CADT DPU อากาศยานไร้คนขับ (Drone) กับทิศทางการกำกับดูแลของไทย

CADT DPU อากาศยานไร้คนขับ (Drone) กับทิศทางการกำกับดูแลของไทย

CADT DPU ร่วม ชสบ. จัดสัมมนา 'อากาศยานไร้คนขับ (Drone) กับทิศทางการกำกับดูแลของไทย'รวบตึงหัวข้อที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโดรนรวมไว้ในงานเดียว 11 ก.ค.นี้ ที่ มธบ.สนใจลงทะเบียนร่วมงานฟรี !!

นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนา มานนท์ คณบดีวิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT: College of Aviation Development and Training ) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า ในช่วงเวลานี้ อุตสาหกรรมโดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ เริ่มมีความสำคัญและมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ หลากหลายมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture ) หรือ เกษตรอัจฉริยะ (Smart  Agriculture)  ด้านการทำแผนที่และการสำรวจ (Mapping & Survey) ด้านการเฝ้าระวังและตรวจสอบความปลอดภัย (Surveillance & Monitoring) ด้านการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Management) หรือการจัดการภัยพิบัติ (Disaster Management)  ด้านความบันเทิง(Entertainment) เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ใช้โดรนจำเป็นต้องมีความรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกฎหมายข้อบังคับ หรือ ระเบียบข้อจำกัดในการใช้ รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นต้น ดังกล่าวนี้ วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มธบ. (CADT) และชมรมสถาบันการศึกษาและบุคลากรด้านการรบินประเทศไทย (ชสบ.) เล็งเห็นความสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมโดรน จึงได้ร่วมกันจัดสัมมนา เรื่อง อากาศยานไร้คนขับ (Drone) กับทิศทางการกำกับดูแลของไทย  ในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2566 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องประชุมสนม สุทธิพิทักษ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

CADT DPU อากาศยานไร้คนขับ (Drone) กับทิศทางการกำกับดูแลของไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

‘CADT DPU’ ติดปีกอุตสาหกรรมการบินของไทย เดินเครื่องศักยภาพทุกมิติ

CADT DPU พร้อมReskill-Upskill กลุ่มธุรกิจการบิน มุ่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

‘สายการบินจีน’ ฟื้นตัว ประกาศรับพนักงานบนเครื่องหลายพันตำแหน่ง

 

4 กิจกรรมที่ไม่ควรพลาดฉลองครบรอบ55 ปีมธบ.

โดยการจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ Drone และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาครัฐและภาคเอกชน ในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์จาก Drone และเพื่อฉลองในโอกาสครบรอบ 55 ปี ของการสถาปนามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หัวข้อสัมมนา ประกอบด้วย

1) 'ความเป็นมาและการพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Drone)' วิทยากรโดย พลอากาศตรี บุญเลิศ อันดารา รองผู้บัญชาการ  โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช  

2)กฎหมายอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ของประเทศไทย วิทยากร โดยนายสมชาย  พิพุธวัฒน์  ประธานชมรมสถาบันการศึกษาและบุคลากรด้านการบินประเทศไทย (อดีตอธิบดีกรมการบินพลเรือน) 

CADT DPU อากาศยานไร้คนขับ (Drone) กับทิศทางการกำกับดูแลของไทย

3)แนวทางการกำกับดูแลการใช้งานอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ในประเทศไทย วิทยากร : นายฉัตรชัย  ปั่นตระกูล รักษาการผู้จัดการฝ่ายมาตรฐานอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน  สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

4)อนาคตอากาศยานไร้คนขับ (Drone) กับเทคโนโลยีที่กำลังปฏิวัติโลก วิทยากร โดย นายจรรยวรรธน์  ชาติอนุลักษณ์ นายกสมาคมโดรนซอคเกอร์ประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ของ Drone มาโชว์ ภายในงานอีกด้วย

 

สัมมนา 'อากาศยานไร้คนขับ' พัฒนาอุตสาหกรรมอนาคต

นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนา กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดสัมมนาเรื่องอากาศยานไร้คนขับ (Drone) กับทิศทางการกำกับดูแลของไทย ครั้งนี้ถือว่าเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต หรือ New S-curve ตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน ทั้งผู้ผลิต    แนวทางการกำกับดูแล (Regulation Scheme) การบริหารจัดการคลื่นความถี่ รวมไปถึงแนวทางการฝึกอบรมที่มีหลายระดับสอดคล้องกับมิติการประยุกต์ใช้งานโดรน ประเภทต่าง ๆ อีกด้วย 

พร้อมกับรับฟังและระดมความคิดเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมโดรนเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก้าวต่อไปของการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว ทั้งในบริบทการกำกับดูแลควบคู่ไปกับการส่งเสริม พัฒนา และการประยุกต์ใช้ ตลอดจนการสร้างมาตรฐานของอุตสาหกรรม   อากาศยานไร้คนขับ รวมทั้งผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอากาศยานไร้คนขับอีกด้วย

CADT DPU อากาศยานไร้คนขับ (Drone) กับทิศทางการกำกับดูแลของไทย

“ปัจจุบันโดรนมีบทบาทอย่างมาก ในการสัมมนา 3 ชม.นี้ ผู้เข้าร่วมงานจะได้ความรู้มากมาย นอกจากเรื่องของกฎหมายแล้ว หน่วยงานที่กำกับดูแลก็จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้การใช้โดรนมีความชัดเจนมากขึ้น  การพัฒนาเทคโนโลยีของโดรนจะไปในทิศทางใดบ้างเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และเทคโนโลยีโดรนจะเข้ามาปฏิวัติโลกในมุมใดได้บ้าง ดังจะเห็นได้ว่าระบบโลจิสติกส์ในต่างประเทศมีการใช้โดรนส่งของในระยะใกล้ ๆ กันแล้ว รวมทั้งการนำโดรนมาใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร จะเป็นจริงได้เมื่อไหร่" นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนา กล่าว

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการออกบูธของผู้ประกอบการ มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาโชว์ โดยเฉพาะโรงเรียนนายเรืออากาศที่ชนะการแข่งขันโดรนจากต่างประเทศ รวมทั้ง Drone Academy จะมาสาธิตโดรนโชว์ในงานนี้ด้วย

CADT DPU อากาศยานไร้คนขับ (Drone) กับทิศทางการกำกับดูแลของไทย

นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนา กล่าวตอนท้ายว่า ภายหลังการจัดงานจะได้นำองค์ความรู้ ประสบการณ์ รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากผู้แทนหรือหน่วยงานต่าง ๆ ไปบูรณาการในการทำงานต่อไป โดยอนาคต ตั้งเป้าให้ CADT DPU เป็นศูนย์กลางทางด้านโดรน เป็น One Stop Service ภายใต้การดูแลของ สถาบันการบิน มธบ. (DPU Aviation Academy : DAA)  โดยมีการฝึกอบรมด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับโดรน เป็นต้น

สำหรับผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่  https://forms.gle/N3FXP6w5BsPCWtMb8