สธ.เตือน ปลายปี65 กลุ่มเสี่ยง ฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ลดป่วยหนัก คนติดแล้วทำยังไง

สธ.เตือน ปลายปี65 กลุ่มเสี่ยง ฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ลดป่วยหนัก คนติดแล้วทำยังไง

'โควิด'ในไทย เริ่มกลับมาระบาดอีกครั้ง หลังลดหย่อนมาตรการป้องกัน มีการจัดกิจกรรมรวมคนหมู่มากหลากหลาย 'กลุ่มเสี่ยง' และเด็กเล็ก ต้องรีบไปฉีด 'วัคซีนโควิด' แต่มีที่ไหนให้ไปฉีดได้บ้าง

การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มกลับมาอีกครั้ง กลุ่ม 608 และเด็กเล็ก คือ 'กลุ่มเสี่ยง' ควรรีบไปฉีด 'วัคซีนโควิด' เพื่อป้องกันการป่วยหนักรุนแรงและลดการเสียชีวิต

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ประเทศไทยในหลายพื้นที่เริ่มมีอากาศหนาว ส่งผลต่อการแพร่เชื้อโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ

โดยเฉพาะโรคโควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.75 ที่มีแนวโน้มพบผู้ป่วยสูงขึ้น ขอความร่วมมือให้กลุ่มเสี่ยง 608 ผู้สูงอายุ ผู้เป็นโรคเรื้อรัง ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน มีการป่วยตายจากโควิดมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่รายงานในแต่ละวัน

หากได้รับวัคซีนเข็มล่าสุดนานเกิน 4 เดือนขึ้นไป ให้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันป้องกัน การป่วยหนัก ลดการเสียชีวิต โดยเข้ารับวัคซีนได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน ไม่มีค่าใช้จ่าย

สธ.เตือน ปลายปี65 กลุ่มเสี่ยง ฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ลดป่วยหนัก คนติดแล้วทำยังไง Cr. กระทรวงสาธารณสุข

  • รณรงค์ฉีดเข็มกระตุ้น

กระทรวงสาธารณสุข มีเป้าหมายไม่น้อยกว่า 2 ล้านโดส ภายในเดือนธันวาคม 2565 เพื่อเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนทุกกลุ่ม

โดยเฉพาะเด็กเล็ก และเข็มกระตุ้นในกลุ่ม 608 เพื่อลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนักและเสียชีวิต

นายแพทย์ธเรศกล่าวต่อว่า สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย สัปดาห์ที่ 45 พบผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.8

เปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า มีผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนผู้ป่วยเสียชีวิตมีแนวโน้มคงตัว

ในช่วงเริ่มต้นการระบาดครั้งใหม่ หลังปรับให้โควิด19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565

สธ.เตือน ปลายปี65 กลุ่มเสี่ยง ฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ลดป่วยหนัก คนติดแล้วทำยังไง

กรมควบคุมโรค ได้ติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลและผู้ป่วยผู้ติดเชื้อที่ดูแลตนเองที่บ้าน เฝ้าระวังสถานที่เสี่ยง 8 จังหวัด

พบผู้ป่วยมารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ทั้งในกรุงเทพและปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคใต้

มีผู้ป่วยอาการหนักใส่ท่อช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิตในสัปดาห์ที่ 45 (วันที่ 6 - 12 พฤศจิกายน 2565) มากกว่าครึ่งหนึ่ง เป็นผู้ที่ไม่รับวัคซีนโควิด และไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น

ทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค หากติดเชื้อโควิด19 มีโอกาสป่วยหนักได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัยและผู้ที่มีโรคประจำตัว"

สธ.เตือน ปลายปี65 กลุ่มเสี่ยง ฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ลดป่วยหนัก คนติดแล้วทำยังไง นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า

"กลุ่ม 608 ที่เริ่มมีอาการป่วย มีไข้ ไอ ที่ตรวจ ATK พบเชื้อ ให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว แพทย์อาจให้ LAAB (ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป) ในผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ที่สร้างภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้น้อย

คำแนะนำ ในช่วงนี้ ผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับวัคซีน งดออกจากบ้าน ส่วนสมาชิกในครอบครัววัยทำงาน มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสผู้ติดเชื้อนอกบ้าน

ให้งดใกล้ชิดผู้สูงอายุ พาผู้สูงอายุและเด็กเล็ก ไปฉีดวัคซีนโควิดเข็มแรกหรือ เข็มกระตุ้น หากได้รับเข็มสุดท้ายมานานเกิน 4 เดือน

กระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียม ยา เวชภัณฑ์ วัคซีน รวมทั้ง LAAB ไว้เพียงพอ รองรับการระบาดของโรคที่กำลังเพิ่มขึ้น

รวมทั้งสถานพยาบาลทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั่วประเทศ มีความพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนโควิด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย"

สธ.เตือน ปลายปี65 กลุ่มเสี่ยง ฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ลดป่วยหนัก คนติดแล้วทำยังไง

