ถอดโมเดล ‘Home Isolation’ อยู่บ้านใกล้หมอสู้โควิด ที่ ‘ชุมชนนิมิตใหม่เมืองมีน’

ถอดโมเดล ‘Home Isolation’ อยู่บ้านใกล้หมอสู้โควิด ที่ ‘ชุมชนนิมิตใหม่เมืองมีน’

เมื่อปัญหาจำนวนเตียงไม่เพียงพอกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นหลักหมื่นต่อวัน ทำให้ภาครัฐต้องมองหาแนวทางการรักษาตัวที่บ้าน หรือ "Home Isolation" เป็นทางออกที่จำเป็นอย่างยิ่งในห้วงเวลานี้

ชุมชนนิมิตใหม่เมืองมีนเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร หนึ่งใน 23 ชุมชนต้นแบบ ที่วางระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้านหรือที่ชุมชม” Home/Community Isolation โดยประสานความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลปิยะเวท สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า มาตรการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation) และมาตรการดูแลผู้ป่วยด้วยระบบชุมชน (Community Isolation) เป็นมาตรการเสริมนำมาใช้ในพื้นที่ที่เตียงเต็ม โดยเฉพาะพื้นที่ กทมและปริมณฑล ผู้ป่วยที่อยู่ที่บ้านหรือในชุมชนจะได้รับการดูแลเหมือนโรงพยาบาล พร้อมทีมแพทย์ อุปกรณ์ ยาและอาหาร ที่ผ่านมา สปสช. ได้ร่วมกับโรงพยาบาลปิยะเวท และองค์กรเครือข่ายภาคประชาชน ในการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรงกว่า 1,200 คน ที่อยู่ในระหว่างรอเตียง และกลุ่มผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) ในชุมชน 23 แห่ง ซึ่งผู้ติดเชื้อจะถูกลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยของ รพ.ปิยะเวท และนัดวันเอกซเรย์ปอด โดยโรงพยาบาลจัดรถเอกซเรย์เคลื่อนที่ไปตรวจผู้ป่วยในชุมชน เพื่อวินิจฉัยป้องกันปอดอักเสบให้เร็วที่สุด และตรวจซ้ำทุก 3 วัน

กระบวนการทั้งหมด สปสช.จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยสนับสนุนค่าอาหารวันละ 1,000 บาท และค่าอุปกรณ์วัดอุณหภูมิวัดระดับออกซิเจนไม่เกิน 1,100บาทต่อราย รวมทั้งค่าบริหารจัดการอื่น ค่ารถ ค่าเอกซเรย์ ค่า swop และค่าตรวจ RT-PCR ตามหลักเกณฑ์

162737800191

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. สนับสนุนสร้างระบบ Home Isolation และ Community Isolation ร่วมกับภาคีเครือข่ายช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 โดยมีเป้าหมายสำคัญ สร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อจะรวมตัวกันแก้ปัญหา เมื่อโควิดระบาดด้วยการกักตัวอยู่ที่บ้าน ซึ่งใช้คำว่า ศูนย์พักคอยขณะนี้มีทั้งหมด 30 ชุมชนใน กทมและปริมณฑล โดย สสสมีส่วนพัฒนาระบบให้เดินหน้าอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

  1. พัฒนาให้เกิดการวางระบบโดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ดูแลผู้ป่วยที่แยกกักตัว
  2. พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เป็นตัวกลางเชื่อมประสาน ขณะนี้มีจำนวน 80 คนแล้ว ซึ่งแกนนำเหล่านี้นอกจากช่วยเรื่องโควิด-19แล้ว จะต่อยอดช่วยเรื่องอื่นๆ ต่อไปอีกยาวนาน
  3. สุดท้ายจะเป็นชุมชนต้นแบบที่จัดการตัวเองแล้วเชื่อมประสานไปข้างนอกได้ในภาวะปกติและภาวะวิกฤต เพราะหลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ยังมีปัญหาที่ชุมชนต้องสะสางหรือวางแนวทางแก้ปัญหาอีกมากมาย เพื่อให้ชุมชนสามารถฟื้นตัวได้และพร้อมรับกับวิกฤตใหม่ๆ ได้

หน้าที่หลักของ สสส. คือ การสร้างเสริมสุขภาพ และมีจุดที่เน้นคือกลุ่มประชากรที่เปราะบางหรือประชากรที่มีปัญหาทางสุขภาวะในชีวิต ซึ่งก่อนโควิด-19 จะมา เขามีทุกขภาวะหลายอย่างอยู่แล้ว อาจเป็นโรคไม่ติดต่อทั้งหลายที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต เราร่วมงานกับเครือข่ายสลัมสี่ภาค มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนรวมตัวกันแก้ปัญหาในทุกวิกฤติได้ดร.สุปรีดา ย้ำบทบาท สสส.

162737818933

ตัวแทนเครือข่ายสลัมสี่ภาค เนืองนิชย์ ชิดนอก ที่ปรึกษาเครือข่ายฯ เล่าว่า การทำงานให้ชุมชนเป็นศูนย์พักคอยเริ่มต้นตั้งแต่เดือน .ที่ผ่านมา เพื่อพยายามให้ชุมชนพึ่งพิงตัวเองให้ได้ จึงได้จัดอบรมอาสาสมัคร จัดหาศูนย์พักคอยที่มีความพร้อม เช่น ในชุมชนมีศูนย์ประชุมอยู่แล้ว หรือในชุมชนมีบ้านมั่นคงอยู่แล้วยังไม่ได้เข้าอยู่ ให้ทำเป็นศูนย์พักคอยแล้วมีอาสาสมัครเข้าดูแล โดยมีพยาบาล หมอโทรมาติดตามอาการของผู้ป่วย ซึ่งมีผู้ป่วยที่ดูแลร่วมกับ IHRI 53 ราย มีทั้งเคสสีเขียวและแดง จนขณะนี้มีผู้หายปกติแล้ว 1 ราย

ไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อมาได้อย่างไรไปตรวจที่ รพ.สายไหม แต่เป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวกลับมากักตัวอยู่ที่บ้าน ซึ่งอยู่กับแฟนแต่แยกอยู่คนละชั้น  ทางเครือข่ายสลัมสี่ภาค ส่งยาฟ้าทะลายโจร และยาพารา และเครื่องวัดออกซิเจนมาให้ที่บ้าน แฟนต้มน้ำขิง ข่าตะไคร้ให้ดื่มด้วยอาการดีขึ้นใน5 วัน จนถึงวันที่10 ไปเอกซ์เรย์ปอดที่รพ.ปิยเวท พบว่าปอดปกติ ช่วงที่รักษาอยู่ที่บ้านพยาบาลจะโทรมาถามอาการตลอดเวลา วันหนึ่งเฉลี่ยถึง 5 ครั้งนัธนวรรณ จันทกลม วัย 46 ผู้ป่วยโควิดในชุมชนนิมิตใหม่เมืองมีนบอกเล่า

พญ.สุพัตรา  ศรีวณิชชากร นายกสมาคมแพทย์เวชปฎิบัติทั่วไป เวชศาสตร์ครอบครัว แห่งประเทศไทย อธิบายว่า การอยู่ที่บ้านได้ทั้งด้านจิตใจ สังคม ดีกว่าไปอยู่ที่โรงพยาบาล แต่ประเด็นโรคติดเชื้อจะพยายามแยกคนออกมา Home Isolation ทำให้ไม่รู้สึกว่ารอคอยเพื่อจะต้องไปโรงพยาบาล โดยทีมแพทย์เข้ามาสนับสนุนเชิญชวนคลินิกชุมชนอบอุ่นในพื้นที่กทม.200 แห่ง  แต่ละแห่งสามารถดูแลผู้ป่วยได้ถึง10 คน

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล CEO โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า ในการรักษาแพทย์จะพยายามวินิจฉัยโรคด้วยการคัดกรอง สำหรับคนไข้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ มีโรคประจำตัว แม้จะฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม ทาง รพ.จะเร่งตรวจสภาพปอดให้เร็วที่สุดในคนไข้กลุ่มนี้ ขณะนี้โรงพยาบาลกำลังเพิ่มวอร์ดคนไข้ในกลุ่มสีเหลืองอีกจำนวน 200 เตียงในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร และเตียงไอซียูสนามอีกจำนวน 120 เตียงเพื่อให้เพียงพอในการรักษา ซึ่งโรงพยาบาลพร้อมรับการส่งต่อผู้ป่วยจากชุมชน

ด้าน ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการ สปสชกล่าวยืนยันว่า สปสชจะเป็นตัวกลางในการเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย และเข้าไปคัดกรองเชิงรุกซึ่งในหนึ่งวันสามารถตรวจได้หลักหมื่น ดังนั้น ถ้ารู้ว่าติดเชื้อแล้วให้โทร 1330 กด 14 เพื่อลงทะเบียน รายชื่อเหล่านี้จะส่งไปที่คลีนิคชุมชนของครอบครัวอบอุ่นของสปสช. รวมทั้งเครือข่ายรพ.จะเข้าไปดูแล 14 วันและจะพิจารณาจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์” เพื่อป้องกันเชื้อลงปอด

ระบบชุมชนเข้มแข็ง และตระหนักรู้ คือวัคซีนทางใจที่สำคัญสำหรับสถานการณ์วิกฤติในขณะนี้

162737839265