เปิด 5 หุ้น ร้านไอศกรีม-ขนมหวาน ดับร้อนรับเมษาซัมเมอร์ ซ่อนอยู่ในหุ้นใดบ้าง

เปิด 5 หุ้น ร้านไอศกรีม-ขนมหวาน ดับร้อนรับเมษาซัมเมอร์ ซ่อนอยู่ในหุ้นใดบ้าง

เปิด 5 หุ้น ร้านไอศกรีม-ขนมหวาน ดับร้อนรับเมษาซัมเมอร์ หุ้น MINT มีไอศกรีม Swensen's และ Dairy Queen มาร์เก็ตแคปใหญ่สุด 185,691.75 ล้านบาท

ห้วงเวลานี้ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอาหาร โดยเฉพาะธุรกิจร้านไอศกรีม และร้านขนมหวาน คึกคักเป็นอย่างมาก จากปัจจัยสภาพภูมิอากาศในประเทศที่ร้อนมากถึงมากที่สุด ทำให้ประชาชนพากันเลือกบริโภคอาหารที่เย็นและหวาน เพื่อลดอุณหภูมิภายในร่างกาย และเพิ่มความตื่นตัวให้กับการดำเนินชีวิต 

และปัจจุบันธุรกิจร้านไอศกรีม รวมถึงร้านขนมหวาน ที่เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีไม่ใช่น้อย ซึ่งน่าจะได้รับอานิสงส์จากยอดขายที่ขยับตัวขึ้นมาก และย่อมส่งผลต่อราคาหุ้นที่อาจมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ จะมีหุ้นอะไรบ้างนั้น “กรุงเทพธุรกิจ” ได้สำรวจและพบว่ามีด้วยกันทั้งหมด 5 หลักทรัพย์

5 หุ้น ร้านไอศกรีม-ขนมหวาน ดับร้อนรับเมษาซัมเมอร์

1.บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT

เป็นผู้ดำเนินธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรม ซึ่งรวมถึงโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อขาย โครงการพักผ่อนแบบปันส่วนเวลา และให้เช่าศูนย์การค้าและอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบันเทิงและธุรกิจจัดจำหน่าย

  • กำไรปี 2566 ที่ 5,407.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,120.69 ล้านบาท หรือ 26.15% เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ 4,286.37 ล้านบาท
  • มาร์เก็ตแคป 185,691.75 ล้านบาท P/E 34.34 เท่า ราคาสูงสุด/ต่ำสุด ในรอบ 52 สัปดาห์ที่ 35.00 / 25.75 บาท 
  • แบรนด์ ไอศกรีม Swensen's จำนวน 119 สาขา และ Dairy Queen มีจำนวน 250 สาขา
  • ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 กันยายน 2521 กลุ่มบริษัทดำเนินธุรกิจหลักในด้านการลงทุนการประกอบกิจการโรงแรม ภัตตาคาร อาหารและเครื่องดื่ม การจัดจำหน่ายและผลิตสินค้า โดยประกอบกิจการส่วนใหญ่ในประเทศไทย และประกอบกิจการในประเทศต่างๆ 
  • เอ็มมานูเอล จู๊ด ดิลิปรัจ ราชากาเรีย ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท

ในปี 2566 อุตสาหกรรมร้านอาหารฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลับมารับประทานอาหารที่ร้าน ในขณะที่ช่องทางการจัดส่งและซื้อกลับบ้านเริ่มชะลอตัวลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง

ทางพฤติกรรมของผู้บริโภคและการบริหารจัดการของผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งอาหาร ทั้งนี้ ความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ไมเนอร์ ฟู้ต

ประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในปี 2566 ท่ามกลางสภาวะเงินเฟ้อที่สูง กลยุทธ์หลัก 3 ประการในการสร้างแบรนต์ได้แก่ การสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพ ความคุ้มค่าที่ได้รับ และนวัตกรรม เมนูใหม่ ๆ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ไมเนอร์ ฟู้ดสามารถดึงดูดลูกค้าและขยายฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น พร้อมๆ ไปกับการเพิ่มอัตราการทำกำไร

ทั้งนี้ ในส่วนของแบรนด์ขนมหวานและไอศกรีม ยังเดิบโดอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง นำโดย Dairy Queen ที่ปัจจุบันมีมากกว่า 500 สาขาทั่วประเทศไทยและมีจำนวนสาขาที่มียอดขายเกินหลักล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์จากนวัตกรรมเมนูพรีเมียมต่างๆ เช่น เมนูชาไทย และ Swensen's ยังคงตำแหน่งผู้เล่นหลักในกลุ่มตลาดไอศกรีมแบบ Scoop เดิบโตอย่างแข็งแกร่งจากความสำเร็จในการคิดค้นรสชาติต่างๆ เช่น มะม่วงและทุเรียน รวมไปถึงกลยุทธ์ของแบรนด์ในการขยายร้านในรูปแบบแฟล็กชิป คอนเซ็ปต์คราฟต์บาร์ และการเปิดตัวโปรเจ็กต์ 101 Flavors ที่มีรสชาติไอศกรีมให้เลือกถึง 101 รสชาติในที่เดียว

และหากมองไปข้างหน้าสำหรับปี 2567 และ 2568 การเติิบโตทางเศรษฐกิิจคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.2 และ 3.1 ตามลํําดัับ โดยได้รัับแรงหนุุนจากการฟื้นตััวของภาคการท่องเที่ยวและการบริิโภคภาคเอกชนที่่เพิ่มขึ้น


2.บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL

ประกอบธุรกิจโรงแรม ในประเทศและต่างประเทศ และธุรกิจอาหารในประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ของตนเอง คือ เดอะ เทอเรส,อร่อยดี, เกาลูน, อาริกาโตะ, แกร็บ คิทเช่น บาย เอวี่ ฟู้ด และแฟรนไชส์ คือ มิสเตอร์โดนัท, เคเอฟซี, อานตี้แอนส์, เปปเปอร์ลันช์, ชาบูตง, โคล สโตนครีมเมอร์, โยชิโนยะ, โอโตยะ, เทนยะ, คัตสึยะ, ราเมน คาเกทสึ อาราชิและแบรนด์ร่วมค้าอื่นๆ ซึ่งมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ

  • กำไรปี 2566 ที่ 1,248.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 850.02 ล้านบาท หรือ 213.53% เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ 398.08 ล้านบาท
  • มาร์เก็ตแคป 59,400.00 ล้านบาท P/E 47.59 เท่า ราคาสูงสุด/ต่ำสุด ในรอบ 52 สัปดาห์ที่ 56.75 / 40.75 บาท 
  • Mister Donut จำนวน 463 สาขา Auntie Anne’s จำนวน 225 สาขา และ Cold Stone Creamery จำนวน 16 สาขา
  • บริษัทก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2523 โดยกลุ่มจิราธิวัฒน์ 
  • ธีระยุทธ จิราธิวัฒน์ ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

สำหรับภาพรวมธุรกิจร้านอาหารในปี 2566 โดยรวมกลับมาฟื้นตัวผู้บริโภคออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ประกอบกับการท่องเที่ยวฟื้นตัว จึงช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการบริโภคได้อีกทางหนึ่ง บริษักฯ จึงดำเนินแผนงานธุรกิจร้านอาหารตัวยยุทธศาสตร์เชิงรุก พัฒนาการเติบโตธุรกิจร้านอาหารในรูปแบบ New S Curve กับกลยุทธ์หลัก ได้แก่ เร่งเติมเต็มศักยภาพการเติบโตขยายรำนอาหารสาขาใหม่มากกว่า 140 สาขา ในทำเลสักยภาพใหม่ ๆ ทั่วประเทศ และพัฒนาโมเตสร้นรูปแบบใหม่ พร้อมสร้างธุรกิจใหม่เพื่อการเติบโต เพิ่มแบรนด์ใหม่เสริมความแข็งแกร่งให้กับพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งเป็นอีกกลยุทธ์สำคัญที่ส่งผลให้บริษัทประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ด้วยการรับสิทธิ์บริหาร (Master Franchise) แบรนด์ คีอานิ (Kiani) อาหารเกาหลี 

นอกจากนี้ ยังผนึกพันธมิตรสร้างการเติบโตร่วมกัน ด้วยการเร่งขยายสาขาของร้านอาหารเพิ่มขึ้น ทั้งแบรนด์ชินคันเซ็น ซูซิ, สลัตแฟคทอรี่ และส้มตำนัวในทำเลห้างค้าปลีกของกลุ่ม เซ็นทรัล โรบินสัน ตลอดจนการเปิดร้านในรูปแบบสแตนด์อโลน รวมถึงการพัฒนาระบบนิเวศ หรือ Ecosystem ต่อยอตธุรกิจ และการเพิ่มประสิทธิผสของการทำงานรอบด้าน ด้วยการบริหารจัดการต้นทุน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เน้นการลงทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ บริหารกระแสเงินสด ตลอดจนการลงทุนให้มีความคล่องตัวมากขึ้น


3.บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ M

ประกอบธุรกิจร้านอาหาร "เอ็ม เค สุกี้" ร้านอาหารญี่ปุ่น "ยาโยอิ" ซึ่งได้รับสิทธิแฟรนไชส์จากประเทศญี่ปุ่น รวมถึงร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์อื่นๆ อีก 2 แบรนด์ ได้แก่ "ฮากาตะ" และ "มิยาซากิ" ร้านอาหารไทย "ณ สยาม" และ "เลอสยาม" ร้านกาแฟ/เบเกอรี่ "เลอ เพอทิท"

  • กำไรปี 2566 ที่ 1,681.94 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 243.13 ล้านบาท หรือ 16.90% เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ 1,438.81 ล้านบาท
  • มาร์เก็ตแคป 32,460.95 ล้านบาท P/E 19.30 เท่า ราคาสูงสุด/ต่ำสุด ในรอบ 52 สัปดาห์ที่ 52.25 / 35.00 บาท 
  • ขนมหวาน ไอศกรีมชนิดต่างๆ  ในร้านเอ็มเค สุกี้ จำนวน 439 สาขา ร้าน เอ็มเค โกลด์ จำนวน 5 สาขา และ  ร้านเลอ เพอทิท จำนวน 3 สาขา
  • บริษัทก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2529
  • ฤทธิ์ ธีระโกเมน ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

ในปี 2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีการขยายเครือขายสาขา ร้านอาหารอย่างต่อเนื่องเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน โดยไดเปิดร้านอาหาร ใหม่เพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้น 29 สาขา ประกอบดวยร้านอาหารเอ็มเค สุกี้ 12 สาขา ร้านอาหารญี่ปุ่นยาโยอิ 11 สาขา และร้านอาหารแหลมเจริญ ซีฟู้ด อีก 6 สาขา 

ทั้งนี้ เนื่องจากผลการดําเนินงานของบริษัทฯ สําหรับปี 2566 ปรากฏมีกําไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปีก่อนและมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกรง ตลอดจนสภาพคล่องของบริษัทฯ ก็อยู่ในระดับสูง คณะกรรมการบริษัทฯ จึงมีมติใหเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2567 เพื่ออนุมัติการจ่ายเงินปันผลประจําปี 2566 ในอัตราหุ้นละ 1.60 บาท (ปี 2565: 1.40 บาท) โดยที่บริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.60 บาท ดังนั้น หากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผล ตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ เสนอมาในครั้งนี้ บริษัทฯ ก็จะดําเนินการจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายในอัตราหุ้นละ 1.00 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 

สําหรับแนวโนมธุรกิจในปี 2567 นั้น คาดว่าเศรษฐกิจในภาพรวมน่าจะมีการขยายตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยหลักจากภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผลจากมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ จะทําให้มีจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 

อยางไรก็ตาม บริษัทฯ อาจยังต้องเผชิญกับความท้าทายและแรงกดดันจากหลายปัจจัย เช่น ต้นทุนวัตถุดิบที่ยังมีความผันผวน ต้นทุนแรงงานที่ยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแข่งขัน ที่สูงขึ้นจากผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ที่เข้ามาในธุรกิจร้านอาหาร รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอยางรวดเร็วและความต้องการแสวงหาประสบการณใหม่ๆ ในการรับประทานอาหาร ทั้งนี้ บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงคุณภาพอาหารให้ดีและอร่อยยิ่งขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพ (efficiency) และผลิตภาพ (productivity) ของพนักงานและกระบวนการทุกอย่าง ตลอดจนการลดค่าใช้จ่ายและค่า โสหุย (overhead) ในการดําเนินงานโดยอาศัย Digital Technology มาช่วยในการบริหาร รวมทั้งการสร้างแบรนด์ตาง ๆ ของบริษัทฯ ให้ เข้มแข็งยิ่งขึ้น

 

4.บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) หรือ SNP

ธุรกิจร้านอาหารและร้านเบเกอรี่ รวมทั้งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น

1) ร้านอาหารและร้านเบเกอรี่ในประเทศ

2) ร้านอาหาร ในต่างประเทศ

3) ผลิตและจำหน่ายสินค้าเบเกอรี่ อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ผ่านสาขาร้านอาหารและเบเกอรี่ และซุปเปอร์มาร์เก็ต รวมทั้งส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ

4)ให้บริการที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ เช่น บริการจัดส่งอาหารถึงบ้าน และบริการรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่

  • กำไรปี 2566 ที่ 485.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.87 ล้านบาท หรือ 5.40% เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ 460.36 ล้านบาท
  • มาร์เก็ตแคป 7,566.24 ล้านบาท P/E 15.59 เท่า ราคาสูงสุด/ต่ำสุด ในรอบ 52 สัปดาห์ที่ 18.50 / 14.50 บาท 
  • S&P มีจำนวน 435 สาขา
  • S&P ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 ของพี่น้องตระกูลไรวา นำโดยพี่ใหญ่ ภัทรา (ไรวา) ศิลาอ่อน ร่วมลงขันเปิดร้านขายไอศกรีมในตึกแถวคูหาเดียวเล็ก ๆ ที่หัวมุมซอยประสานมิตร สุขุมวิท 23 ภายใต้ชื่อร้านว่า “S&P Ice-Cream Corner”
  • วิทูร ศิลาอ่อน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

ภาพรวมธุรกิจบริการอาหารมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องมูลค่าตลาดจะเติบโตราว 11% ในปี 2567 เนื่องจากการ ขยายตัวต่อเนื่องของการบริโภคภาคเอกชน การเพิ่มขึ้น ของจำนวนนักท่องเที่ยว และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งในระยะกลางคาดว่า ธุรกิจบริการอาหารจะยังเติบโตต่อเนื่อง ที่อัตราการเติบโตเฉลี่ย 8% ต่อปี ในช่วงปี 2568-2570 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวและกำลังซื้อที่ดีขึ้น ประกอบกับธุรกิจบริการอาหารส่วนใหญ่มีการปรับตัวมาตั้งแต่ช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยเพิ่มช่อง ทางการขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ส่ผลให้มีช่องทางในการเพิ่มรายได้ให้เติบโตจากลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น

ทั้งนี้ เอส แอนด์ พี เปิดให้บริการร้านในรูปแบบของ Food & Bakery ซึ่่งเป็นร้านรูปแบบใหม่ ล่าสุดที่ให้บริการเมนูพิเศษเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมของผู้บริโภค เปิดให้บริการ สาขาแรกที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. พระราม 4 และสาขาที่ 2 ที่ ปตท. บรมราชชนนี (ขาออก) ร้าน S&P Food & Bakery เน้นให้บริการอาหารจานด่วน สำหรับมื้อเช้า และอาหารจานเดียวสำหรับมื้อกลางวัน โดยภายในร้านได้จัดโต๊ะและเก้าอี้ในรูปแบบของเคาน์เตอร์เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการที่ร้าน นอกจากนี้ S&P Food & Bakery มีสินค้าเบเกอรี่และเค้กให้บริการแบบ ครบวงจร 


5.บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU

ประกอบกจิการร้านขนมหวาน ขายสินค้าและวัตถุดิบ รวมถึงขายและการจัดงานนอกสถานที่ และแฟรนไชส์

  • กำไรปี 2566 ที่ 178.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 59.69 ล้านบาท หรือ 50.38% เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ 118.48 ล้านบาท
  • มาร์เก็ตแคป 7,462.96 ล้านบาท P/E 41.89 เท่า ราคาสูงสุด/ต่ำสุด ในรอบ 52 สัปดาห์ที่ 11.70 / 8.40 บาท 
  • After you จำนวน 60 สาขา และร้านผลไม้ภายใตแบรนด์ “ลูกก๊อ” จำนวน 9 สาขา บริษัทย่อยมีร้านกาแฟ Specialty และโรง คั่วเมล็ดกาแฟชื่อ “SCR” หรือ “Song Wat Coffee Roaster” จำนวน 1 สาขา และร้านกาแฟ “มิกก้า” จำนวน 125 สาขา แบ่งเป็นสาขาที่ดำเนินการโดยกลุ่มบริษัทจำนวน 6 สาขา และสาขาแฟรนไชส์จำนวน 119 สาขา
  • บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2548 ในนาม บริษัทซีมันช์ จำกัด โดยครอบครัวกนกวัฒนาวรรณ ครอบครัว ต. สุวรรณ และ เครือญาติ เพื่อประกอบธรุกิจร้านอาหาร ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 2 ล้านบาท
  • นายแม่ทัพ ต.สุวรรณ ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ

ทั้งนี้ ภาพรวมของการดำเนินงานในช่วงต้นปี 2566 ที่ผ่านมาดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับสูงสุดในเดือนพฤษภาคม ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มกลับมารับประทานขนมหวานที่ร้านมากขึ้น นอกจากนี้ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวทั้งต่างชาติและคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น ส่งผลให้มีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และรายได้จากลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลัง อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจค่อนช้างชะลอตัวดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับความเชื่อมั่น แต่มีการปรับตัวขึ้นลงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายนในปี 2566 บริษัทฯ ได้ปรับทารดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โตยมีกลยุทธ์ต่างๆ ดังนี้

  • ขยายสาขาร้านอาฟเตอร์ ยู เพิ่มจำนวน 10 สาขา โตยแบ่งเป็นสาขาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 9 สาขา และสาขาต่างจังหวัด 1 สาขา หลังจากที่บริษัทฯ ซะลอการเปิดสาขาใหม่ในช่วงสถานการณ์โควิต
  • ขยายสาขาร้านลูกก๊อเพิ่มจำนวน 4 สาขา เพื่อตอบสนองกระแสการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคที่อาจลดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวาน รวมถึงเพิ่มโอกาสในการเพิ่มกลุ่มลูกค้าและขยายตลาดใหม่ๆ
  • เปิดร้านกาแฟ Specialty และโรงคั่วเมล็ตกาแฟภายใต้ชื่อ "SCR" หรือ "Song Wat Colffee Roaster" ที่ถนนทรงวาดเพื่อเพิ่มกลุ่มลูกค้าและขยายตลาดใหม่ๆ รมถึงเพื่อคั่วเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพสูงสำหรับใช้เองในร้านของกลุ่มบริษัทฯ
  • เพิ่มสายผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มไอศกรีมชอฟต์เสิร์ฟ ซึ่งในช่วงแรกเน้นจำหน่ายตามงานออกบูธต่างๆ
  • เพิ่มการออกบูธ (Pop-up Store) ในรูปแบบใหม่ โดยเน้นการออกบูธตามงาน Event งานเทศกาล หรือตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่สอดคล้องกับฤดูกาล
  •  ออกมนูใหม่ในกลุ่มสินค้าสำหรับรับประทานที่ร้าน เนื่องจากผู้บริโภคกลับมารับประทานชนมหวานที่ร้านมากขึ้น โดยมีเมนูคากิโกริจำนวน 3 รสชาติใหม่ และขนมหวาน 3 เมนู
  • ออกมนูขนมและสินคำาซื้อกลับบ้าน 8 ชนิด เพื่อช่วยเพิ่มยอดขาย โดยซนมปังเปียกปูนกะทิสด ซึ่งเป็นสินค้ารสชาติใหม่ในกลุ่มขนมปังที่บริษัทฯ ผลิตและเริ่มขายในช่วงกลางเดือนสิงหาคมช่วยเพิ่มยอดขายของบริษัทฯ ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2566 โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3

เปิด 5 หุ้น ร้านไอศกรีม-ขนมหวาน ดับร้อนรับเมษาซัมเมอร์ ซ่อนอยู่ในหุ้นใดบ้าง