ไม่ตกเทรนด์! 'งานรุ่ง- งานร่วง' อาชีพไหนจะรอดในปี 2023

ไม่ตกเทรนด์! 'งานรุ่ง- งานร่วง' อาชีพไหนจะรอดในปี 2023

โลกในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของผู้คนทุกเจน ยิ่งในกลุ่มของคนรุ่นใหม่ เจนZ เจน Y เรียกได้ว่าทุกพฤติกรรม ทุกการใช้ชีวิต ทุกการทำงานล้วนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทั้งสิ้น

Keypoint:

  • World Economic Forum รายงานอาชีพหรืองานที่จะรุ่งและร่วงในปี 2023-2027 ซึ่งงานที่รุ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานสายเทคโนโลยี AI  ความยั่งยืน วิศวกรที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ฟินเทค และนักวิเคราะห์ข้อมูล
  • อาชีพที่ต้องระวังจะสะดุดเรื่องงาน เป็นสายอาชีพที่นายจ้างสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาทำงานได้ เช่น  งานด้านธุรการหรือเลขานุการ ธุรการบริการไปรษณีย์ แคชเชียร์ พนักงานขายตั๋ว คีย์ข้อมูล เลขาทั่วไปและเลขาผู้บริหาร 
  • ไม่ว่าจะทำตำแหน่งงานไหน หากมีทักษะด้านความคิดวิเคราะห์ AI ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการรับรู้ความสามารถของตนเอง การปรับตัวสามารถอยู่รอดได้ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

สภาเศรษฐกิจโลก หรือ ของ World Economic Forum’ ได้รายงาน Future of Jobs 2023 ระบุว่า เทคโนโลยีใหม่ๆ และวิกฤตด้านสภาพอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น กำลังเปลี่ยนภูมิทัศน์ของโลกการทำงานในอัตราที่เร็วอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน 

โดยตั้งแต่ปี 2023- 2027 ระบุว่าจะมีการสร้างงานใหม่ 69 ล้านตำแหน่งทั่วโลก ขณะเดียวกันตำแหน่งงานอีก 83 ล้านตำแหน่งก็คาดว่าจะหายไป เมื่อหักลบกันตำแหน่งงานจะลดลงสุทธิ 14 ล้านตำแหน่ง

อีกทั้ง จากการสำรวจบริษัท 803 แห่ง ที่ว่าจ้างพนักงานทั้งหมด 11.3 ล้านคนใน 45 เศรษฐกิจทั่วโลก World Economic Forum ได้จัดอันดับ 10 ตำแหน่งงานที่บริษัทต่างๆ คาดว่าจะเติบโตพุ่งแรงสุด และลดลงเร็วสุดในช่วง 5 ปีข้างหน้า ปี 2566-2570

ความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้าน ปัญญาประดิษฐ์ AI และ Machine Learning คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 40% หรือมีความต้องการเพิ่มประมาณ 1 ล้านตำแหน่งทั่วโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า เนื่องจากบริษัทจำนวนมากจะใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อทำให้กระบวนการทำงานเป็นอัตโนมัติมากขึ้น และประเมินความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น ท่ามกลางการใช้งานด้านอื่นๆ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

ธุรกิจต้องใช้เทคโนโลยีควบคู่การสร้างความยั่งยืน

สำหรับการนำเทคโนโลยีมาใช้  ในอีก 5 ปีข้างหน้า กว่า 85% ขององค์กรที่ทำแบบสำรวจระบุว่า การนำเทคโนโลยีใหม่และล้ำหน้ามาใช้มากขึ้น และการเข้าถึงดิจิทัลที่กว้างขึ้น เป็นแนวโน้มที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในองค์กรของตนมากที่สุด การนำมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี(ESG) ภายในองค์กรที่ขยายตัวมากขึ้นก็จะส่งผลกระทบเช่นกัน

แนวโน้มที่มีผลกระทบมากที่สุดรองลงมาคือเศรษฐกิจมหภาค ได้แก่ค่าครองชีพที่สูงขึ้นและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผลกระทบของการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียวได้รับการยอมรับว่าเป็นเทรนด์มหภาคที่มีผลกระทบมากเป็นอันดับ 6 รองลงมาคือการขาดแคลนอุปทานและความคาดหวังของผู้บริโภคเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

นอกจากนั้น ความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน รวมถึงกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น ไปจนถึงการปรับห่วงโซ่อุปทานให้สอดรับกับท้องถิ่นมากขึ้น (Localization) ก็ก่อให้เกิดตำแหน่งงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากมายในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน และวิศวกรพลังงานหมุนเวียน

ส่วนการปรับใช้เทคโนโลยีนั้น ข้อมูลขนาดใหญ่(big data) คลาวด์คอมพิวติ้ง และ AI มีโอกาสสูงที่จะนำไปใช้  ข้อมูลยังแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการพาณิชย์และการค้าแบบดิจิทัล แพลตฟอร์มดิจิทัลและแอปเป็นเทคโนโลยีที่องค์กรที่ตอบแบบสำรวจจะนำมาใช้มากที่สุด

  • มากกว่า 75% ของบริษัท กำลังมองหาการนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ในอีก 5 ปีข้างหน้า
  • 86% ของบริษัทคาดว่าจะนำมาใช้ในการดำเนินงานในอีก 5 ปีข้างหน้า
  • 75% ของบริษัทจะปรับไปสู่อีคอมเมิร์ซและการค้าดิจิทัล
  • 81% ของบริษัทต้องการนำเทคโนโลยีด้านการศึกษาและแรงงาน มาใช้ภายในปี 2570

 

เช็กสายงานรุ่ง-งานร่วงในปี 2023

ส่วนการนำหุ่นยนต์มาใช้ เทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงาน และเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (distributed ledger technologies) มีความสำคัญรองลงไป

ขณะที่อาชีพ งานที่จะมีการเติบโตเร็วที่สุด ต้องเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี มีดังนี้ 

  • ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และแมชชีนเลิร์นนิงอยู่ในอันดับต้นๆ ของงานที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน
  • นักวิเคราะห์ข้อมูลให้เป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อธุรกิจ(Business Intelligence Analysts)
  • นักวิเคราะห์ความปลอดภัยของข้อมูล(Information Security Analysts)
  • วิศวกรฟินเทค พลังงานทดแทน วิศวกรการติดตั้งและวางระบบพลังงานแสงอาทิตย์

นอกจากนั้น งานในอุตสาหกรรมการศึกษาคาดว่าจะเติบโตประมาณ 10% ซึ่งนำไปสู่ตำแหน่งงานเพิ่มเติม 3 ล้านตำแหน่งสำหรับครูอาชีวศึกษา และอาจารย์มหาวิทยาลัยและอุดมศึกษา

งานสำหรับมืออาชีพด้านการเกษตรโดยเฉพาะผู้ประกอบการอุปกรณ์การเกษตรคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ซึ่งนำไปสู่การจ้างงานเพิ่มอีก 3 ล้านตำแหน่ง

มีการคาดการณ์การเติบโตในงานที่ใช้ดิจิทัลประมาณ 4 ล้านตำแหน่ง เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านอีคอมเมิร์ซ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลและกลยุทธ์

งานที่ลดลงเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับขนาดในปัจจุบันเป็นผลจากเทคโนโลยีและการก้าวสู่ดิจิทัล

  • งานด้านธุรการหรือเลขานุการ ทั้งพนักงานธนาคาร
  • พนักงานธุรการบริการไปรษณีย์
  • แคชเชียร์และพนักงานขายตั๋ว
  • พนักงานป้อนข้อมูล
  • เลขาทั่วไปและเลขาผู้บริหาร 

อีกทั้ง งานด้านการบริหารและงานความปลอดภัยโรงงานและการพาณิชย์แบบดั้งเดิม องค์กรที่ตอบแบบสำรวจคาดการณ์ว่าจะมีตำแหน่งงานน้อยลง 26 ล้านตำแหน่งภายในปี 2570 ในงานด้านการเก็บบันทึกและการจัดการ ซึ่งรวมถึงบัญชี และธุรการเงินเดือน ซึ่งเป็นผลจากการด้าวสู่ดิจิทัลและระบบอัตโนมัติเป็นหลัก

ทักษะที่นายจ้างต้องการในยุคดิจิทัล

  • นายจ้างคาดการณ์ว่า 44% ของทักษะของแรงงานจะเปลี่ยนไปในอีก 5 ปีข้างหน้า มีดังนี้
  • ทักษะทางปัญญา(Cognitive skills)
  • ทักษะความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าการคิดเชิงวิเคราะห์เล็กน้อย
  • ความรู้ด้านเทคโนโลยีเป็นทักษะหลักที่เติบโตเร็วเป็นอันดับสาม
  • ทักษะการรับรู้ความสามารถของตนเองอยู่ในอันดับสูงกว่าทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • ความใคร่รู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • ความสามารถในการปรับตัว
  • ความยืดหยุ่นและความคล่องตัว และแรงจูงใจและความตระหนักรู้ในตนเอง การคิดเชิงระบบ
  • AI และข้อมูลขนาดใหญ่
  • การจัดการกับคนเก่ง
  • การวางแนวการบริการและการบริการลูกค้า 

 

ทักษะที่บริษัทต่างๆ รายงานว่ามีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นไม่ได้สะท้อนให้เห็นในกลยุทธ์การยกระดับทักษะขององค์กรเสมอไป นอกเหนือจากทักษะทางปัญญาที่ติดอันดับสูงสุดแล้ว ยังมีสองทักษะที่บริษัทต่างๆ ให้ความสำคัญมากกว่าที่จะเห็นในความสำคัญปัจจุบันที่มีต่อพนักงานคือ AI และ big data ตลอดจนความเป็นผู้นำและอิทธิพลทางสังคม บริษัทต่างๆ จัดอันดับให้ AI และ big data อยู่ในอันดับที่ 12 ในกลยุทธ์ด้านทักษะที่สูงกว่าการประเมินทักษะหลัก

รายงานว่าพวกเขาจะลงทุนประมาณ 9% ในการปรับทักษะใหม่ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่าความคิดสร้างสรรค์ที่ดิดอันดับสูง บ่งชี้ว่าแม้ว่า AI และbig data จะเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ส่วนน้อย แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากขึ้นเมื่อรวมเข้าด้วยกัน ความเป็นผู้นำและอิทธิพลทางสังคมอยู่ในอันดับที่สูงกว่าความสำคัญในปัจจุบันถึง 5 อันดับ และเป็นทัศนคติที่มีอันดับสูงสุด

ทักษะอื่น ๆ ที่ธุรกิจเน้นในเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ การออกแบบและประสบการณ์ผู้ใช้(user experience ) (สูงขึ้น 9 อันดับ) การดูแลสิ่งแวดล้อม (สูงขึ้น 10 อันดับ) การตลาดและสื่อ (สูงขึ้น 6 อันดับ) และเครือข่ายและความปลอดภัยทางไซเบอร์ (สูงขึ้น 5 อันดับ)

นอกจากนั้น ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์โฆษณาตำแหน่งงาน 228 ล้านรายการเปิดเผยว่า ชุดทักษะเกิดใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดและเป็นที่ต้องการสูงสุด เน้น 4 ทักษะยอดนิยมและเป็นที่ต้องการ โดยนักวิจัยพบว่า 1 ใน 8 ของประกาศรับสมัครงานทั้งหมดระบุว่า 4 ทักษะเบื้องต้นเหล่านี้เป็นข้อกำหนดที่เป็นที่ต้องการในหมู่แรงงาน

1. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) และการเรียนรู้ของโปรแกรมด้วยตัวเอง (Machine learning: ML)
2. บริการที่ครอบคลุมถึงการให้ใช้กำลังประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่าง ๆ จากผู้ให้บริการ ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing)
3. การจัดการผลิตภัณฑ์ (Product management)
4. ทักษะทางด้านโซเชียลมีเดีย

โดยจากการสำรวจพบว่า ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นสิ่งที่บริษัทคาดหวังจากพนักงานมากที่สุดในขณะนี้ รองลงมาคือความสามารถในการล้มแล้วลุก, ความยืดหยุ่น, Agile, การมีแรงบันดาลใจ, การรู้จักตัวเอง, ความอยากรู้อยากเห็น และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

อ้างอิง: thaipublica ,World Economic Forum ‘Future of Jobs Report2023’