ไขความลับ "พรีไบโอติกส์ - โพรไบโอติกส์" ดีต่อร่างกายอย่างไร

ไขความลับ "พรีไบโอติกส์ - โพรไบโอติกส์" ดีต่อร่างกายอย่างไร

งานวิจัยยุคใหม่ ระบุว่า "โพรไบโอติกส์" และ "พรีไบโอติกส์" ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ยังเชื่อว่าช่วยลดอัตราเสี่ยงโรคเกี่ยวกับสมอง โรคภูมิแพ้เกี่ยวกับผิวหนัง โรคซึมเศร้า ฯลฯ จากความเชื่อว่าเมื่อลำไส้ดี ระบบการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายจะดีไปด้วย

ในลำไส้ มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ ทั้งชนิดที่มีประโยชน์และให้โทษ จุลินทรีย์ที่มีชีวิตเรียกว่า โพรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ชนิดดีเมื่ออยู่ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหารและทำให้เกิดความสมดุลทั้งระบบของร่างกาย จุลินทรีย์ชนิดดี ได้แก่ แบคทีเรียและยีสต์บางชนิด มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับผิวของเยื่อบุลำไส้เพื่อผลิตสารต่อต้าน และกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคได้

 

อาหารที่มี โพรไบโอติกส์ หรือจุลินทรีย์ชนิดดี ที่มีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติ เช่น ชีส นมเปรี้ยว โยเกิร์ต ผักดอง กิมจิ ปลาร้า มิโซะ นัตโตะ คอมบูชา น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล ไวน์ เบียร์ ฯลฯ การมีโพรไบโอติกส์ที่เพียงพอในลำไส้ช่วยให้เกิดความสมดุล และลดโอกาสการเกิดโรคได้ เช่น ลดการอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและช่องคลอด ดูแลระบบย่อยอาหาร รักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย แก้อาการลำไส้แปรปรวน ท้องร่วง ท้องผูก หากลำไส้อ่อนแอ ระบบน้ำเหลืองที่เชื่อมโยงกันก็จะอ่อนแอ ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลง

 

ไขความลับ \"พรีไบโอติกส์ - โพรไบโอติกส์\" ดีต่อร่างกายอย่างไร

 

ส่วน พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยการเผาผลาญ และต้านโรคบางอย่างได้ เช่น โรคสมองจากโรคตับ, โรคอ้วนภาวะเบตาบอลิกซินโดรม, ลดอัตราเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคมะเร็งลำไส้ , เบาหวานชนิดที่ 2, โรคภาวะผื่นผิวหนังอักเสบ 

 

อาหารที่มีพรีไบโอติกส์ ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก แต่อาหารเหล่านี้จะถูกย่อยสลายเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์ ช่วยกระตุ้นการทำงานของโพรโอติกส์ให้ดียิ่งขึ้นได้แก่ หัวหอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง อาร์ติโช้ค ถั่วเหลือง ถั่วแดง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ธัญพืชและข้าวไม่ขัดสี กล้วย แอปเปิ้ล และผักผลไม้ที่อุดมไฟเบอร์

 

ไขความลับ \"พรีไบโอติกส์ - โพรไบโอติกส์\" ดีต่อร่างกายอย่างไร

งานวิจัยยุคใหม่ระบุว่า โพรไบโอติกส์ และ พรีไบโอติกส์ มีส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ยังเชื่อว่าช่วยลดอัตราเสี่ยงโรคเกี่ยวกับสมอง โรคภูมิแพ้เกี่ยวกับผิวหนัง โรคซึมเศร้า ฯลฯ จากความเชื่อว่าเมื่อลำไส้ดี ระบบการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายจะดีไปด้วย

 

“ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว” หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ให้ข้อมูลว่า เนื่องจากปัจจุบันคนเจ็บป่วยง่าย อาหารเป็นยา จึงจำเป็นต้องส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง สิ่งที่เป็นประโยชน์คือ พืชผักสมุนไพร ซึ่งหากนำมาทำเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นทางเลือกที่คนเข้าถึงได้ง่าย ซึ่ง “โพรไบโอติกส์” จะเป็นเทรนด์ของโลก เพราะตัวเชื้อในอาหารจะช่วยเรื่องระบบขับถ่าย และยังมีงานวิจัยช่วยเรื่องโรคหลอดเลือดหัวใจ ขณะที่ญี่ปุ่นก็มีการศึกษาวิจัยอาหารเพื่อช่วยโรคซึมเศร้าอยู่ขณะนี้

 

ดังนั้น การกินโพรไบโอติกส์ ควรกินเมื่อมีอาการ ที่มีงานวิจัยรองรับว่าเชื้อตัวดีชนิดนั้นๆ ใช้ได้ผล หรือมีอาการที่แสดงถึงเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ขาดความสมดุล ได้แก่ ท้องอืด ท้องเสีย ท้องผูก ผิวหนังมีผื่นขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุ อ่อนเพลีย ควรทำควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพองค์รวม ได้แก่ การเคลื่อนไหวของลำไส้ ด้วยการออกกำลังกาย การเดิน ทำให้เชื้อดีเติบโตเพิ่มจำนวนได้ง่าย การนอนหลับที่เพียงพอ ไม่เครียด ซึ่งความเครียดทำให้เชื้อดีลดลง การกินอาหารที่เป็นอาหารของเชื้อดี ที่เรียกว่า “พรีไบโอติกส์” นั้นเอง