  • ข้อมูล สัปดาห์ที่ 45 วันที่ 13-19 พฤศจิกายน 2565

ผู้ติดเชื้อรายใหม่รักษาตัวในโรงพยาบาล 3,957 ราย เฉลี่ย 565 ราย/วัน

หายป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) จำนวน 2,478,895 ราย

มีผู้เสียชีวิต 69 ราย เฉลี่ย 9 ราย/วัน

เสียชีวิตสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) จำนวน  11,408 ราย

  • วันที่ 12 พฤศจิกายน 2565

พบผู้ป่วยปอดอักเสบ 329 คน ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 178 คน

จำนวนผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ยอดฉีดทั่วประเทศ 143,004,306 โดส

สธ.เตือน ปลายปี65 กลุ่มเสี่ยง ฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ลดป่วยหนัก คนติดแล้วทำยังไง

  • จัดจุดบริการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง สถานการณ์โควิด 19 ว่า

"ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง แพทย์จ่ายยาและรักษาแบบผู้ป่วยนอก

ส่วนการใช้เตียงในโรงพยาบาลยังไม่เพิ่มขึ้นมากจนต้องมีมาตรการเพิ่มเติม มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยไม่เกิน 10 รายต่อวัน เป็นการระบาดลักษณะ Small Wave และจะค่อย ๆ ลดลงช่วงหลังปีใหม่

การพบผู้ติดเชื้อมากขึ้น ได้สั่งการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ

สธ.เตือน ปลายปี65 กลุ่มเสี่ยง ฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ลดป่วยหนัก คนติดแล้วทำยังไง

จัดจุดบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้ประชาชน แม้มีการกำหนดวันเวลาให้บริการ แต่หากประชาชนวอล์กอินมาไม่ตรงวันก็ขอให้ฉีดวัคซีนให้

ไม่ต้องกังวลเรื่องเปิดขวดวัคซีนฉีดไม่หมดแล้วต้องทิ้ง เพราะขวดหนึ่งแม้ฉีดเพียงคนเดียวก็ถือว่ามีประโยชน์กว่ารอหลายคนแล้วไม่ได้ฉีด เพราะคนเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น

มีการกระจายวัคซีนโควิด-19 ถึงระดับ รพ.สต. ให้ประชาชนได้รับบริการใกล้บ้าน ลดภาระค่าใช้จ่ายการเดินทางมาที่โรงพยาบาลชุมชน

เพิ่มการเข้าถึงวัคซีน จัดรถโมบายยูนิตนัดหมายให้มารับบริการในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์

สธ.เตือน ปลายปี65 กลุ่มเสี่ยง ฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ลดป่วยหนัก คนติดแล้วทำยังไง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กว่า

"เข้าสู่ฤดูหนาว โรค covid-19 จะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ในพีคที่ 2 แต่ไม่มากเท่าในฤดูฝนหรือพีคแรก และจะลดลงหลังเดือนกุมภาพันธ์

สถานการณ์โดยทั่วไปไม่รุนแรง เพราะมีภูมิต้านทาน ยกเว้นกลุ่มเปราะบางมีโรคประจำตัว แม้มีรายงานการกลายพันธุ์ของไวรัสในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก

ยังไม่มีหลักฐานใดพบว่าไวรัสกลายพันธุ์ เพิ่มความรุนแรงของโรค การกลายพันธุ์ส่วนใหญ่ทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้"

สธ.เตือน ปลายปี65 กลุ่มเสี่ยง ฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ลดป่วยหนัก คนติดแล้วทำยังไง

  • สายพันธุ์โอมิครอน BA.2.75 พบรายแรกในไทยที่ จ.ตรัง

วันที่ 19 กรกฎาคม 2565 เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics เผยว่า พบโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 แล้ว 1 รายในประเทศไทย ที่จังหวัดตรัง

เก็บตัวอย่างโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมและอัปโหลดขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก GISAID เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่ผ่านมา

BA.2.75 กลายพันธุ์ต่างจากไวรัสอู่ฮั่น ข้อมูลจาก GISAID, Nextstrain, covSPECTRUM แพลตฟอร์มเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก กว่า 12 ล้านตัวอย่าง พบว่า

BA.2.75 มีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัสอู่ฮั่น ประมาณ 90 ตำแหน่ง อุบัติขึ้นครั้งแรกในอินเดีย ต้นเดือนมิถุนายน 2565 ขณะนี้แพร่ระบาดไปทั่วโลก

นักวิทยาศาสตร์เก็บตัวอย่างนำมาถอดรหัสพันธุกรรมได้จำนวน 338 ราย จาก 10 รัฐในอินเดีย และอีก 14 ประเทศ

BA.2.75 หลบภูมิคุ้มกันได้ดี ดื้อต่อวัคซีนเ คาดว่าระยะเวลาระบาดไม่ยาวนาน อาการไม่รุนแรงเท่า โอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม

สธ.เตือน ปลายปี65 กลุ่มเสี่ยง ฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ลดป่วยหนัก คนติดแล้วทำยังไง

  • ฉีดวัคซีนโควิดได้ที่ไหน

ศูนย์ฉีดวัคซีนกระทรวงสาธารณสุข เปิด Walk In ฉีดวัคซีนโควิด 19 ทุกเข็ม

เป็น ‘วัคซีนไฟเซอร์’ สำหรับประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไป

ส่วนวัคซีนเด็กเล็ก ให้สอบถาม รพ.ใกล้บ้าน

ทุกวันอังคารสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน เวลา 09:00-14:00 น.

