จับตาโควิด “เดลทาครอน XBC” ลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ เดลตา - โอมิครอน BA.2

จับตาโควิด “เดลทาครอน XBC” ลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ เดลตา - โอมิครอน BA.2

ศูนย์จีโนมฯ เผยทั่วโลกจับตาโควิด “เดลทาครอน XBC” ลูกผสมระหว่าง “เดลตา” และ “โอมิครอน BA.2” ระบาดในฟิลิปปินส์มากกว่า 193 ราย กลายพันธุ์ไปมากกว่า XBB และ BQ.1 แพร่เร็วเหมือนโอมิครอน

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊กเพจ Center for Medical Genomics ข้อความระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจับตามอง "โควิด-19" สายพันธุ์ “เดลทาครอน XBC” ปลายปีที่ 3 ซึ่งโอมิครอนกำลังอ่อนกำลังลง และดูเหมือน 'เดลทาครอน' หลายสายพันธุ์กำลังระบาดขึ้นมาแทนที่ เช่น XBC, XAY, XBA และ XAW  โดยเฉพาะเดลทาครอน “XBC” มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากโควิด-19 สายพันธ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” มากที่สุดถึงกว่า “130” ตำแหน่ง 

จับตาโควิด “เดลทาครอน XBC” ลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ เดลตา - โอมิครอน BA.2

จากการถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนมของ "เดลทาครอน" พอจะประเมินได้ว่าเป็นไวรัสโควิดที่มีศักยภาพในการโจมตีปอดอย่าง “เดลตา” และอาจแพร่ระบาดได้รวดเร็วเหมือน “โอไมครอน”

จับตาโควิด “เดลทาครอน XBC” ลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ เดลตา - โอมิครอน BA.2

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

เมื่อต้นปี 2565 ที่ผ่านมา มีรายงานการตรวจพบ "เดลทาครอน" ในประเทศฟิลิปปินส์ระยะหนึ่งจากนั้นได้สูญหายไป ไม่เกิดการระบาดรุนแรงขยายวงกว้าง แต่มาในช่วงปลายปี 2565 กลับพบ "เดลตาครอน" ในประเทศฟิลิปปินส์อีกครั้งในรูปแบบของโควิดสายพันธุ์ XBC, XBA, XAY และ XAW ระบาดขึ้นมาใหม่

ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด(worst-case scenario) ลูกผสมเดลต้า-โอไมครอนอาจมีอันตรายพอๆ กับสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งคร่าชีวิตผู้ที่ติดเชื้อไปประมาณ 3.4% ซึ่งสูงกว่าอัตราการเสียชีวิตของโอไมครอนเกือบสองเท่า ตามผลการศึกษาในปี 2565 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Reviews Immunology นอกจากนี้ “เดลตาครอน” อาจมีความสามารถในการแพร่ติดต่อได้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับโอมิครอน

แต่การทำนายความรุนแรงของสายพันธุ์ลูกผสมหรือสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่เป็นเรื่องยาก เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่าเหตุใดโอมิครอนจึงดูเหมือนจะก่อโรคโควิด-19 ที่รุนแรงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเดลตา

ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าทำไมโควิด-19 จึงเปลี่ยนจาก “โรคทางเดินหายใจส่วนล่าง” ในช่วง 2 ปีแรกที่เดลตาและสายพันธุ์ก่อนหน้าระบาด มาเป็น “โรคทางเดินหายใจส่วนบน” ที่มีความรุนแรงลดลงในปีที่ 3 การเปลี่ยนแปลงอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนอกเหนือไปจากโปรตีนหนามซึ่งไวรัสใช้ในการเกาะติดเซลล์ของมนุษย์และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน

ทำไมประเทศไทยควรกังวล

เพราะประเทศฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในอาเซียนที่อยู่ใกล้ประเทศไทยขณะนี้ตรวจพบผู้ติดเชื้อโอมิครอน XBB จำนวนถึง 81 รายพร้อมไปกับพบลูกผสม XBC ใน 11 จังหวัด ถึง 193 ราย ในขณะที่สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนิเชีย บรูไน กัมพูชา ก็พบ XBB และ XBC ด้วยเช่นกัน

บรรดานักวิทยาศาสตร์อาเซียนได้ช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 และแชร์ไว้บนฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “กิสเสด (GISAID)”

พบลูกผสม XBB ใน

  • สิงคโปร์ 1137 ราย 12.154%
  • อินโดนีเซีย 90 ราย 0.623%
  • บรูไน 77 ราย 4.254%
  • มาเลเซีย 32 ราย 0.358%
  • ฟิลิปปินส์ 20 ราย 0.490%
  • กัมพูชา 1 ราย 0.197%

พบลูกผสม XBC ใน

  • ฟิลิปปินส์ 35 ราย 0.857%
  • บรูไน 15 ราย 0.829%
  • สิงคโปร์ 1 ราย 0.011%
  • มาเลเซีย 1 ราย 0.011%

จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “กิสเสด (GISAID)” ยังไม่พบสายพันธุ์ลูกผสม “XBB” และ “XBC” ในประเทศไทย

 

อ้างอิง : Center for Medical Genomics