เปิดแล้ว! “AIT” สถาบันนวัตกรรม และวิทยาการเรียนรู้ พัฒนาครูสร้างคนรุ่นใหม่

เปิดแล้ว! “AIT” สถาบันนวัตกรรม และวิทยาการเรียนรู้ พัฒนาครูสร้างคนรุ่นใหม่

ม.ศรีปทุม - ชลบุรี จัดตั้ง “AIT” สถาบันนวัตกรรม และวิทยาการเรียนรู้ที่ล้ำสมัย เพื่อพัฒนาอาจารย์และนักการศึกษาพันธุ์ใหม่ รองรับความเติบโตก้าวหน้าของเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ด้วยการศึกษาที่เน้นผลลัพท์การเรียนรู้ 4 ด้าน

“Academy Of Innovative Teaching (AIT) หรือสถาบันนวัตกรรมและวิทยาการการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาอาจารย์ และนักการศึกษาพันธุ์ใหม่ จัดตั้งขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้วยการศึกษาที่เน้นผลลัพท์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ (Knowledge) ,ด้านทักษะ (Skills) ,ด้านจริยธรรม(Ethics) ,ด้านคุณลักษณะ (Character) โดยเน้นการพัฒนาผู้เรียนผ่านหลักสูตร ให้มีเทคนิคและทักษะการสอนที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศและพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไป ในปัจจุบัน”

เปิดแล้ว! “AIT” สถาบันนวัตกรรม และวิทยาการเรียนรู้ พัฒนาครูสร้างคนรุ่นใหม่

ดร.บุษบา ชัยจินดา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี กล่าวว่า การเรียนรู้ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ให้ความสนใจกับข้อมูลข่าวสารนอกห้องเรียนผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ปัจจุบันความสนใจในห้องเรียน จึงเป็นอุปสรรคต่อการสอนของผู้สอน และหากไม่ปรับวิธีการสอน ห้องเรียนก็จะมีความน่าสนใจน้อยลง

 

  • ออกแบบหลักสูตรพัฒนาผู้สอน และนักศึกษา

ดร.บุษบา กล่าวต่อว่า การลงมือปฎิบัติไปพร้อมกับการเรียนการสอนนั้น จะส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจในหลักการและทฤษฎี ไปพร้อมๆ กับการเรียนในชั้นเรียน แต่การสอนโดยการใช้กิจกรรม (Activities Base Learning) เพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการสร้างความเข้าให้ผู้เรียนได้

ดังนั้น Academy Of Innovative Teaching (AIT) จึงออกแบบหลักสูตรเพื่อช่วยให้ผู้สอนมี 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่

1)ผู้สอนเข้าใจพฤติกรรมและทัศนติของผู้เรียน

2)การใช้เทคนิคการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน

3)การเลือกใช้เครื่องมือหรือสื่อประกอบการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน 

4)วิธีการประเมินผู้เรียนที่มีความหลากหลายตามสภาพจริง

เปิดแล้ว! “AIT” สถาบันนวัตกรรม และวิทยาการเรียนรู้ พัฒนาครูสร้างคนรุ่นใหม่


ซึ่งขณะนี้ผู้เข้าอบรมรุ่นแรกกำลังสำเร็จในหลักสูตรดังกล่าว และจะมีรุ่นต่อๆ ไปในเร็วๆ นี้

ด้าน รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิจัยและแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ออกแบบและรับผิดชอบดูแลหลักสูตรอาจารย์และนักการศึกษาพันธุ์ใหม่ของสถาบัน กล่าวว่า การพัฒนาผู้สอนให้มีความเข้าใจในเรื่อง Active Learning ย่อมต้องใช้วิธีการอบรมด้วย Active Learning ที่เข้มข้น เพื่อให้เขาได้สัมผัสบรรยากาศของการเป็นนักเรียนรู้เชิงรุกในห้องเรียนประสิทธิภาพสูงว่าเป็นอย่างไร

 

  • 5 หมวดทักษะการเรียนรู้ที่คณาจารย์ต้องมี

โดยหลักสูตรดังกล่าวพุ่งเป้าไปที่คณาจารย์ระดับอุดมศึกษา ทั้งคณาจารย์ ที่อยู่ในหน่วยผลิตครู คณาจารย์ในวิชาชีพต่างๆ ที่มีหน้าที่ผลิตแรงงานป้อนภาคธุรกิจอุตสาหกรรมหรือนักการศึกษาที่มีหน้าที่ในการดูแลพัฒนาศักยภาพครู เช่น ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศก์ หรือศึกษานิเทศก์ มีศักยภาพที่สอดคล้องกับกลไกการเรียนรู้ ของมนุษย์ยุคปัจจุบัน ที่เปลี่ยนแปลง อย่างสิ้นเชิง

เปิดแล้ว! “AIT” สถาบันนวัตกรรม และวิทยาการเรียนรู้ พัฒนาครูสร้างคนรุ่นใหม่

รศ.ดร.ธันยวิช กล่าวต่อไปว่า จากการวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้สอนในปัจจุบันพบว่า ความสามารถในการเป็นผู้สอนแบบ Active Learning ให้ได้ทั้งความรู้และทักษะตลอดจนทัศนคติจำเป็นที่จะต้องมีทักษะประกอบกัน ใน 5 หมวดความรู้ คือ

A: Assessment หมวดการประเมินให้หลากหลายสอดคล้องกับสภาพจริง 

B: Brain Sparking หมวดการทำงานของสมองและการกระตุ้น

C: Coaching Techniques หมวดเทคนิคการโค้ช

D: Discussion Method หมวดเทคนิคการสร้างบรรยากาศการอภิปรายในชั้นเรียนด้วยการตั้งคำถาม

E: Edutainment Design หมวดการออกแบบพฤติกรรมให้สนุกท้าทาย ด้วยวิธี Onsite และ Online ที่ฝึกฝนผู้อบรมในการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ต่างๆ มากมาย เช่น Metaverse, Galaxy of Creativity, Advance Metimeter, Competency Auto Expert เป็นต้น

เปิดแล้ว! “AIT” สถาบันนวัตกรรม และวิทยาการเรียนรู้ พัฒนาครูสร้างคนรุ่นใหม่

“เกือบ 20 Workshop ที่เป็นการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้น ภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ซึ่งในการจัดหลักสูตรในรุ่นที่ 1 ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยผู้รับการอบรมได้นำเอาความรู้และเทคนิคต่างๆ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และสถาบันฯ กำลังจะเริ่มรุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 โดยมีผู้สมัครเข้าอบรมเต็มจำนวนเรียบร้อยแล้ว สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมอบรมหลักสูตรนี้ จะประกาศรับรุ่นที่ 4 ผ่านหน้า เพจ Academy of Innovative Teaching : AIT ประมาณกลางปีหน้า” รศ.ดร.ธันยวิช กล่าว