‘ญี่ปุ่น’ เสียตำแหน่งบิ๊กเศรษฐกิจอันดับ 3 ให้เยอรมนี เหตุเข้าสู่ Recession

‘ญี่ปุ่น’ เสียตำแหน่งบิ๊กเศรษฐกิจอันดับ 3 ให้เยอรมนี เหตุเข้าสู่ Recession

"ญี่ปุ่น" เสียตำแหน่งมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 3 ของโลกให้เยอรมนีหลังเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะถดถอย (Recession) เพราะตัวเลขเศรษฐกิจหดตัวเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกันจากอุปสงค์ภายในประเทศลดลง

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงาน (15 ก.พ.67) ว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างไม่คาดคิดหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจหดตัวเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศหดตัวทั้งหมดส่งผลให้บรรดาผู้สังเกตการณ์เฝ้าดูว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด และเสียตำแหน่งมหาอำนาจอันดับสามทางเศรษฐกิจให้เยอรมนี

สํานักงานคณะรัฐมนตรีรายงานเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ญี่ปุ่นหดตัวที่อัตรา 0.4% ต่อปีในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปีที่แล้ว หลังจากถอยกลับ 3.3% ในไตรมาสก่อนหน้า


รายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทั้งภาคครัวเรือน และธุรกิจปรับลดการใช้จ่ายเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกัน เนื่องจากเศรษฐกิจของญี่ปุ่นร่วงลงสู่อันดับสี่ของโลกในรูปดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว โดยปัจจุบันเยอรมนีมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก
 

หลังจากตัวเลขจีดีพีซึ่งน้อยกว่าคาดการณ์ประกาศออกมาทำให้สถานการณ์ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของบีโอเจซับซ้อนมากขึ้นนับตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งเป็นขั้นตอนที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์เมื่อเดือนที่แล้วว่าธนาคารจะดําเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในเดือนเม.ย.


"นี่เป็นอุปสรรคสําหรับบีโอเจ"

ทาเคชิ มินามิ (Takeshi Minami) นักเศรษฐศาสตร์จาก Norinchukin Research กล่าว พร้อมเสริมว่า "ผมคิดว่าบีโอเจจะยุติอัตราดอกเบี้ยติดลบในเดือนมี.ค.หรือเม.ย. แต่ตอนนี้เริ่มมีปัจจัยใหม่เข้ามากระทบคาดการณ์นี้แล้ว"

เมื่อเร็วๆ นี้คณะกรรมการนโยบายการเงินของบีโอเจตั้งโต๊ะเจรจาเกี่ยวกับการออกจากสภาวะแวดล้อมแบบนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าศูนย์ และพยายามสร้างความมั่นใจให้กับตลาดว่าการหากจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะทำในลักษณะที่ไม่เปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน 
 

ด้านผู้ว่าการ คาซึโอะ อูเอดะ (Kazuo Ueda) กล่าวกับรัฐสภาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ภาวะทางการเงินในญี่ปุ่นจะยังคงผ่อนคลายในขณะนี้แม้ว่าจะสิ้นสุดอัตราดอกเบี้ยติดลบแล้วก็ตาม 

ทั้งนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจซึ่งเผยแพร่ในวันพฤหัสบดี เน้นย้ำถึงกรณีการรักษานโยบายให้ผ่อนคลายโดยสะท้อนให้เห็นถึงการพึ่งพาอุปสงค์ภายนอกของญี่ปุ่นเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศอ่อนตัวลงท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่คงอยู่


โดยการบริโภคภาคเอกชนลดลง 0.2% เนื่องจากครัวเรือนต่อสู้กับค่าครองชีพที่สูงขึ้นทําให้งบประมาณตึงตัว และในเดือนธ.ค.การใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง 2.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างทําให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวขณะที่การใช้จ่ายทางธุรกิจยังซบเซาในไตรมาสที่แล้ว โดยลดลง 0.1%


"อัตราเงินเฟ้อที่ยังเหนียวกําลังตัดกําลังซื้อของผู้บริโภค ซึ่งนําไปสู่การบริโภคที่อ่อนแอ" มินามิ กล่าว  พร้อมนิยามว่า "นั่นคือ ภาวะเงินฝืดเล็กน้อย"
 

อ้างอิง

Bloomberg 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์