เปิดตัวโรงพยาบาล 68 แห่ง ใช้"แอนติบอดี ค็อกเทล" รักษาผู้ป่วย"โควิด-19"

เปิดตัวโรงพยาบาล 68 แห่ง  ใช้"แอนติบอดี ค็อกเทล" รักษาผู้ป่วย"โควิด-19"

"แอนติบอดี ค็อกเทล" ที่ใช้รักษาผู้ป่วย"โควิด-19" มาถึงไทยแล้ว และพร้อมรักษาในโรงพยาบาล 68 แห่ง เนื่องจากเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 64 โรงพยาบาล 68 แห่งได้ลงนามกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทนำเข้า จัดสรร และกระจายยา แอนติบอดี ค็อกเทล ที่สามารถดูแลผู้ป่วยโควิด และมีความพร้อมในการรักษาด้วยแอนติบอดี ค็อกเทล

โดยยาได้เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้วและกระจายไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด

แอนติบอดี ค็อกเทล ตัวเลือกรักษาโควิด  

เนื่องจาก แอนติบอดี ค็อกเทล เป็นยาในกลุ่มภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ ซึ่งจากผลการวิจัยทางคลินิกในต่างประเทศ และประสบการณ์ตรงจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อที่รักษาผู้ป่วยในประเทศไทยพบว่า เป็นตัวเลือกการรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยโควิด-19 อาการเล็กน้อยถึงปานกลาง

และผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่โรคอาจลุกลามไปสู่ระดับรุนแรง เช่น อายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไป มีภาวะโรคอ้วน มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือภูมิคุ้มกันถูกกด เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ มีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอดเรื้อรัง โรคตับเรื้อรัง และโรคไตเรื้อรัง

แอนติบอดีค็อกเทล สามารถช่วยลดจำนวนไวรัสในร่างกาย ช่วยให้ผู้ป่วยลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลได้ถึง 70% ลดระยะเวลาการแสดงอาการให้สั้นลง รวมถึงลดอัตราการเสียชีวิตได้

โรงพยาบาลรักษาด้วยแอนติบอดีค็อกเทล

นายแพทย์ทวีกฤตย์ สิริพงศ์บุญสิทธิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวว่า เพื่อให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุดจากการรักษาด้วยยาแอนติบอดี ค็อกเทล ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์และได้รับยาให้เร็วที่สุด หลังตรวจพบเชื้อหรือเริ่มมีอาการ ไม่เกิน 7-10 วัน

ยิ่งได้รับยาเร็ว ผลการรักษายิ่งได้ผลดี แพทย์จะให้ยาทางหลอดเลือดดำ ประมาณ 30-60 นาที ซึ่งถือว่าใช้เวลาสั้นและสะดวก

จากนั้นผู้ป่วยต้องสังเกตอาการอีกราว 30 นาที ส่วนมากมักไม่แสดงอาการข้างเคียงใด ๆ แพทย์จึงอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล จะติดตามอาการหลังได้รับยาต่ออีกประมาณ 28 วัน

ในบรรดาผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางหรือภูมิคุ้มกันต่ำ (immunocompromised) นอกจากผู้ป่วยเบาหวานและผู้สูงอายุแล้ว ผู้ป่วยไตเรื้อรัง ก็ถือว่าเป็นกลุ่มผู้ป่วยเสี่ยงสูง อาจลุกลามไปสู่ระดับรุนแรง หากติดเชื้อโควิด แม้จะได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้วก็ตาม

เนื่องจากผู้ป่วยไตเรื้อรัง อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตอื่นๆ นอกเหนือจากภาวะแทรกซ้อนของโควิด-19 เช่น ภาวะน้ำเกิน เลือดเป็นกรด หรือเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ เป็นต้น แต่ในทางกลับกันการวินิจฉัยและการดูแลกลับทำได้ยาก"

เปิดตัวโรงพยาบาล 68 แห่ง  ใช้\"แอนติบอดี ค็อกเทล\" รักษาผู้ป่วย\"โควิด-19\"

จากประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่ผ่านมา คุณหมอพบว่ามีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ติดเชื้อโควิด-19 ประสบความลำบากจากการไม่สามารถเข้าถึงบริการฟอกไตทางหลอดเลือด ถูกส่งตัวมาเข้ารับการรักษาที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นจำนวนมาก

"หลายรายมีอาการหนัก หากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเสี่ยงที่จะต้องเข้ารักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (ICU) หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต” 

ภูมิคุ้มกันหมู่ ยังไม่เพียงพอ

ทั้งนี้ การคลายล็อกดาวน์และการเปิดประเทศ ซึ่งเริ่มต้นวันที่ 1 พ.ย. 2564

นายแพทย์ทวีกฤตย์ กล่าวว่า เนื่องจากประเทศไทยยังสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ไม่ทัน ตอนนี้พวกเราทุกคนต้องช่วยกันลดภาระของระบบสาธารณสุข หากพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 การประเมินระดับความรุนแรงของอาการเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

"ที่ผ่านมามีผู้ป่วยหลายรายแจ้งกับบุคลากรทางการแพทย์ว่า ไม่รู้สึกเหนื่อยหรือรู้สึกว่าตนไม่มีอาการ แต่ไม่นานอาการกลับทรุดลงอย่างรวดเร็วและมาถึงมือแพทย์ล่าช้า จนเชื้อแพร่กระจายลงปอด ปอดติดเชื้อรุนแรง จนผู้ป่วยหลายรายปอดกลายเป็นพังผืดเรื้อรัง

ในฐานะแพทย์ด่านหน้าที่รับมือกับสถานการณ์มาตั้งแต่ระลอกแรก จึงอยากให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความสำคัญของการรีบตรวจและรีบเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ร่วมกับการไม่รีรอรีบฉีดวัคซีน