ล่าสุด ขยายวันให้บริการเพิ่มเป็นวันที่ 6,13, 20,27 ธันวาคม 2565

ณ โถงชั้น 1 อาคาร 3 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี โทร. 083- 078- 2788

สธ.เตือน ปลายปี65 กลุ่มเสี่ยง ฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ลดป่วยหนัก คนติดแล้วทำยังไง

ตรวจแล้ว 2 ขีด ติดเชื้อโควิด ต้องทำอย่างไร

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ระบบการรักษาพยาบาลของประชาชนจะกลับสู่ภาวะปกติ เมื่อมีการเจ็บป่วยก็ให้รักษาตามสิทธิรักษาเดิมที่มีอยู่โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

  • สิทธิบัตรทอง

รักษาโควิดได้ที่ : ศูนย์บริการสาธารณสุข, คลินิกชุมชนอบอุ่น, หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่, สถานพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้, ร้านยาในโครงการ เจอ-แจก-จบ /

หากอาการไม่รุนแรง (สีเขียว) ให้รับยาได้ที่ร้านยาในโครงการ เจอ-แจก-จบ ใกล้บ้าน / ผู้ป่วยไม่ควรมารับยาเอง ควรให้ผู้อื่นมารับยาแทน/ กักตัว 10 วัน /

หากอาการรุนแรง (สีเหลือง/แดง) ไปที่ รพ. ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ / กรณีเป็นกลุ่มเสี่ยง 608 รับการรักษาตามดุลพินิจแพทย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย /

หากเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิรักษาในโรงพยาบาลได้ทุกที่ที่ใกล้ที่สุด / ติดต่อสายด่วน โทร. 1669 กด 2 หรือ สายด่วน สปสช. โทร. 1330 กด 14 ส่วนกลุ่ม 608, ผู้ป่วยติดเตียง, คนพิการ กด 18

สธ.เตือน ปลายปี65 กลุ่มเสี่ยง ฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ลดป่วยหนัก คนติดแล้วทำยังไง

  • สิทธิประกันสังคม

รักษาโควิดได้ที่ : สถานพยาบาลคู่สัญญาตามสิทธิในระบบประกันสังคม, สถานพยาบาลที่ร่วมให้บริการทุกแห่ง, คลินิก/ร้านยา ที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. /

หากมีอาการไม่รุนแรง รักษาตามแนวทาง เจอ-แจก-จบ โรงพยาบาลในสิทธิประกันสังคม และสถานพยาบาลรัฐ/เอกชนที่ร่วมให้บริการทุกแห่ง และคลินิก/ร้านยา ที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. ทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย /

กักตัว 10 วัน / หากมีอาการรุนแรง (สีเหลือง/แดง) หรือแย่ลง ต้องนอนโรงพยาบาล ให้เข้ารับรักษาตามดุลพินิจของแพทย์ ณ โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม และสถานพยาบาลรัฐ/เอกชนที่ร่วมให้บริการทุกแห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย /

ถ้าเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ สามารถใช้สิทธิ UCEP Plus ณ สถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด ได้ทุกแห่งทั้งสังกัดรัฐและเอกชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย/ ติดต่อสายด่วนประกันสังคม โทร. 1506 กด 6 และ กด 7

สธ.เตือน ปลายปี65 กลุ่มเสี่ยง ฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ลดป่วยหนัก คนติดแล้วทำยังไง

  • สิทธิ​ข้าราชการ

รักษาโควิดได้ที่ : สถานพยาบาล​ของรัฐทุกแห่ง /กรณีเป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่ม 608 หรือมีอาการรุนแรง รักษาตามดุลพินิจแพทย์ ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ไม่ว่าแบบผู้ป่วยใน หรือแพทย์สั่งให้รักษาที่บ้าน Home Isolation) /

หากเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (สีแดง) มีอาการ หอบเหนื่อยหนักมาก พูดไม่เป็นประโยค แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก ปอดอักเสบรุนแรง อ่อนเพลีย ตอบสนองช้า ไม่รู้สึกตัว มีภาวะช็อก/โคม่า ซึมลง ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94 /

ใช้สิทธิ UCEP เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ เข้ารักษาโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย/

ประสานหาเตียงเข้ารักษาในโรงพยาบาล โทร. 1330 / มีข้อสงสัยโทร. สายด่วน 1669 กด 2 หรือ สายด่วน สปสช. 1330 กด 14 และกด 18 สำหรับกลุ่ม 608, ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการ

......................

กลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์

อ้างอิง : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics