จับทิศทางหุ้นญี่ปุ่น นักวิเคราะห์คาด ดัชนีนิกเกอิ ขึ้นแตะ 55,000 จุด สิ้นปี 68

จับทิศทางหุ้นญี่ปุ่น นักวิเคราะห์คาด ดัชนีนิกเกอิ ขึ้นแตะ 55,000 จุด สิ้นปี 68

นักวิเคราะห์ มองว่า Nikkei 225 จะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 55,000 จุด ภายในสิ้นปี 2568 หลังจากที่ดัชนี Nikkei 225 ทะลุระดับ 40,000 จุด ทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

KEY

POINTS

  • Nikkei 225 ของญี่ปุ่นทะลุระดับ 40,000  ทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 
  • นักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนีจะมีอัพไซด์อีก 37% สำหรับดัชนีหุ้นมาตรฐาน
  • จับทิศทางหุ้นญี่ปุ่น นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า Nikkei จะเพิ่มขึ้นเป็น 55,000 จุดภายในสิ้นปี 2568 
  • จับตา 2 ปัจจัย การปรับขึ้นอัตราภาษี สงครามการค้าโลก กระทบดัชชี

นักวิเคราะห์ มองว่า Nikkei 225 จะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 55,000 จุด ภายในสิ้นปี 2568 หลังจากที่ดัชนี Nikkei 225 ทะลุระดับ 40,000 จุด ทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

หลังจากที่ดัชนี Nikkei 225 ทะลุระดับ 40,000 จุด ทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกสำหรับ เจสเปอร์ โคลล์ ( Jesper Koll) ผู้อำนวยการและผู้เชี่ยวชาญของบริษัทให้บริการทางการเงิน Monex Group ที่คาดว่าราคาหุ้นจะมีการอัพไซด์ถึง 37% หรือ ราคาที่หุ้นอาจขึ้นไปถึง จากดัชนีอ้างอิง (Index) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดให้นักลงทุนเห็นความเคลื่อนไหวของหุ้นแต่ละกลุ่ม และในเดือนกรกฎาคมปี 2566 โคลล์เคยคาดการณ์ว่า Nikkei จะแตะ 40,000 “ในอีก 12 เดือนข้างหน้า”

และเมื่อถึงจุดนี้ โคลล์ มองว่า Nikkei 225 จะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 55,000 จุด ภายในสิ้นปี 2568  โดยอ้างถึงเหตุการณ์ฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆรวมทั้งหุ้นญี่ปุ่นในช่วงปลายทศวรรษที่ 80 ซึ่งส่งผลให้ Nikkei แตะระดับสูงสุดในปี 1989 และแล้ว ฟองสบู่ก็"แตก"ในปี 1990  จนตกอยู่ในยุค "เศรษฐกิจซบเซา" ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "ทศวรรษที่สูญหาย" ในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีดัชนี Nikkei สูญเสียมูลค่าไปกว่าครึ่งหนึ่ง

ญี่ปุ่นมีความสารมรถในการเป็น“มหาอำนาจที่สร้างมูลค่าทุน” เป็นหนึ่งในปัจจัยบวกที่ โคลล์  คาดว่าจะสามารถผลักดันดัชนีได้ คือ “จุดแข็ง"ของญี่ปุ่นนั้นมาจากภาคเอกชน มากกว่าผลการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือนายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ สนับสนุนการปรับโครงสร้างตลาดทุน

"ทว่าบริษัทของญี่ปุ่นมีความสามารถในการสร้างรายได้ที่เหนือกว่า ระยะเวลาตลอด 20 ปี ญี่ปุ่นใช้การปรับโครงสร้างแบบ "ไคเซ็น"   กลยุทธ์การบริหารแบบญี่ปุ่น เน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องทีละเล็กทีละน้อย เปลี่ยนบริษัทญี่ปุ่นให้กลายเป็น "มหาอำนาจที่สร้างมูลค่าทุน" จนไม่ต้องสงสัยเลยว่า 'ซีอีโอมนุษย์เงินเดือน' ของญี่ปุ่น สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานได้มากกว่าซีอีโอซูเปอร์สตาร์แห่งวอลล์สตรีทได้"

ความเสี่ยงที่อาจฉุดรั้งดัชนี

ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและช่วยเหลือภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อ รวมถึงการขึ้นเงินอุดหนุนช่วยเหลือดูแลเด็ก และเพิ่มการใช้จ่ายในการวิจัยและการป้องกันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี แต่นายกรัฐมนตรียังไม่ได้นำเสนอแผนเกี่ยวกับวิธีการหาเงินมาจ่ายสำหรับโครงการเหล่านี้

ด้วยเหตุนี้ จึงคาดว่าจะมีการปรับอัตราภาษีในปี 2568 หรือ 2569  ซึ่งการเพิ่มภาษีถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับตลาดหุ้นญี่ปุ่นมาโดยตลอด

รวมทั้งสงครามการค้าที่มีความเสี่ยงในระดับโลก โดยผู้เชี่ยวชาญของญี่ปุ่นเรียกว่า “สงครามค่าเงินที่ผลิตในจีน” หากทางการจีนถูกบังคับให้ลดค่าเงินหยวนของจีน ประมาณ 20% ถึง 30% มันจะเป็นความท้าทายอย่างมากต่อความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นได้รับบาดเจ็บในสงครามการค้าโลก

อ้างอิง CNBC