ถอดบทเรียน "โควิด-19" วิกฤติด้านสุขภาพ ที่ทั่วโลกต้องเผชิญ

ถอดบทเรียน "โควิด-19" วิกฤติด้านสุขภาพ ที่ทั่วโลกต้องเผชิญ

เกือบ 3 ปี ที่ต้องอยู่กับ "การระบาดของโควิด-19" เป็นครั้งแรกที่โลกหันมามองว่า การตัดสินใจด้านสุขภาพมีความสำคัญ เกิดการล็อกดาวน์และนำเทคโนโลยีมาใช้ รวมถึงพัฒนายาและวัคซีนอย่างก้าวกระโดด ขณะเดียวกัน อีกมุมหนึ่งก็ทำให้บริการสุขภาพอื่นๆ ชะงักไปเช่นกัน

จากงานเสวนาออนไลน์ “บทเรียนจากโควิด-19 กับ วิวัฒนาการที่เกิดขึ้นในระบบสาธารณสุขทั้งด้านการรักษาและดูแลสุขภาพ” ” (Evolving Healthcare Priorities in Asia Pacific – Lessons from Covid-19) จัดโดย บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมา ภายใต้โครงการ MSD - Asia Pacific Journalism Program เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขและการดูแลสุขภาพ แนวโน้มด้านโรคต่างๆ แนวทางการรักษาโรค ผลกระทบและบทเรียนที่สำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในภูมิภาคเอเชีย

 

โควิด นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมาตรการ

 

ศ.พญ.แอนนา ลิซา ที อง-ลิม ศาสตราจารย์แพทย์หญิงและหัวหน้าแผนโรคติดต่อและโรคเขตร้อนในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลกลางฟิลิปปินส์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวถึง บทเรียนครั้งสำคัญ และผลกระทบที่เกิดขึ้นในระบบสาธารณสุขทั้งในด้านดูแลและการรักษา ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ว่า โควิด-19 นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมาตรการต่างๆ ตัวมาตรการยับยั้งการเดินทาง การเคลื่อนไหวเพื่อคุมโรค ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมุมการใช้ชีวิต

 

ไม่ใช่แค่เข้าถึงสาธารณสุขของเราเปลี่ยนไปเท่านั้น Oxford Index ประมวลจากปัจจัยหลายอย่าง ดูดัชนีชี้วัดเชิงนโยบายทั้งหมด 13 ตัว โดยคะแนนอยู่ที่ 0-100 คือ เข้มงวดที่สุด ประเทศที่ใช้มาตรการเหล่านี้ในรูปแบบที่เข้มงวดมากที่สุด พบว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะใช้มาตรการเข้มข้นมาก

 

แต่ดัชนีการชี้วัด การควบคุม และดัชนีสาธารณสุขในหลายประเทศ มีความหลากหลาย อย่างไรก็ตาม รายงานจาก WHO ในเรื่องอัตราการเสียชีวิต พบว่า ที่ดีที่สุด คือ ประเทศรายได้สูง

โควิด ส่งผลบริการการแพทย์อื่น ชะงัก

 

ข้อมูลจาก WHO ยังพบว่า ในหลายประเทศมีการชะงักในบริการสาธารณสุขต่างๆ ทั้งการให้วัคซีนอื่นๆ การวางแผนครอบครัว การดูแลแม่และเด็ก ตัวเลขอยู่ที่ 30-70% และหนึ่งบริการที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ บริการวัคซีนตามกำหนด

 

ภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ เอเชียแปซิฟิก แอฟริกา เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก  อย่างไรก็ตาม ยังอยู่ในประเทศที่มีสัดส่วนประชากรเด็กสูง ผลกระทบของโควิดต่อการฉีดวัคซีนพื้นฐาน โดยกระทบเด็กมากที่สุด และปี 2021 อัตราการฉีดวัคซีนยังไม่กลับมาเท่าเดิม

 

โควิด เร่งให้ยอมรับเทคโนโลยี

 

ขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการและผู้ป่วย ต้องตระหนักว่าจะมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่สำคัญในการให้บริการสาธารณสุข จากเดิมที่เข้ารับบริการในสถานบริการ พอมีโรคระบาด เทเลเมดิซีน การแพทย์ทางไกล เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เป็นวิธีใหม่ในการให้บริการ สถานการณ์เร่งให้การยอมรับเทคโนโลยีใหม่ให้เร็วยิ่งขึ้น ต่อให้กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม แพลตฟอมเหล่านี้ก็ยังสามารบูรณาการกับบริการสาธารณสุขแบบเดิม

 

 

โลกหันมามองเรื่องสุขภาพสำคัญ

 

"รศ.นพ.เจเรมี ลิม" รองศาสตราจารย์นายแพทย์และผู้อำนวยการโครงการด้านสุขภาพทั่วโลก (Global Health Programs) คณะสาธารณสุขซอซวีฮก มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อการให้ความสำคัญ ด้านสาธารณสุขและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาและให้บริการด้านสุขภาพ ว่า เราอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทุกอย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน

 

ในฐานะผู้ให้บริการสุขภาพ เป็นครั้งแรกที่โลกหันมามองว่า การตัดสินใจด้านสุขภาพมีความสำคัญ ส่งผลต่อการล็อกดาวน์ ตอนนี้โรคระบาดใหญ่ ทุกองค์กรจำเป็นต้องมีความเข้าใจในระดับหนึ่งว่าระบบสาธารณสุขเป็นอย่างไร

เทเลเมดิซีน มีการยอมรับมากขึ้นทั้งผู้รับบริการและแพทย์ เคยมีการศึกษาออกมาว่า แพทย์ต้องใช้เวลากว่า 17 ปี ในการค้นพบสิ่งใหม่ๆ และนำไปสู่การใช้บริการ กว่าจะเปลี่ยน ดังนั้น หากมองกลับไปจะเห็นว่าการแพทย์ทางไกลทำได้จริง เป็นเครื่องมือในการให้บริการแก่ผู้รับบริการในระยะยาว นวัตกรรมที่ออกมา รวมถึงนโยบายแต่ละประเทศไม่มีเรื่องเทเลเมดิซีน แต่แพทย์ทางไกลต้องทำในทันที ไม่ได้ทำให้ทุกอย่างเพอร์เฟค แต่ดูเรื่องของการป้องกัน หากไม่ทำจะเป็นอย่างไร

 

"ความท้าทาย คือ การให้ความรู้ภาคประชาสังคมมีความสำคัญมาก มีการปฏิรูปการทำงาน ภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม เช่น การสื่อสารด้านความปลอดภัยวัคซีน จะทำอย่างไรให้แพลตฟอร์มเหล่านี้ยังคงอยู่ต่อไป เราอยู่ปลายหางของการระบาดใหญ่ ตอนนี้มีผู้เชี่ยวชาญพอ และผู้สื่อข่าวจะสามารถทำให้การเปลี่ยนแปลงคงอยู่และต่อไปได้"  รศ.นพ.เจเรมี ลิม กล่าว 

 

เกือบ 100% เป็นโอมิครอน 

 

ศ.นพ.ไอวาน ฮัง (Prof. Ivan Hung) ศาสตราจารย์นายแพทย์ทางคลินิกและผู้ช่วยคณบดี(Assistant Dean -Admissions)คณะแพทยศาสตร์ หลี่กาชิง มหาวิทยาลัยฮ่องกง และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ โรงพยาบาลควีน แมรี่ ฮ่องกง กล่าวถึง ข้อสังเกตจากภาวะการแพร่ระบาดโควิด-19 ว่า นับตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยกว่าเคส 1.7 ล้านรายใน เอเชียแปซิฟิก  ตอนนั้นยังไม่มีวัคซีนและยังไม่รู้ว่าเชื้อกลายพันธุ์อย่างไร

 

หนึ่งปีหลังจากนั้น เรามีคนไข้เพิ่มขึ้นมหาศาลและมีวัคซีน ซึ่งในเอเชียแปซิฟิก มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงสุดเป็นอันดับต้นของโลก ทั้งสิงคโปร์ จีน เกาหลีใต้ ถัดมาในปัจจุบัน มีผู้ป่วยสะสมกว่า 164 ล้านราย คนในภูมิภาคได้รับครบ 2 โดส เช่น ฮ่องกง จีน กว่า 90% ได้รับเข็มเข็ม 2 และในปัจจุบัน เป็นโควิดสายพันธุ์ "โอมิครอน" เกือบ 100% โดยขณะนี้มี BA.4 / BA.5 ซึ่งกำลังปรากฏ

 

วัคซีน 2 โดส ภูมิคุ้มกัน BA.4 / BA.5 ค่อนข้างต่ำ

 

ศ.นพ.ไอวาน ฮัง กล่าวต่อไปว่า ประมาณ 30.6% คนไข้ทั่วโลกอยู่ในเอเชียแปซิฟิก จากการศึกษา พบว่า คนที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส เมื่อดูภูมิคุ้มกัน BA.4 / BA.5 ค่อนข้างต่ำ แต่หากได้รับ "วัคซีนเข็มกระตุ้น" ก็ยังมีภูมิคุ้มกันสูง และการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงหลังจากเข็ม 2-3 จะนำไปสู่ภูมิคุ้มกันที่ยิ่งเข้มแข็งกว่าเดิม

 

นอกเหนือจากวัคซีน ยาต้านไวรัสเป็นสิ่งสำคัญ แต่เดิมต้องใช้ยาต้านไวรัสอื่นมาใช้ เช่น เรมเดซิเวียร์ ซึ่งใช้ดีในเบื้องต้น แต่ผลก็ยังไม่ดีเท่ายาต้านไวรัสตัวใหม่ที่ออกแบบเฉพาะโควิด-19 โดยการรักษานั้น  หากให้ยาเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงจะสามารถลดการแตกตัวของไวรัสได้

 

เข้าสู่โรคประจำถิ่น กลับมารักษาโรคอื่นๆ

 

ขณะที่การดูแลคนไข้ทั่วไป ทุกสิ่งถูกเทไปยังการรักษาโควิดไม่ว่าจะคนไข้ในและคนไข้นอก แต่ตอนนี้มีเทคโนโลยีใหม่ ยา และอื่นๆ OPD สามารถจ่ายยาต้านไวรัส กลับรักษาตัวที่บ้านได้ ระยะนี้กำลังเข้าสู่ โรคประจำถิ่น ทำให้เรากลับมาให้ความสำคัญการรักษาโรคอื่นๆ เช่น มะเร็ง หรือโรคเรื้อรังที่อาจจะถูกมองข้ามไป

 

"การกลับมาให้การบริการปกติเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาจจะต้องมาดูว่า โควิดทำให้โรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้นหรือไม่ และวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ ที่อาจจะต้องฟื้นฟูกลับมา" 

 

“เมื่อเปลี่ยนผ่านสู่โรคประจำถิ่น แต่ละภูมิภาคอาจมีความเร็วช้าแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ฤดูหนาวที่กำลังจะมา ต้องฉีดวัคซีนโควิดและไข้หวัดใหญ่ประจำปี ต้องใส่หน้ากากอนามัยในที่ปิดเพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโควิดและไข้หวัดใหญ่และโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ” 

 

"สิ่งสำคัญที่สุด ยังคงต้องระวังไวรัสต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึง โควิด-19 ทั้งในตลาดสด การแพร่จากธรรมชาติมาสู่คน เมื่อไวรัสมีใหม่ๆ จะเกิดการแพร่จากสัตว์สู่คนหรือไม่ หรือระหว่างคนต่อคนหรือไม่ การเฝ้าระวังเป็นสิ่งสำคัญมาก ถัดมา คือ ลองมองหาวัคซีนครอบจักรวาลไวรัสหลายสายพันธุ์ หรือ โอมิครอนสายพันธุ์ หากจะให้ดีเป็นแบบพ่นเพื่อป้องกันคนสู่คน และยาต้านไวรัสแบบครอบจักรวาล เป็นสิ่งที่ต้องพยายามค้นคว้าต่อไป" ศ.นพ.ไอวาน ฮัง กล่าว

 

เตรียมพร้อมโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

 

ด้าน ศ.นพ.จอง กี-ซอก ศาสตราจารย์นายแพทย์ด้านโรคปอด โรคภูมิแพ้ และการดูแลผู้ป่วยหนัก ประจำศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยฮันลิม และอดีตหัวหน้าศูนย์ด้านการควบคุมและป้องกันโรคระบาด ประเทศเกาหลีใต้ กล่าวถึง ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับโรคอุบัติใหม่ ในอนาคต ว่า เราจำเป็นต้องมีโครงข่ายที่เข้มแข็งในส่วนของผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคต่างๆ เช่น ประเทศจีน มี ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคจีน (CDC) ญี่ปุ่นมีสถาบันป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติ แต่ละประเทศมีศูนย์ป้องกันโรค แต่ที่ผ่านมาไม่มีการคุยข้ามหน่วยงานแม้ในช่วงระบาดใหญ่ 

 

แนะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ 

 

ประเด็นที่สอง คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูล มีความสำคัญ ช่วงเกิดโควิด จำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีความเข้มข้น เก็บข้อมูล บางประเทศมีการคาดการณ์โรคระบาดจะออกมาในรูปแบบไหน และบางตัวเป็นเชื้อก่อโรค ไม่ว่าจะไวรัส แบคทีเรีย ฯลฯ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลให้ทราบได้

 

"อย่างไรก็ตาม ทราบว่าจากการที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านแบคทีเรียหรือไวรัสแต่ละประเทศ ไม่อยากจะส่งข้อมูลให้กับประเทศอื่นๆ อาจจะทำให้ประเทศนั้นเอาไปทำวัคซีนและทำยาได้ แต่หากจำเป็น อาจเป็นเพียงข้อมูลเกี่ยวกับไวรัส โดยไม่ใช่ส่งตัวไวรัสตรงๆ ไปให้ รวมถึงแพลตฟอร์มต่างๆ วัคซีน ยาต้าน ก็ควรจะมีการแลกเปลี่ยนเช่นกัน" ศ.นพ.จอง กี-ซอก กล่าว