ที่ผ่านมา รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เคยส่งผักดองให้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษา พบว่า ผักดอง 58 ตัวอย่าง ทุกตัวอย่างมีเชื้อดีอย่างน้อย 2 ชนิด ส่วนผักเสี้ยนดองและหัวหอมดอง พบเชื้อดีถึง 4 ชนิด ซึ่งในผักดองนั้น พบว่า มีทั้งอาหารเชื้อ คือ ผัก และเชื้อดีด้วย ซึ่งสามารถทำได้เอง ในต่างประเทศมีการรวบรวมงานวิจัย พบประโยชน์จากอาหารหมักพื้นบ้าน ได้แก่ ต้านอนุมูลอิสระ ลดความดันโลหิต ช่วยให้เชื้อดี สร้างวิตามิน ย่อยโปรตีน ได้ดีขึ้น

 

9 พืชผักพรีไบโอติกส์สูง

 

พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออาหารของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ แต่สามารถถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ช่วยเสริมการทำงานของโพรไบโอติกส์ และยัง ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยการเผาผลาญ และต้านโรคบางอย่างได้ เช่น โรคสมองจากโรคตับ, โรคอ้วนภาวะเบตาบอลิกซิ นโดรม, ลดอัตราเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคมะเร็งลำไส้ , เบาหวานชนิดที่ 2, โรคภาวะผื่นผิวหนังอักเสบ

 

อาหารที่มีพรีไบโอติกส์ ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก แต่อาหารเหล่านี้จะถูกย่อยสลายเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์ช่วยกระตุ้นการทำงานของโพรโอติกส์ให้ดียิ่งขึ้นได้แก่ หัวหอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง อาร์ติโช้ค ถั่วเหลือง ถั่วแดง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ธัญพืชและข้าวไม่ขัดสี กล้วย แอปเปิ้ล และผักผลไม้ที่อุดมไฟเบอร์

 

ไขความลับ \"พรีไบโอติกส์ - โพรไบโอติกส์\" ดีต่อร่างกายอย่างไร

 

ประโยชน์ของ “พรีไบโอติกส์” ในทางเดินอาหารนั้น ประกอบด้วย

1.ช่วยย่อยอาหาร จุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ช่วยย่อยสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ หรือย่อยได้ไม่หมด

2.ผลิตวิตามิน เช่น วิตามินบี1 บี2 บี 3 วิตามินอี วิตามินเค กรดแพนโทเทนิก และกรดโฟลิก เป็นต้น หากขาดแบคทีเรียเหล่านี้อาจทำให้เราขาดวิตามินได้

3. กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ส่งผลให้การขับถ่ายอุจจาระดีขึ้น ไม่มีอุจจาระตกค้าง ย้อนกลับมาเป็นพิษกับร่างกาย

4.ยับยั้งเชื้อก่อโรค โดยการผลิตกรดแล็กติกเพื่อป้องกันการสัมผัสระหว่างเชื้อก่อโรคกับผนังลำไส้ รวมถึงแบคทีเรียอื่นที่เข้าสู่ร่างกาย ตามช่องทางต่างๆ เช่น มากับอาหาร

5. เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานตรวจจับเชื้อก่อโรคได้ดีขึ้น และหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ลดลง

 

ที่ผ่านมา จึงมีการเก็บตัวอย่างพืชผัก 52 ตัวอย่าง ที่วางขายในตลาดมาสกัดแล้วตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า มี 9 ชนิดที่มีช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ดีมาก ได้แก่ เม็ดบัว กลอย ขมิ้นขาว ขิงแก่และขิงอ่อน หอมแดง ลูกยอ กระเจี๊ยบเขียว ข่า และตะไคร้ รองลงมา คือ มันมือเสือ มันแกว กระจับ ผักปลัง กระเจี๊ยบแดง บวบ หัวปลี มะละกอ ราก/ไหลบัว หัวไชเท้า ฟักทองและหอมหัวใหญ่

 

การศึกษาได้นำมาทดสอบการเจริญเติบโตของเชื้อและนำมาสู่การพัฒนาเป็นเมนูอาหารรวม 100 ตำรับ โดยได้เลือกพืชผักที่มีคุณสมบัติความเป็นพรีไบโอติกส์ที่ดีมากมาปรุงอาหาร จากนั้น นำกลับไปทดสอบอีกครั้ง

 

โดยผลการทดสอบอาหารที่มีคุณสมบัติพรีไบโอติกส์ดีมาก คือ กระจับผัดพริกเผา ข้าวคลุกกะปิ ขนมผักกาด รองลงมา คือ ยำตะไคร้กุ้งสด ไก่หุงฟักทอง ปลาแนม กระเจี๊ยบเขียวชุบแป้งทอด ตะโก้แห้ว ส้มตำไทย รากบัวผัดน้ำปลา ขนมจีนแกงป่า หัวไชเท้าทอด และหลนเต้าเจี้ยว