อมูลที่เคยจดโน้ตไว้ หรือทบทวนสอบถามจากทีมงานอีกครั้ง แล้วลิสต์สิ่งที่ต้องทำออกมาอย่างเป็นระบบ เพียงเท่านี้คุณก็จะไม่พลาดงานที่ต้องสะสาง แถมไม่ตกหล่นงานใหม่ที่ต้องต่อให้ติดอีกด้วย

6. ปลุกพลังนักรบในตัวคุณ

ปีใหม่แล้ว ถือโอกาสเปลี่ยนแปลงตัวเองเสียใหม่โดยตั้งเป้าหมายในการทำงานแล้วจดสิ่งที่ปฏิญาณเอาไว้ในสมุดบันทึกส่วนตัว นอกจากจะช่วยปลุกพลังนักรบในตัวคุณให้มีไฟในการทำงานหลังจากหยุดยาวแล้ว ยังเป็นแรงบันดาลใจให้เริ่มต้นโปรเจ็กต์ใหม่ ๆ ท้าทายความสามารถได้ดีอีกด้วย

เคลียร์งานก่อนหยุดยาว เตรียมพร้อมอย่างไร? ให้ได้หยุดจริง ไม่หยุดทิพย์

7. เม้าท์มอยตามอัธยาศัย

สนุกสุดเหวี่ยงมาตั้งหลายวัน เปิดงานมาวันแรกย่อมอยากเม้าท์มอยกับเพื่อนซี้เป็นของธรรมดา เมื่อถึงเวลาพักเที่ยงก็นั่งเม้าท์ถึงวันหยุดยาวให้เต็มที่ หรือแลกรูปถ่ายกันดูบ้าง เพื่อเรียกพลังความคึกคักให้กลับคืน เชื่อเถอะว่า ช่วงบ่ายคุณจะนั่งทำงานอย่างกระปรี้กระเปร่าดีทีเดียวเชียว

8.ไปถึงที่ทำงานให้เร็วกว่าปกติ

แน่นอนว่าที่ทำงานแต่ละแห่งมีช่วงเวลาของการเข้าออกงานอยู่แล้ว แต่ในช่วงเวลาของการเคลียร์งาน หรือสัปดาห์สุดท้ายก่อนถึงวันหยุดยาว แนะนำให้ไปที่ทำงานให้เร็วกว่าปกติค่ะ เพราะการที่เราไปถึงที่ทำงานเร็วกว่าปกติ จะช่วยให้มีเวลาในการทำงานและ เคลียร์งาน ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น หรือจะใช้ช่วงเวลานี้เพื่อตอบอีเมล์ที่ยังค้างตอบก็ได้เช่นกัน จะได้ไม่ต้องใช้เวลาทำงานไปกับการตอบอีเมล์ และจะได้ใช้ช่วงเวลาทำงานไปกับการทำงานอย่างเดียวไปเลยก็น่าสนใจเช่นกัน

นอกจากนี้การมีเวลาเพื่อเช็คหรือตอบอีเมล์ จะช่วยให้เราสามารถคาดการล่วงหน้าได้ว่า ในช่วงวันหยุดยาวจะมีงานอะไรที่ต้องทำ เพื่อที่จะได้เตรียมตัวก่อนที่จะลงมือทำหลังจากหยุดยาวนั่นเอง หรือหากใครไม่ต้องใช้เวลาไปกับการตอบอีเมล์ ก็สามารถใช้ช่วงเวลาก่อนเข้างานจริงจดบันทึกสิ่งที่ต้องทำหรือจะทำทั้งวันนั้นไว้อย่างชัดเจน จะช่วยให้เราใช้เวลาของทั้งวันนั้นได้อย่างมีคุณภาพ และมาพร้อมกับชิ้นงานที่ทำสำเร็จตามมาด้วย

9.จดบันทึกสิ่งที่ต้องทำให้ชัดเจน

เชื่อหรือไม่ว่าการจดบันทึกสิ่งที่ต้องทำอย่างชัดเจน ช่วยให้เราสามารถเคลียร์งานแต่ละชิ้นได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นการจัดระบบความคิดของเราได้ดีในช่วงเคลียร์งานกองโต ซึ่งหลายคนมักจะเผชิญกับปัญหาที่ไม่รู้ว่าตัวเองจะต้องทำอะไรก่อนหลัง เพราะสัปดาห์สุดท้ายก่อนถึงวันหยุดยาว มักเป็นช่วงที่งานมากมายมาก่ายกองตรงหน้าจนไม่รู้ว่างานไหนควรทำก่อนและงานไหนสามารถทำทีหลังได้

ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้เวลาสักช่วงหนึ่ง เพื่อจดบันทึกสิ่งที่ต้องทำให้ชัดเจน จะจดเป็น to do list รายวันก็ได้เช่นกัน ซึ่งอาจจะใส่รายละเอียดของงานที่ต้องทำไว้ให้ชัดเจน การจดบันทึกแบบนี้จะช่วยให้เราได้รู้ว่าวันนี้ต้องทำงานอะไร เพื่อที่จะสามารถส่งงานได้ทันเวลา ยิ่งถ้ารู้ว่าเสร็จงานหนึ่งแล้วต้องต่อด้วยงานไหนต่อ จะช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง วิธีนี้จะช่วยให้เราไม่ต้องแบกงานไปทำในช่วงวันหยุดอีกด้วย

เคลียร์งานก่อนหยุดยาว เตรียมพร้อมอย่างไร? ให้ได้หยุดจริง ไม่หยุดทิพย์

10.เคลียร์งานเก่าที่ยังค้าง

งานเก่าในที่นี้หมายถึงงานที่เราสะสมเรื่อยๆ มา จะด้วยเหตุผลเพราะยังไม่ถึงช่วงเวลาส่ง หรือเพราะยังไม่มีอารมณ์ทำก็ตาม หากงานเหล่านั้นถูกสะสมมานานมากแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องหยิบเอามาทำในช่วงหลังหยุดยาวแล้วค่ะ เพราะถ้ายังไม่เอามาเคลียร์ให้เสร็จ เชื่อหรือไม่ว่าการพักผ่อนของเราอาจจะถูกรบกวนจากงานเก่าที่ยังค้างได้สูงมาก ดังนั้นหากเป็นงานที่ถูกดองมานาน แม้จะยังไม่ถูกตามให้ส่ง แต่ถ้ามันอยู่กับเราในช่วงเวลาใหญ่ๆ แล้ว ควรเอามาทำให้เสร็จก่อนถึงวันหยุดยาวนี้ รับรองว่าการพักผ่อนของคุณในช่วงหยุดยาวนี้จะสนุกและไม่ต้องเป็นกังวลกับเรื่องานที่ยังค้างแต่อย่างใดเลย

11.ขีดเส้นตายของงานให้ชัดเจน

การขีดเส้นตายให้กับงานแต่ละชิ้น จะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เราสามารถเร่งกับตัวเองได้ดี ไม่ว่างานชิ้นนั้นจะมีระยะเวลาส่งหลังจากหยุดยาวอีกหลายวันหรือหลายสัปดาห์ก็ตาม ก็ควรขีดเส้นตายให้กับงานแต่ละชิ้นให้ชัดเจน ทั้งนี้แนะนำให้พยายามเรียงลำดับงานที่ต้องทำ โดยคำนึงถึงความสำคัญและความเร่งในการส่งแต่ละชิ้นเป็นอันดับแรก จะช่วยให้เราสามารถ เคลียร์งาน ได้ถูกต้องมากที่สุด นั่นหมายความว่า หลังจากหยุดยาว ก็มีงานที่พร้อมให้ส่งแล้วนั่นเอง จะช่วยลดความกังวลตอนพักผ่อนในวันหยุดยาวได้ด้วย ดังนั้นใครที่เป็นกังวลกับจำนวนงานที่มากเกินไป หรือรู้สึกว่าน่าจะไม่ทันเสร็จก่อนวันหยุดยาว อย่าเพิ่งด่วนตัดสินไปเลยว่าตัวเองน่าจะทำไม่ทัน แต่แนะนำให้จดงานที่ต้องทำทั้งหมด แล้วเรียงลำดับงานที่ต้องส่งก่อนหลัง ต่อด้วยการคำนวณระยะเวลาในการทำงานแต่ละชิ้น แล้วขีดเส้นตายไว้เลยว่างานแต่ละชิ้นจะต้องเสร็จวันไหน

12.ใช้เวลาว่างอยู่กับงานให้ได้มากที่สุด

เทคนิคนี้อาจจะต้องอาศัยความอดทนสักหน่อย โดยเฉพาะใครที่เป็นสายโซเชียลยิ่งต้องอดทนมากยิ่งขึ้น ซึ่งในช่วงของการ เคลียร์งาน หลังหยุดยาว แนะนำให้ใช้เวลาไปกับการทำงานให้ได้มากที่สุด โดยอาจจะหยุดการทำงานแค่เฉพาะช่วงเวลากินข้าวหรือพักผ่อนก็พอ ดังนั้นใครที่ใช้เวลาไปกับการเลื่อนมือถือหลายชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนฟีด Facebook เล่น TikTok อัพภาพลงไอจี หรือเกาะกระแส Hashtag ดังในทวิตเตอร์ก็ตาม ลองเอาเวลาเหล่านั้น เปลี่ยนมาเป็นช่วงเวลาของการเคลียร์งานกันดู รับรองว่างานเสร็จไปหลายชิ้นอย่างแน่นอน

เพราะการใช้เวลาไปกับการเล่นโซเชียลในแต่ละวันกินเวลาของแต่ละคนไปเยอะมาก และหลายคนแทบจะไม่รู้ด้วยว่าตัวเองใช้เวลาไปกับสิ่งเหล่านี้ไปกี่ชั่วโมงในแต่ละวัน หรือถ้าอยากรู้ว่าพฤติกรรมการเล่นโซเชียลของเรามากน้อยแค่ไหน แนะนำให้ตั้งค่า Screen Time ในมือถือกันดู จะทำให้เราได้รู้อย่างละเอียดเลยว่า ในแต่ละวันเราเข้าไปเปิดและเล่น application ไหนเป็นเวลาเท่าไร

เคลียร์งานก่อนหยุดยาว เตรียมพร้อมอย่างไร? ให้ได้หยุดจริง ไม่หยุดทิพย์

12.พักผ่อนให้เพียงพอ

ไม่ว่างานที่ต้องเคลียร์จะกองโตแค่ไหนก็ตาม สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกก็คือ สุขภาพร่างกาย อย่าลืมว่าเราเคลียร์งานก็เพื่อให้ตัวเองได้ใช้เวลาในช่วงวันหยุดยาวได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลกับเรื่องงานใดๆ ทั้งสิ้น แต่หากร่างกายกลับล้มป่วยเพราะทุ่มเทไปกับการเคลียร์งานจนไม่มีเวลาพักผ่อน วันหยุดยาวก็อาจกลายเป็นวันที่ต้องไปนอนพักที่โรงพยาบาลแทนก็ได้

ดังนั้นจึงต้องเน้นย้ำตัวเองเสมอว่า นอกจากจะใช้กฎทำงาน 50 นาที พัก 10 นาทีแล้ว ควรพักผ่อนในตอนกลางคืนให้เต็มที่ เป็นไปได้ควรเข้านอนแต่หัวค่ำ และพยายามหลับยาวต่อเนื่องให้ครบ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายมีความพร้อมกับการทำงานในช่วงนี้ได้มากขึ้น

13.ตั้งค่าอีเมล์ให้ตอบกลับอัตโนมัติ

หากสงสัยว่าการตั้งค่าอีเมล์ให้ตอบกลับอัตโนมัติสำคัญต่อการหยุดยาวแค่ไหน บอกเลยว่าอย่างน้อยก็ช่วยให้คนอื่นๆ ได้รู้ว่าคุณกำลังอยู่ในช่วงของการพักผ่อนหรือหยุดยาวนั่นเอง ซึ่งอาจทำให้อีกฝ่ายได้รู้ว่าคุณไม่สะดวกต่อการตอบกลับหรือส่งงานใดๆ กลับไปในช่วงนี้ เว้นเสียจากว่างานชิ้นนั้นจะสำคัญมากๆ และหากไม่ได้ดำเนินการ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ถ้าสำคัญมากๆ ก็คงจะมีการโทรหาเป็นการส่วนตัวแทน

อย่างไรก็ตาม มนุษย์เงินเดือนทุกคน เวลาจะหมดไปในที่ทำงานเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะทุกคนก็ต้องนำเงินเดือนมาใช้ดำรงชีพ แต่งานก็ไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต ดังนั้น มนุษย์เงินเดือนทุกคนก็ต้องมีเวลาหาความสุขหรือผ่อนคลายให้กับตัวทั้งนั้น ให้สมกับการที่ต้องเครียดหรือกดดันกับงาน