รับมือ! ภาวะ ‘Great Gloom’ หมดความสุข ทำงานไปวันๆ ไม่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

รับมือ! ภาวะ ‘Great Gloom’ หมดความสุข ทำงานไปวันๆ ไม่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

ความสุขในการทำงานของเหล่าคนทำงาน ลดลงอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2020 และลดลงมากขึ้น 10 เท่าในปี 2023 นี้ โดยอาชีพในด้านสุขภาพ มีความสุขน้อยที่สุดจากทุกหมวดอาชีพ

Keypoint:

  • ปัญหาที่แท้จริงของเหล่าคนทำงาน ไม่ใช่เรื่องการหมดไฟ แต่เป็นปัญหาใหญ่กว่านั้น อย่างความต้องการของบริษัทและพนักงานไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกัน เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร 
  • สภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน ช่วยให้อะไรๆ ดีขึ้นได้ มีพื้นที่ปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน ทุกคนกล้าเสี่ยงที่จะเสนอไอเดียความคิดเห็น ตั้งคำถาม
  • 5 วิธีแก้อาการ Burnout หมดไฟในการทำงาน เริ่มจากการพักผ่อนให้เพียงพอ จัดระเบียบชีวิต ลดการใช้มือถือแท็ปเลต ปรับทัศนคติตัวเอง และปรึกษาคนอื่น

BambooHR ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ด้านทรัพยากรบุคคลเบอร์ใหญ่ของโลก เปิดเผยตัวเลขที่น่าสนใจจาก Employer Net Promoter Score (eNPS) แบบวัดความพึงพอใจในการทำงาน พบว่า

  • ความสุขในการทำงานของเหล่าคนทำงาน ลดลงอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2020 และลดลงมากขึ้น 10 เท่าในปี 2023 นี้
  • โดยอาชีพในด้านสุขภาพ มีความสุขน้อยที่สุดจากทุกหมวดอาชีพ

สอดคล้องกับผลสำรวจจาก Gallup บริษัทให้คำปรึกษายักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน พบว่าความพึงพอใจด้านการทำงานของคนทำงาน ลดลงกว่า 8% จากปี 2019 นั่นหมายความว่า

ช่วงการระบาดของโควิด-19 ความสุขของชาวอเมริกันลดลงสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากปัญหาด้านการใช้ชีวิตประจำวัน สุขภาพ และการเว้นระยะห่างทางสังคม จนต้องเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพจิต อย่างภาวะซึมเศร้าและความหงุดหงิดใจ เรื่อยมาจนถึงปี 2023 ที่เหมือนอะไรจะเข้าที่เข้าทางมากขึ้น แต่ความสุขในด้านหน้าที่การงาน กลับไม่ได้ดีขึ้นตามไปด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

‘ไส้ตรง..กินปุ๊ป ออกปั๊ป’ สุขภาพปังจริงหรือ?

วิธีฮีลใจ รับมือวัน bad day เมื่อต้องเจอชีวิตย่ำแย่ อกหัก หมดไฟ

 

สิ่งนี้จะสามารถแก้ไขได้อย่างไร?

มิถุนายน 2023 ที่ผ่านมา ความสุขในการทำงานของคนทำงานลดลงต่ำสุดในช่วงหลายปีให้หลัง

เจน ลิม (Jenn Lim) ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำงาน แสดงความคิดเห็นผ่านบทความบนเว็บไซต์ Fast Company ว่าปัญหาที่แท้จริงของเหล่าคนทำงาน ไม่ใช่แค่เรื่องการหมดไฟ แต่เป็นปัญหาใหญ่กว่านั้น อย่างความต้องการของบริษัทและพนักงานไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกัน จนเกิดความรู้สึกไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์กร แต่พนักงานก็หมดแรงเกินกว่าจะลุกขึ้นมาทำงานให้หนักขึ้น เพื่อแสวงหาความหมายในการทำงาน พวกเขากลับเลือกจะนั่งจมอยู่กับปัญหานั้นแทน

ปัญหาความรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการทำงานที่บ้าน (WFH) เมื่อสภาพแวดล้อมการทำงานเปลี่ยนไป จากพื้นที่ที่ทุกคนมารวมตัวกัน เพื่อทำงานเดียวกัน มีเป้าหมายเดียวกัน มีวัฒนธรรมร่วมกัน กลายเป็นพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน แม้จะมีความสะดวกสบายมากขึ้น แต่ปัญหาเรื่องวัฒนธรรมองค์กรกลับกลายเป็นปัญหาที่ตามมา

รับมือ! ภาวะ ‘Great Gloom’ หมดความสุข ทำงานไปวันๆ ไม่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

ในช่วงนั้นหลายบริษัทพยายามหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ แต่ตราบใดที่ผู้คนไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดียวกัน การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรงก็เป็นไปได้ยาก เมื่อผู้คนเริ่มชินกับการทำงานด้วยตัวเอง จึงทำให้ออกห่างจากองค์กรไปเรื่อยๆ

 

กำลังหมดไฟ หรือเบื่อกับสิ่งที่ทำอยู่

เจนแนะนำว่า สภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน สามารถช่วยให้อะไรๆ ดีขึ้นได้ อย่างแนวคิด Psychological Safety พื้นที่ปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน เป็นพื้นที่ที่ทำให้ทุกคนกล้าเสี่ยงที่จะเสนอไอเดียความคิดเห็น ตั้งคำถาม ไปจนถึงการยอมรับความผิดพลาด โดยยังไม่ต้องกังวลถึงผลเสียที่จะตามมา เพื่อให้เหล่าพนักงานรู้สึกว่าความคิดเห็นและไอเดียของตน มีส่วนสำคัญและถูกรับฟังอย่างแท้จริง

นอกจากฝั่งองค์กรจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน ที่ดึงเอาเหล่าคนทำงานกลับมาอยู่ในเป้าหมายเดียวกับองค์กรแล้ว ฝั่งพนักงานเองก็อาจจะต้องลองถามตัวเองดูอีกครั้งว่า การทำงานในตอนนี้ เรากำลังมีความสุขน้อยลงเพราะปัจจัยอื่นๆ หรือเพราะเราไม่มีความสุขกับมันตั้งแต่แรกกันแน่ โดยอาจจะเริ่มต้นจากการสำรวจตัวเองว่า

ลูกน้องหรือทีมงานของหลายบริษัท เกิดความรู้สึกท้อแท้ หดหู่ หมดกำลังใจในการทำงาน หรือตกอยู่ในภาวะ Burnout ไปตาม ๆ กัน ในฐานะของหัวหน้า หากปล่อยให้พนักงานของตัวเองหมดใจในองค์กร คงเป็นเรื่องที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก เพราะบรรยากาศการทำงานที่ไม่มีความสุข ส่งผลทำให้งานที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แถมเรายังอาจต้องเสียพนักงานฝีมือดีไปอีกด้วย

แล้วหัวหน้าอย่างเราจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะช่วยปลุกขวัญกำลังใจ และเป็นแรงผลักดันให้ทุกคนในทีมฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านี้ไปได้  JobsDB มีแนวทางดี ๆ ที่จะช่วยพาทีมเวิร์คของทุกคนให้ก้าวหน้าต่อไปได้พร้อมกัน

รับมือ! ภาวะ ‘Great Gloom’ หมดความสุข ทำงานไปวันๆ ไม่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

Burnout Syndrome หรือ 'ภาวะหมดไฟในการทำงาน' คือ ภาวะที่คนทำงานรู้สึกเหนื่อยล้า ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จากการทำงาน จนส่งผลให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เหนื่อย หมดแรง ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน และมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการทำงานในสภาวะที่มีความเครียดและกดดันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน งานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาพักผ่อน การไม่ได้รับความยอมรับในความสามารถหรือผลงานที่ทำไป ได้ทำงานที่ไม่ได้มีความสนใจ หรือไม่ได้มี Passion ที่จะทำ การได้ค่าตอบแทนที่น้อยเกินไป ไปจนถึงปัญหาความขัดแย้งในที่ทำงาน

ปัญหาความไม่ยุติธรรมในบริษัท หรืออาจจะเป็นคนประเภท Perfectionism ที่มีมาตรฐานในการทำงานสูงเกินไป คาดหวังสูง ไม่ยืดหยุ่น กดดันตัวเอง จนทำให้เกิดความเครียดสะสม กลายมาเป็น ภาวะ Burnout Syndrome ซึ่งถ้าเป็นหนักเข้าอาจจะพัฒนากลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้

วิธีสังเกตว่าคุณกำลังอยู่ในภาวะ Burnout  สามารถทำได้ด้วยการประเมินอาการผิดปกติ ดังนี้

  • อาการทางกาย

รู้สึกเหนื่อย หมดแรง ร่างการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ไปจนถึงอาการป่วยง่าย เพราะภูมิคุ้มกันต่ำ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อบ่อย ไม่อยากอาหารหรือทานอาหารมากเกินไป ปวดท้อง คลื่นไส้ มีความสามารถในการจำและการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด

  • อาการทางใจ

รู้สึกล้มเหลว หดหู่ เบื่อ ขาดแรงจูงใจ ไม่มีความสุขในการทำงาน มองโลกในแง่ร้าย โกรธและหงุดหงิดง่าย เจ้าอารมณ์ พร้อมจะขัดแย้งกับคนรอบข้างได้ง่าย สงสัยในตัวเองและคนอื่นตลอดเวลา รู้สึกโดดเดี่ยว สิ้นหวัง ไม่มีใครเข้าใจ ไม่พอใจในตัวเอง และรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ

  • อาการทางด้านพฤติกรรม

พูดคุยกับคนรอบตัวน้อยลง ชอบแยกตัวไม่สุงสิงกับใคร ไม่อยากตื่นมาทำงาน มาทำงานสายแต่กลับบ้านเร็ว เริ่มขี้เกียจมากขึ้น ไม่กระตือรือร้น ผัดวันประกันพรุ่ง ทำงานไปตามหน้าที่ ไม่มีความคิดอยากพัฒนาที่ทำอยู่ ไปจนถึงเริ่มใช้สิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ ในบางคน

รับมือ! ภาวะ ‘Great Gloom’ หมดความสุข ทำงานไปวันๆ ไม่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

5 วิธีแก้อาการ Burnout

ถ้าหากว่าคุณเริ่มมีอาหารเหล่านี้แล้ว แสดงว่าคุณเข้าข่ายจะอยู่ในภาวะ Burnout เข้าแล้ว ควรรีบจัดการปรับสมดุลในการใช้ชีวิตส่วนตัวกับการทำงานอย่างเร่งด่วน ลองมาดู กัน

1. พักผ่อน กลับมาดูแลร่างกายให้ดี

เริ่มจากการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามเลี่ยงสิ่งเสพติด ไม่ว่าจะเป็น เหล้า บุหรี่ หรือว่ากาแฟ อาจจะลองลาพักผ่อนเป็นช่วยสั้น ๆ เพื่อให้ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของคุณได้รีเฟรชและคืนความสมดุลกลับมา ไม่แน่ คุณอาจจะได้แรงบันดาลใจใหม่ ๆ กลับมาก็ได้

2. จัดระเบียบชีวิตให้มีคุณภาพ

ลองจัดลำดับความสำคัญของงานและเวลาในการใช้ชีวิตและทำงานของคุณใหม่ เลือกโฟกัสงานตามความสำคัญ จัดตารางเวลาในชีวิตประจำวันให้ชัดเจน เช่น ตื่นเวลาเดิมทุกวัน กำหนดเวลาในการทำงานให้ชัดเจน ไม่ทำงานตอนที่เลยเวลางานแล้ว

3. ลดการใช้มือถือแท็ปเลต และหาทางผ่อนคลายด้วยวิธีอื่น

ลดการเล่นมือถือและใช้โซเชียลมีเดีย อย่าง เฟซบุ๊ค หรือ อินสตาแกรม ออนไลน์ให้น้อยลง และลองหาวิธีผ่อนคลายทางอื่น เช่น อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ หรือเที่ยวในสถานที่ใหม่ ๆ อะไรก็ได้ทำคุณชอบ และพอได้ทำแล้วก็รู้สึกมีความสุข หรือจะลองนั่งสมาธิ ก็เป็นการผ่อนคลายที่ดีและยังช่วยฝึกจิตใจให้สงบสุขอีกด้วย

4. ปรับทัศนคติในการทำงาน เรียนรู้ความสามารถของตัวเอง

สังเกตและกลับมาทบทวนว่าคุณมีความสามารถในการทำงานอย่างไร ทำอะไรได้ดี อะไรที่ต้องพัฒนา งานแบบไหนที่เราชอบหรือไม่ชอบ ลองกลับมาทำความเข้าใจตัวเองอีกครั้ง และพยายามมองทุกสิ่งอย่างที่มันเป็น รวมถึงความเครียด ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของภาวะหมดไฟ ลองมองความเครียดในแง่ใหม่ มองว่าเป็นธรรมชาติของการทำงาน เป็นสิ่งที่สามารถมีได้ เพราะการมีความเครียดในระดับที่พอดี จะทำให้คุณมีความใส่ใจในการทำงาน ทำให้ผลงานออกมาเป็นที่น่าพอใจ

5. ปรึกษาคนอื่น

ถ้าคุณยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของภาวะ Burnout อาจจะลองคุยกับเพื่อนหรือคนรอบข้างดูก่อนก็ได้ ลองเลือกคนที่มองโลกในแง่ดี มีทัศนะคติที่ดีในการใช้ชีวิต มองเห็นคุณค่าในตัวผู้อื่น และคุณพร้อมจะเปิดใจคุยกับเค้า หรือถ้ายังรู้สึกไม่อยากคุยกับคนรอบตัวอยู่ อาจจะลองไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ อย่างจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาดูก็ได้ เพราะบุคคลเหล่านี้มักจะเจอคนที่มีปัญหาคล้าย ๆ คุณเข้ามาปรึกษาอยู่เสมอ ที่สำคัญเค้าสามารถให้คำแนะนำ จนคุณกลับมาเป็นคนที่มีแรงบันดาลใจ มีไฟในการทำงานอย่างเต็มเปี่ยมอีกครั้ง

รับมือ! ภาวะ ‘Great Gloom’ หมดความสุข ทำงานไปวันๆ ไม่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

ถ้าตามหาแรงบันดาลใจในการทำงานกลับมาได้แล้ว หรือรู้ตัวแล้วว่างานที่ทำอยู่ยังไม่ใช่ อยากหางานใหม่ที่จะไม่ทำให้คุณเกิดภาวะ Burnout อีกครั้ง ลองมาหาตำแหน่งงานที่ชอบ ในบริษัทที่ใช่ กับแอปพลิเคชั่น JobsDB แอปหางานที่มีงานที่เหมาะกับคุณ รอให้คุณเข้าไปสมัครอยู่

อ้างอิง: thematter ,JobsDB