ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เพิ่มการผลิตกำลังคนสาขาพัฒนา Soft Power 11 ด้าน

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เพิ่มการผลิตกำลังคนสาขาพัฒนา Soft Power 11 ด้าน

กสศ. ชวนสถานศึกษายื่นข้อเสนอโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ร่วมผลิตกำลังคนสายอาชีพคุณภาพ 2,500 คน ปี 67 ผ่านระบบออนไลน์ ยื่นข้อเสนอโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2566 – 9 มกราคม 2567

ผศ.ดร.ปานเพชร ชินินทร อนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับสูงกว่าภาคบังคับ กสศ. กล่าวว่า หลักสูตรและสาขาที่เปิดรับในปีนี้ ประกอบด้วย

1.สาขาที่เป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายผลักดันเศรษฐกิจและพัฒนาไปสู่เป้าหมายนโยบายประเทศ 4.0 ของรัฐบาล โดยมุ่งเน้นหลักสูตร สมัยใหม่ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (First-Curve) อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และ อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) อาทิ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมและเพื่อคุณภาพชีวิต อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิตอล อุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ครม. เคาะงบ กสศ. 7.09 พันล้าน แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ไข่ให้ชีวิต! เมื่อ “ไข่ไก่” ธรรมดาทำให้คนลืมตาอ้าปากได้

 

เช็กหลักสูตรทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง

2. สาขาที่ขาดแคลน ด้านสายอาชีพในท้องถิ่นจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ซึ่งสถานศึกษา ตั้งอยู่ในจังหวัด หรืออาจรวมถึงพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง โดยในปีนี้ ได้เพิ่มเติมด้านอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ 11 สาขา ที่ตอบโจทย์ของแต่ละพื้นที่ด้วย เช่น สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เกมและแอนิเมชั่น สาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่น และเครื่องแต่งกาย สาขาวิชาธุรกิจความงาม สาขาวิชาเชฟอาหารไทย สาขาวิชาการธุรกิจการกีฬา สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิก สาขาวิชาศิลปหัตถกรรมรูปพรรณเครื่องถมและเครื่องประดับ สาขาวิชาการถ่ายภาพและมัลติมีเดีย สาขาวิชาเครื่องประดับอัญมณี

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เพิ่มการผลิตกำลังคนสาขาพัฒนา Soft Power 11 ด้าน

3. ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและเทคโนโลยีดิจิทัล (STEM) ซึ่งเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตร 1 ปี ได้แก่หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล สถานศึกษาที่ขอรับทุนต้องได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาลอย่างน้อย 3 ปี และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์ ซึ่งสถานศึกษาที่ขอรับทุนต้องได้รับการรับรองจาก ทันตแพทยสภา

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เพิ่มการผลิตกำลังคนสาขาพัฒนา Soft Power 11 ด้าน

 

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง กสศ. สร้างโอกาสเด็กยากจน

น.ส.ธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ กสศ. กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยตลอด 5 ปีที่ผ่านมา โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง กสศ. ได้สร้างโอกาสให้เยาวชนจากครัวเรือนยากลำบาก ได้เรียนต่อสูงกว่าการศึกษาภาคบังคับในสาขาความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศและท้องถิ่นแล้ว ถึง 11,768 คน โดยกลุ่มนักศึกษาที่เรียนจบแล้วและเข้าทำงานในสถานประกอบการต่างๆ สามารถสร้างรายได้สูงกว่าพ่อแม่ถึง 4 เท่า มีรายได้หลักเฉลี่ยเดือนละ 12,000 บาท เยาวชนกลุ่มนี้เป็นคนแรกของครอบครัวที่หลุดพ้นจากความยากจนข้ามรุ่น

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เพิ่มการผลิตกำลังคนสาขาพัฒนา Soft Power 11 ด้าน

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เพิ่มการผลิตกำลังคนสาขาพัฒนา Soft Power 11 ด้าน

เรืออากาศโทสมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า 78% ของนักศึกษาทุนมีผลการเรียนที่มีระดับดีมากเกรดเฉลี่ย 3.00 ถึง 4.00 นักศึกษาทุนรุ่นแรกที่เรียนจบในระดับปวส. มีรายได้เฉลี่ย ถึง 10,800 บาท และมีรายได้เฉลี่ยสูงสุดถึง 32,000 บาท และเกิดความร่วมมือร่วมทุนกับภาคเอกชนผ่านการยกระดับคุณภาพเรื่องหลักสูตรที่ทันสมัยในสถานศึกษา ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร อาหารและโภชนาการแมคคาทรอนิกส์ การซ่อมบำรุงระบบรางเครื่องกลงานเชื่อมยานยนต์ไฟฟ้ายานยนต์สมัยใหม่มีการพัฒนามาตรฐานการฝึกงาน มีการพัฒนามาตรฐานการจัดการศึกษาทวิภาคีการพัฒนาเครื่องมือในการเรียนการสอน การพัฒนาครูอาชีวศึกษาในสถานประกอบการ

“การทำงานร่วมกันระหว่างกสศ.และอาชีวะ มีความสอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการยกระดับคุณภาพการศึกษาเต็มกำลังความสามารถอย่างมีกัลยาณมิตรต่อกัน ภายใต้แนวการทำงานจับมือไว้แล้วไปด้วยกันและเรียนดีมีความสุข โดยมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรกำลังคนของประเทศหรือทุนมนุษย์”

ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เพิ่มการผลิตกำลังคนสาขาพัฒนา Soft Power 11 ด้าน