5 เมกะเทรนด์ สุขภาพไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

5 เมกะเทรนด์ สุขภาพไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ส่อง 5 "เมกะเทรนด์" แนวโน้มบริการสุขภาพไทย เตรียมความพร้อมและตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต มุ่งให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี สู่เป้าหมาย "การพัฒนาที่ยั่งยืน" (SDGs)

ภายใต้สภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในหน่วยงานด้านสุขภาพระดับประเทศและระดับ โลก สะท้อนถึงความจำเป็นในการนำเครื่องมือและกระบวนการด้านอนาคตศึกษามาเป็นส่วนหนึ่งของการ เตรียมความพร้อมเชิงนโยบายกับการทำงานหน่วยงานภาครัฐ  

 

การคาดการณ์อนาคตเป็นกระบวนการศึกษาอย่างเป็นระบบที่ช่วยขยายขอบเขตแนวทาง สำรวจและเตรียมการณ์เพื่อตอบโจทย์อนาคต มากกว่าการตั้งรับเพียงอย่างเดียว เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับใหญ่ขึ้น เป็นหนึ่งแนวทางในการช่วยให้ ผู้มีอำนาจตัดสินใจและเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนานโยบายยุทธศาสตร์ภายใต้สภาวการณ์ การเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจคาดเดาได้

 

"รายงานการคาดการณ์เชิงกลยุทธ์ด้านอนาคตหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย" จัดทำโดย มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา (Thailand Future Foundation) ร่วมกับ ห้องปฏิบัติการเชิงนโยบายประเทศไทย (Thailand Policy Lab) โครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำกระบวนการคาดการณ์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Foresight) ด้านสาธารณสุขให้กับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2565 เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย โดยข้อมูลที่ได้จะถูกนำไปเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระยะที่ 5 พ.ศ.2566-2570

 

5 เมกะเทรนด์สุขภาพ

 

ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นทิศทางการพัฒนาของระบบบริการสุขภาพรวมทั้งผลที่จะกระทบต่ออนาคตของ ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยในห้วงเวลาอนาคตระยะสั้นถึงระยะกลาง สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 เมกะเทรนด์ ประกอบไปด้วย

 

1) Internet of Health ระบบบริการสุขภาพเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีและระบบออนไลน์ส่งผลต่อแนวทางและกรอบระเบียบการเงินเพื่อสุขภาพ ทั้งระบบสุขภาพแบบเชื่อมต่อออนไลน์ การนำ AR/VR เทคโนโลยีข้อมูล และระบบการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์มาใช้ เพื่อคัดกรองโรค ลดความแออัดในสถานพยาบาล

พร้อมกับเสริมศักยภาพด้านแพลตฟอร์มการดูแลรักษาและป้องกันด้านสุขภาพ ทั้งการคัดกรอง ให้คำปรึกษา และแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อดูแลสุขภาพ รวมถึงการตอบโจทย์การจ่ายเงินผ่านสังคมไร้เงินสด เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใหม่ๆ เข้ามาในระบบนิเวศน์สุขภาพ

 

2) Human Dynamic for Well-being การตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรผ่านนโยบายสุขภาพของประเทศ ครอบคลุม ทั้งสุขภาพกายและใจ ทั้งบริการสุขภาพแบบรายบุคคล คือ การบริหารจัดการด้านสุขภาพเพื่อตอบโจทย์การรักษาแบบรายบุคคลที่มีปัจจัยพื้นหลังด้านสถานะทางเศรษฐกิจสังคมที่หลากหลาย ทั้งช่วงกลุ่มวัย อัตลักษณ์ทางเพศและความเท่าเทียม เชื้อชาติ ลักษณะการทำงาน เพื่อตอบโจทย์การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งสุขภากายและสุขภาพจิต เพื่อไปสู่สุขภาวะที่ดี

ขณะเดียวกัน ความหลากหลายของประชาชนในอนาคต มีบทบาทจากเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากสภาวะสังคมสูงอายุ แนวทางการขับเคลื่อนที่เน้นการดุงดูดแรงงานมีทักษะฝีมือ เพื่อช่วยเป็นเกณฑ์การตัดสินใจ ย้ายมาเพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศ อาจนำไปสู่การพัฒนารูปแบบประกันสุขภาพเป็นแพคเกจที่เข้าถึงและตอบโจทย์ความหลากหลาย

 

 

3) An Era of New Risk Frontiers ทิศทางของความเสี่ยงรูปแบบใหม่ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นและส่งผลต่อแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณสุขภาพ ทั้งความเสี่ยงสุขภาพโรคภัยที่เกิดขึ้นจากโรคอุบัติใหม่ ภัยธรรมชาติ และผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากภาวะสงครามและวิกฤติโลก , พฤติกรรมและวิถีชีวิตแบบใหม่ สะท้อนปัญหาสุขภาพ ที่ต้องใช้แนวทางและเวลาในการดูแลรักษาแตกต่างไป และ การลงทุนด้านทรัพยากรบุคคลและงบประมาณ วิจัยความเสี่ยงใหม่ๆ ต่อสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การเปิดช่องกลไกด้านการจัดการงบประมาณด้านสุขภาพ

 

4) People Centric Prosumer การดูแลสุขภาพที่ให้ความสำคัญกับประชาชน ผ่านการส่งเสริมป้องกัน มีส่วนร่วมและเสริมพลังของประชาชน / ชุมชนในพื้นที่ ทิศทางรูปแบบใหม่ Prosumer ของผู้รับบริการสุขภาพในฐานะผู้รับบริการ (บริโภค) และ ดูแล (ผลิต) สุขภาพของตนเองและสมาชิกในชุมชน

การสร้างความตระหนักรู้เรื่องการดูแลป้องกันสุขภาพ รู้เท่าทันและเข้าถึงสิทธิประโยชน์ผ่านช่องทางการส่งสารในฐานะผู้สื่อสารในช่องทางทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานสุขภาพ การตื่นรู้ของปราชนในการตรวจสอบบริการภาครัฐ ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ทางโซเชียลมีเดีย

ขณะเดียวกัน บทบาทอนาคตของชุมชนในฐานะผู้ให้บริการ มีส่วนร่วมในการดูแลโรคภัยและสุขภาพ อาทิ กลุ่มการดูแลแบบประคับประคอง หรือกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายสุงและสามารถพักรักษาตัวที่บ้าน ตอบโจทย์การรักษาที่ใช้เวลาพักรักษาในตัวสถานพยาบาลน้อยลง

 

5) Decentralized financing model ทิศทางการบริหารจัดสรรการเงินเพื่อสุขภาพรูปแบบใหม่สะท้อนการกระจายอำนาจและเสริมแรงจูงใจ โดยแนวทางการบริหารจัดการด้านการเงินแบบกระจายอำนาจและเสริมความคิดรูปแบบดูแลรักษาสุขภาพ และเสริมแรงจูงใจ นำไปสู่การดูแลสุขภาพดยเน้นคุณค่า

อีกทั้ง ประเด็นทิศทางค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น เนื่องด้วยสภาวะสังคมสูงวัย และภาระจากลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง การสำรวแนวทางแหล่งที่มาใหม่ๆ ของงบประมาณผ่านรูปแบบการเงินในอนาคต อาทิ ภาษีจากการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพในชุมชน การระดมทุนรูปแบบใหม่ เช่น พันธบัตรระดับองค์กรหรือเมือง หรือร่วมพันธมิตรในการพัฒนาสนับสนุนสุขภาพและสุขภาวะประชาชนในพื้นที่

 

5 เมกะเทรนด์ สุขภาพไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

 

ทิศทางแนวโน้มเมกะเทรนด์ดังกล่าว เป็นหนึ่งในแนวทางการพัฒนาเพื่อช่วยในการเตรียมความพร้อมและตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่อาจส่งผลทั้งโอกาสและข้อท้าทายต่อการบริหารจัดการด้านสุขภาพและสาธารณสุขของไทย โดยเฉพาะมุมมองเชิงนโยบายการเตรียมความพร้อมของระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย

 

ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนากรอบและสนับสนุนความก้าวหน้าของระดับนานาชาติของการทำให้บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามเป้าประสงค์เพื่อมุ่งให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีที่เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs)