‘ดิทโต้’ ติดเครื่องกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ ก้าวสู่ ‘ดิจิทัล-กรีน’ เต็มรูปแบบ

‘ดิทโต้’ ติดเครื่องกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ ก้าวสู่ ‘ดิจิทัล-กรีน’ เต็มรูปแบบ

"ดิทโต้" ติดเครื่องกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ เพื่อก้าวสู่ "ดิจิทัล-กรีน" เต็มรูปแบบ พร้อมเร่งผนึก “พันธมิตร” หวังต่อยอดธุรกิจ สร้างรายได้-ประหยัดเงินลงทุน-ใช้เวลาน้อย

ก่อนจะเป็น “DITTO” หรือ บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในวันนี้ ! รู้หรือไม่องค์กรแห่งนี้เกิดจากการ “เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่” หรือ “Disrupt” ตัวเองจาก “ธุรกิจให้เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร” ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิม มาสู่ “ธุรกิจบริหารจัดการเอกสารและข้อมูลแบบดิจิทัลครบวงจร” 

และไม่หยุดนิ่ง “แตกไลน์” หรือ “Diversify” มุ่งสู่ธุรกิจใหม่ๆ (New Business) อย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน ซึ่งมาจากวิสัยทัศน์ของทีมผู้บริหาร DITTO หนึ่งในหัวหอกสำคัญคงต้องยกให้ “ฐกร รัตนกมลพร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DITTO ที่จะมาเปิดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการนำพา DITTO สู่เป้าหมายธุรกิจดิจิทัล และกรีน เต็มรูปแบบในอนาคต...

จุดเปลี่ยน DITTO ครั้งสำคัญ !!

จากเดิมธุรกิจหลักของ DITTO คือ ให้เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร แต่เมื่อโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ด้วยความก้าวหน้าของ “เทคโนโลยี” ดังนั้น DITTO จึงไม่อาจนิ่งนอนใจต้องหันมา disrupt ตัวเอง จนกลายเป็น “จุดเริ่มต้น” ของ “ธุรกิจ Digital Transformation” ซึ่งเป็นธุรกิจบริหารจัดการเอกสารและข้อมูลแบบดิจิทัลครบวงจร เป็นรายแรก ๆ 

โดยทำให้ DITTO มีประสบการณ์ในการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานราชการ เช่น กระทรวง และกรมต่าง ๆ รวมถึง ภาคเอกชนและธุรกิจค้าปลีก จนได้รับ “ความเชื่อมั่น” ในการให้บริการของ DITTO ซึ่ง “จุดแข็ง” ของ DITTO นั่นคือ มีทีมพัฒนาแพลตฟอร์มที่เหมาะสม มีการพัฒนาที่ตอบโจทย์ และมีความเฉพาะตัว 

ความร่วมมือระหว่าง “พันธมิตร” เป็นอย่างไร

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาจะเห็นภาพการที่ DITTO เข้าลงทุนใน บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) หรือ NETBAY แล้วจับมือกับ “พันธมิตรอีก 4 ราย” ประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TEAMG , บริษัท ไซเท็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (SITEM) , บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI และ โสมาภา อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี (SOMAPA) จะทำให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในการขยายธุรกิจในหลาย ๆ มิติ ซึ่งพันธมิตรแต่ละรายต่างก็มีจุดแข็งของตัวเอง และมีฐานลูกค้าคนละกลุ่มกัน 

ดังนั้น ประโยชน์ที่ได้ คือ การพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้น และคุ้มค่างบประมาณ เรียกได้ว่า ประหยัดทั้งเวลาและเงินลงทุน และยังสามารถดึงศักยภาพของพันธมิตรแต่ละรายออกมาใช้ได้เป็นอย่างดี  

ตัวอย่างเช่น DITTO จะสามารถนำโซลูชัน ibox ของ NETBAY ไปต่อยอดกับลูกค้าปัจจุบันอย่าง ศาล , องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือหน่วยงานราชการอื่น ๆ ได้ทันที และในส่วนของ NETBAY เอง ก็มีกลุ่มลูกค้าที่เหมาะกับโซลูชันของ DITTO อีกด้วย

‘ดิทโต้’ ติดเครื่องกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ ก้าวสู่ ‘ดิจิทัล-กรีน’ เต็มรูปแบบ

ขณะที่ “โสมาภา” เป็นผู้ให้บริการ Immigration Management System ซึ่งมีลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ที่สามารถขยายตลาดไปยังต่างประเทศร่วมกับโซลูชันด้าน e-customs และ e-logistics ของ NETBAY รวมไปถึงร่วมกับพันธมิตรรายอื่น ๆ ได้อย่างกลมกลืนกัน

อีกทั้งพันธมิตรรายอื่น ๆ ที่ร่วมมือกัน ก็จะสามารถดึงสินค้าและบริการจากพันธมิตรในกลุ่มนำมานำเสนอให้กับลูกค้าของตนเองได้ โดยพันธมิตรแต่ละรายจะเข้ามาเกื้อกูลกันและกันได้เป็นอย่างดี และนี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือกัน เราสามารถเพิ่มทั้ง Productivity และเพิ่ม Efficiency เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ก่อให้เกิดรายได้ใหม่ ๆ และสร้างโอกาสที่จะเกิดในอนาคตได้ โดยการจับมือเดินไปพร้อมกัน

โปรเจกต์แรกๆ ที่จะเห็นเป็นรูปธรรม

โดยจะมีการนำ “สินค้า” ของ NETBAY มาต่อหน่วยงานที่เป็นลูกค้าปัจจุบันของ DITTO ไปบ้างแล้ว เช่น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง , องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือลูกค้ากลุ่มธนาคาร , องค์กรท้องถิ่น โดย NETBAY มีทีมบุคลากรด้านไอที (IT) และซอฟต์แวร์ดีเวลลอปเปอร์นับร้อยคน 

อย่างไรก็ตาม DITTO สามารถใช้ “ศักยภาพจากทีมงานเหล่านี้” ได้อย่างเต็มที่ และยังสามารถควบคุมต้นทุนให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสทางตลาดให้กว้างขึ้น และไม่เฉพาะกับ DITTO เท่านั้น NETBAY เองก็จะได้โอกาสเพิ่มขึ้นด้วย เพราะโซลูชันต่าง ๆ เป็นของ NETBAY

โอกาสพัฒนา “โซลูชัน” ร่วมกัน

ทั้งนี้ ณ ปัจจุบัน DITTO หันมาให้ความสำคัญเรื่อง Green และ Climate Technology มากขึ้น โดยเราเน้นไปที่ความร่วมมือในการพัฒนาแพลตฟอร์มที่เกี่ยวกับด้านการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) และอยู่ระหว่างการศึกษาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยมี TEAMG ร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้วย 

ความคืบหน้าในการออก “โทเคนคาร์บอนเครดิต” 

โดยในปัจจุบัน DITTO แต่งตั้งให้ บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด (Token X) บริษัทภายใต้ “กลุ่มเอสซีบี เอกซ์” (SCB X) เป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขาย “โทเคนดิจิทัล” (ICO Portal) ในการออกโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนในคาร์บอนเครดิต ที่ DITTO ได้เข้าร่วมโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต 

ทั้งนี้ ปัจจุบัน DITTO ได้สิทธิในการดูแลและปลูกป่าชายเลนเป็นเวลา 30 ปี !! โดย DITTO ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมในด้านสิ่งแวดล้อม ปลูกป่า และได้ดูแลรักษาร่วมกัน โดยเงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ จะนำไปใช้ในการปลูกป่าชายเลนในโครงการ คาดว่ากลางปีจะสามารถออกได้แน่นอน

‘ดิทโต้’ ติดเครื่องกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ ก้าวสู่ ‘ดิจิทัล-กรีน’ เต็มรูปแบบ

วิสัยทัศน์ และ กลยุทธ์ของ “ดิทโต้”

สำหรับเป้าหมายของ DITTO อยากเป็น “Tech Company” ของคนไทย ที่มีความแข็งแรงพอที่จะนำพาโนว์ฮาวของคนไทยให้เป็นที่รู้จัก ทั้งในด้าน “การบริหารดาต้า” ด้วยแพลตฟอร์มที่เกิดจากฝีมือของคนไทย และในด้านวิศวกรรมมันสมองคนไทย หรือแม้แต่การนำทั้ง 2 อย่างมาผสมผสานกันเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าในหลากหลายธุรกิจ 

ทั้งนี้ ณ ปัจจุบัน DITTO ให้การบริการระบบจัดการเอกสารกับ “ศาล” หรือการนำเข้าข้อมูลให้ “กรมที่ดิน” รวมถึงระบบจัดการเอกสารสำหรับ “อบต. และ อบจ.” ก็เป็นแพลตฟอร์มที่เราออกแบบและพัฒนาเอง ในด้านการผสานซอฟต์แวร์เข้ากับฮาร์ดแวร์และงานด้านวิศวกรรมนั้น 

ยกตัวอย่าง โครงการสวนสัตว์แห่งใหม่ ที่เพิ่งเปิดโครงการไปไม่นาน ก็เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องผสานงานในด้านต่าง ๆ ทั้งงานก่อสร้าง วิศวกรรม และเทคโนโลยีในแขนงต่าง ๆ เข้าด้วยกัน 

อีกทั้งโครงการปลูกป่าชายเลนก็มีการนำระบบเข้ามาช่วยในการบริหารโครงการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการควบคุมคุณภาพ การตรวจวัดต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืนเพื่อผลิตผล อยากได้ป่าที่อุดมสมบูรณ์ เราต้องมีวิธีการดูแล วิธีการแบบเดิมอาจไม่เพียงพอต้องเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย 

ดังนั้น สิ่งที่ DITTO ทำทุกวันนี้ ! เป็นสิ่งที่ค่อนข้างเฉพาะทาง ทุกอย่างได้จากประสบการณ์ลูกค้า เกิดจากการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้งาน ซึ่งถือเป็น “จุดแข็ง” ของ DITTO เรามีทั้งแพลตฟอร์ม ระบบบริหารงาน ความเชี่ยวชาญในการนำเข้าข้อมูล และความพร้อมของบุคลากรในด้านต่าง ๆ

“แบ็กล็อต” และ “โครงการใหม่”

เมื่อสิ้นไตรมาส 3 ปี 2566 DITTO มี Backlog 5.3 พันล้านบาท รับรู้รายได้ภายใน 3 ปี ซึ่งยังไม่รวมกับโครงการใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยในไตรมาส 4 ปี 2566 DITTO ได้งานใหม่เข้ามามา 4-5 โครงการ เช่น โครงการดิจิทัลทวิน , โครงการการขยายการจัดเก็บข้อมูลภายในศาล ,โครงการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ,โครงการของกรมที่ดิน รวมถึงมีโครงการที่ร่วมมือกับ NETBAY ที่เรามองว่ายังมีโอกาสที่จะขยายงานได้มากขึ้นอีก 

“จากจุดเริ่มต้นธุรกิจให้เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร Disrupt ตัวเองสู่ธุรกิจ Digital Transformation และปัจจุบันกำลังบุกธุรกิจ Green และ Climate Tech อย่างเต็มตัว จนถึงวันนี้ DITTO กำลังมุ่งสู่ธุรกิจดิจิทัล และกรีนอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต”

‘ดิทโต้’ ติดเครื่องกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ ก้าวสู่ ‘ดิจิทัล-กรีน’ เต็มรูปแบบ