‘หนี้นอกระบบ’ แก้ปัญหาฐานราก หุ้นการเงิน-ไฟแนนซ์-ค้าปลีก รับอานิสงส์

‘หนี้นอกระบบ’ แก้ปัญหาฐานราก หุ้นการเงิน-ไฟแนนซ์-ค้าปลีก รับอานิสงส์

ปัญหาหนี้นอกระบบเป็นวาระแห่งชาติ ที่ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต้องกาฟื้นฟูความเป็นอยู่ประชาชนดียิ่งขึ้น "โบรก" เผย หากทำได้จริงถือเป็นเรื่องดีต่อฐานราก หุ้นการเงิน-ไฟแนนซ์-ค้าปลีก รับอานิสงส์

หลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เล็งเห็นปัญหา"หนี้นอกระบบ"เป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องการจะเข้ามาฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ประชาชนดียิ่งขึ้น 

โดยนักวิเคราะห์ระบุตรงกันหากมีการแก้ไขหนี้นอกระบบได้จริงถือว่า เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้ประชาชนฐานรากสามารถลืมตาอ้าปากได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งผลให้มีการอุปโภคบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงประชาชนที่อยู่นอกระบบจะสามารถกล้าเข้ามาอยู่ในระบบมากยิ่งขึ้นด้วย

วิจิตร อารยะพิศิษฐ นักกลยุทธ์การลงทุน บล.ลิเบอเรเตอร์ ให้ข้อมูลกับกรุงเทพธุรกิจว่า มาตรการช่วยเหลือหนี้นอกระบบที่รัฐบาลจะเข้ามาช่วยแก้ไขแบบครบวงจรถือว่าเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มการเงิน เนื่องจากหนี้นอกระบบถือเป็นปัญหาสำคัญของเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้นหากมีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้จริง จะทำให้ภาพรวมของการใช้ชีวิตของคนฐานรากดีขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันยังไม่ได้เห็นนโยบายอย่างชัดเจน ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นภาพชัดขึ้นในวันที่ 12 ธ.ค.นี้ แต่หากมีการนำหนี้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบได้จริง แน่นอนประชาชนฐานรากจะได้จ่ายในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าที่ไปกู้หนี้นอกระบบ

ทั้งนี้ในเบื้องต้นจะมีการเปิดให้ลงทะเบียนในวันที่ 1 ธ.ค.นี้ แต่ช่วงถัดไป ยังคงต้องดูว่า รัฐบาลจะสามารถช่วยเหลือได้มากน้อยแค่ไหน หากวงเงินกู้ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้เกิดการรีไฟแนนซ์เข้ามาในระบบได้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ภาครัฐฯ คงต้องไปดูว่า ท้ายสุดแล้วสัญญาการเกิด NPL ในช่วงถัดไป หากมีปัญหาในระยะกลาง ทั้งนี้อาจจะมีการวางมาตรการให้ดีมากขึ้น

“ณ ปัจจุบันยังไม่เห็นรายละเอียดของโครงการนี้มากนัก ยังคงต้องจับตาดูในวันที่ 12 ธ.ค. อีกครั้ง ก่อนหน้านี้ในระบบมีการปรับยีลด์ลงมาค่อนข้างมาก หากคุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น การผิดชำระหนี้ต่าง ๆ ดีขึ้น ถือว่าดี”

อย่างไรก็ดี ถือว่าเป็นนโบายที่ดี ซึ่งดีกว่านโยบายแจกเงินดิจิทัลวอเล็ต เพราะมีการแจกแค่ครั้งเดียว ส่วนนโยบายแก้หนี้นอกระบบเป็นการแก้ไขปัญหาของคนรากหญ้าที่แท้จริง ที่ในอดีตไม่สามารถเข้ากู้ในระบบได้ หาทำได้จริงถือว่าดีมาก 

ทั้งนี้หากมีการโอนเข้ามาในระบบมากขึ้น สัญญาณหน้าหุ้นที่อยู่ในกลุ่มไฟแนนซ์จะได้รับอานิสงส์นี้ไปด้วย แต่ต้องมีการสกีนในเรื่องของคุณภาพสินทรัพย์ด้วยเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในช่วงถัดไป อย่างสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ หรือ  หรือสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ในอดีตที่มีโอกาสเกิดหนี้เสียค่อนข้างมาก

“หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์จะได้รับประโยชน์จากมาตรการแก้หนี้นอกระบบ รวมถึงหุ้นกลุ่มบริโภค เช่นค้าปลีก ทำให้ฐานรากมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้สถานการณ์การใช้จ่าย การบริโภคกลับมาดีขึ้นในช่วงถัดไป”  

 

ณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลังจากที่รัฐบาลมีการผลักดันหนี้นอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้นเป็นการคุมคนนอกระบบให้อยู่ในระบบ เพราะสิ่งที่อยู่ในระบบอยู่แล้วคงไม่ได้รับผลกระทบ ส่วนคนที่อยู่นอกระบบทั้งคนที่ปล่อยกู้และกู้นอกระบบจะกลับเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้่น นั่นหมายความว่าคนที่ปล่อยกู้จะทำได้ยากขึ้น พอมาอยู่ในระบบการแข่งขันจะเท่ากัน และจะไม่มีการวิ่งออกไปกู้นอกระบบ 

“ทำให้คนนอกระบบกล้าเข้ามากู้ในระบบมากขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อจำนำทะเบียนจะได้รับประโยชน์นี้ จึงทำให้กลุ่มไฟแนนซ์ได้รับผลดี ส่วนการปรับอัตราดอกเบี่้ยได้มีการแก้ไขกฎหมายเก็บขั้่นเพดานสูงก็ได้มีการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยลงมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่ง ณ ปัจจุบันไม่ได้มีการควบคุมเพราะมีการควบคุมมาก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งนี้ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกมาพูดชัดว่า เก็บอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อยู่ในระดับที่เหมาะสม” 

อย่างไรก็ตาม นโยบายแก้หนี้นอกระบบของรัฐบาลชุดปัจจุบันได้นำนโยบายของรัฐบาลก่อนหน้ามาใช้ทั้งหมด ทั้งการปล่อยเงินกู้ 50,000 บาท และให้อาชีพอิสระ 100,000 บาท ซึ่งเป็นนโยบายเดิมจากรัฐบาลชุดก่อนและนำมาใช้ต่อในรัฐบาลนี้ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยก็เหมือนเดิม แต่เป็นการทำให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น โดยให้ทั้งกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอำนาจจัดการต่อคนที่ทำผิดกฎหมาย พอประกาศออกมาแล้ว และเอาจริงเอาจังมากขึ้น

ทั่้งนี้ การแก้หนี้นอกระบบหากทำได้จริงถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะจะทำให้กระแสเงินสดของผู้มีรายได้น้อยดีขึ้น หุุ้นกลุ่มค้าปลีก สินค้าอุปโภคบริโภค และหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ ไม่ว่าจะเป็น MTC SAWAD TIDLOR หรือสินเชื่อมอเตอร์ไซด์ NCAP เป็นต้น 

อภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล. ทิสโก้ ให้ข้อมูลเสริมอีกว่า รัฐมีความต้องการจัดการหนี้นอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ๆ และให้เข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น แต่ยังไม่ชัดเจนว่า เมื่อเข้ามาในระบบแล้วจะให้สถาบันการเงินของภาครัฐหรือภาคเอกชนเข้ามาช่วยเหลือในส่วนนี้ 

แต่ภาพรวมถือว่า เป็นผลดีต่อหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ หากมีการแก้ไขได้จริงจะทำให้ประชาชนที่มีการกู้หนี้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบและสามารถลืมตาอ้าปากได้ จะทำให้มีการบริหารจัดการได้มากขึ้น และทำให้มีลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องดูว่า ความสำเร็จของนโยบายนี้จะสามารถทำได้จริงหรือไม่ เพราะยังไม่มีความแน่ชัดว่าจะให้ผ่านตัวเแทนสถาบันการเงินภาครัฐหรือเอกชนช่วย เพราะต้องดูการลงทะเบียนในวันที่ 1 ธ.ค.นี้ก่อนว่าจะเป็นอย่างไร นอกจากนี้อาจจะต้องพิจารณาดูว่าจะเป็นหนี้เรื้อรังหรือไม่ โดยรัฐบาลอาจจะมีการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนเหล่านี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต