ปั้นมหาวิทยาลัย วิทยาลัย คณะอุตสาหการสร้างสรรค์ Soft Power

ปั้นมหาวิทยาลัย วิทยาลัย คณะอุตสาหการสร้างสรรค์ Soft Power

วางรากฐานการศึกษา ปั้นมหาวิทยาลัย วิทยาลัย คณะอุตสาหการสร้างสรรค์ Soft Power เพื่อสร้างองค์ความรู้ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยอย่างยั่งยืน

อัปเดตซอฟต์พาวเวอร์ Soft Power ในมุมการศึกษา เมื่อวันก่อน งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และนานาชาติ ครั้งที่ 14 ด้านศิลปะและวัฒนธรรม “พลังศิลปวัฒนธรรมสรรค์สร้างเศรษฐกิจ” 

น่าสนใจ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “บทบาทของ อว. กับการขับเคลื่อน Soft Power” ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดขึ้น

ฟังคำอธิบายจาก เพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ปลัด อว.) มองว่า อว. เป็นหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่ มีบุคลากรรวมกว่าสองแสนคน

ประกอบด้วย หน่วยงานรวมทั้งสิ้นจำนวน 172 หน่วยงาน ครอบคลุมทั้งหน่วยงานภาครัฐ สถาบันวิจัย และสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในสาขาสร้างสรรค์ 125 มหาวิทยาลัย กว่า 871 หลักสูตร

ภารกิจที่ครอบคลุมการพัฒนาประเทศในแทบทุกมิติ อยู่กระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ในประเทศ

และพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนนโยบาย Soft Power ของรัฐบาล ผ่านการเข้าไปสนับสนุนใน 3 ส่วนสำคัญได้ทันที ดังนี้

1. การพัฒนากำลังคนให้มีทักษะสูงขึ้น (Upskill/Reskill)

2. การใช้ข้อมูลทางวิชาการเสริมในประเด็นสำคัญเพื่อให้ Soft Power ไทยได้รับความเชื่อถือในระดับโลก

3. การจัดโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม

 

สำหรับ 11 สาขาอุตสาหกรรม Soft Power เป้าหมาย

ประกอบด้วย

1. อาหาร

2. กีฬา

3. งานเทศกาล

4. ท่องเที่ยว

5. ดนตรี

6. หนังสือ

7. ภาพยนตร์  

8. เกมส์

9. ศิลปะ

10. การออกแบบ

11. แฟชั่น

เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้ประเทศไทยขึ้นเป็นหนึ่งในผู้นำของโลกในเรื่อง Soft Power

มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์ Soft Power ของรัฐบาลให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพราะเป็นแหล่งผลิตและพัฒนากำลังคนทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นที่รวมการศึกษาวิจัยและองค์ความรู้ภูมิปัญญาในพื้นที่ และมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรม

รวมทั้งมีการบ่มเพาะธุรกิจใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการ กระทรวง อว. ในวันนี้จึงพร้อมนำทุกองคาพยพเพื่อนำอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่มีคุณค่า แปลงเป็นมูลค่า สู่สายตาชาวโลก ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน

ปลัด อว. ชี้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิตนักศึกษา

รวมทั้งการแลกเปลี่ยนการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรมและนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้แนวคิดของดีบ้านฉัน ซึ่งจะแสดงให้เห็นพลังของ Soft Power ที่เป็นกลไลสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชน

กล่าวสำหรับผู้เขียนเองนั้น เห็นด้วยว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ถือเป็นหน่วยงานสำคัญ ในการปลุกปั้นมหาวิทยาลัยด้านซอฟต์พาวเวอร์ , วิทยาลัยด้านซอฟต์พาวเวอร์ , คณะด้านซอฟต์พาวเวอร์ , อุตสาหการสร้างสรรค์ด้านซอฟต์พาวเวอร์ คณะเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Soft Power , คณะสื่อสร้างสรรค์ซอฟต์พาวเวอร์ หรือใช้ชื่อเรียกคณะอื่นใดก็ได้ที่มุ่งเน้นศาสตร์ด้านซอฟต์พาวเวอร์อย่างจริงจัง

ปัจจุบัน การสร้างซอฟต์พาวเวอร์ ยังไม่มีมหาวิทยาลัยสร้างองค์ความรู้ด้านนี้อย่างชัดเจน ถ้ามหาวิทยาลัยใดจัดบูรณาการจัดการเรียนการสอน Soft Power อย่างเป็นระบบ ควรได้รับงบการสนับสนุนจากรัฐบาล และ อว. 

ถ้าทำได้ ถึงจะเกิดความเปลี่ยนแปลง และเกิดการพัฒนาองค์ความรู้และบัณฑิตด้านซอฟต์พาวเวอร์ เพื่อพัฒนาประเทศได้จริงอย่างยั่งยืน

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง :

บทความที่เกี่ยวข้องกับ soft power ทั้งหมด

บทความของนิติราษฎร์ บุญโย ทั้งหมด